กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผลสำรวจจากโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าประชาชน 100 คนในประเทศไทย เป็นโรคไตเสื่อมถึง 26 คน และ17 คน เป็นโรคไตเสื่อมโดยที่ไม่มีโรคประจำตัว แต่เกิดจากการพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น กินเค็ม รับประทานยาชุดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงจัดโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยโปรแกรม Food & Nutrition ขึ้น ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลี่อมล้ำทางสังคม โดย สถาบันยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโครงการน้องใหม่ที่จัดตั้งขึ้นราว 1 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาโรคไต อย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับยุค Thailand 4.0 สร้างโปรแกรม Food & Nutrition วัดปริมาณเกลือในอาหารที่ควรจะได้รับต่อวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการรับมือต่อ โดยทั้งหมดนี้อาศัยองค์ความรู้ที่เกิดจากการเรียนการสอน การวิจัย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวอีสานให้ดียิ่งขึ้น
รศ.พญ.ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย ผู้อำนวยการโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยโปรแกรม Food & Nutrition มหาวิทยาลัยขอแก่น กล่าวว่า โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยโปรแกรม Food & Nutrition เพิ่งเริ่มดำเนินการโดยมีระยะเลา 1 ปี โดยโครงการนี้มีโมเดลจากโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ในตับ และมะเร็งท่อน้ำดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของรศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้วซึ่งโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยโปรแกรม Food & Nutrition ซึ่งเกิดจากการค้นพบว่าคนไทยจำนวน 100 คนมีคนเป็นโรคไตจำนวน 17 คน ใน 17 คนจะมีทั้งคนที่ทราบว่าตนเป็นโรคไตเสื่อมเพียง 2 คนเท่านั้น ซึ่งหากผู้ป่วยทราบจะสามารถรักษาได้ทันเวลา
โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยการทำงาน 3 ส่วน หลักได้แก่ ส่วนแรกลงพื้นที่เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคไตเสื่อม จากผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน หรือผู้ซื้อยากินเป็นประจำ ส่วนต่อมาการรักษาเยียวยา สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดโรคไตเสื่อมระยะ2-3 แล้ว ด้วยการให้ความรู้ วิธีปฏิบัติตน วิธีพบแพทย์ ในการช่วยชะลออาการที่เกิดจากโรคไตเสื่อมและรับตัวเป็นผู้ป่วยในโครงการฯ และส่วนสุดท้ายคือการให้ความรู้กับญาติคนดูแลผู้ป่วย และแม่ค้าขายอาหารเพื่อให้ได้ทราบว่าการปรุงอาหารเค็มเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ด้านนางดารา หนองผือ ชาวบ้านอุดมศิลป์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อดีตผู้ป่วยโรคไตระยะ 5 กล่าวว่า ตนมีพฤติกรรมการกินที่จัดจ้าน หวาน มัน เค็มปลาร้า มาอย่างยาวนานแต่ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ กระทั่งปีที่ผ่านมามีอาการเหนื่อยล้า หายใจไม่สะดวก แพทย์ตรวจพบค่าไตขั้นสูงสุดคือระยะ 5 (ระยะฟอกไต) แต่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบรักษาอย่างเต็มรูปแบบได้ เพราะค่าใช้จ่ายสูงราว 2 แสนบาทต่อปี แต่ตนมีอาการดีขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการป้องกันและชะลอภาวะโรคไตเรื้อรัง เป็นบริการวิชาการสู่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการแก้ปัญหาสาธารณสุขและการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
"ป้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อยู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหาร จืด งดปรุงแต่ง งดผงชูรส ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในระยะเพียง 4 เดือน ค่าไตจาก 5 ลดลงมาเหลือ 4 และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ และดีใจมากที่ไม่ได้ฟอกไตและเป็นโครงการบริการฟรี อยากฝากพี่น้องชาวอีสานและทั่วประเทศไทย ลดใช้น้ำปลาน้ำตาลลง กินอาหารอย่างระวัง "
ปัจจุบันโรคไตเสื่อมเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ โดยต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงพยาบาล ผู้นำชุมชน ประชาชน ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหาร โดยคาดว่าจะมีการขยายความร่วมมือให้ทั่วภาคอีสาน และกระจายทั่วประเทศในอนาคต
ประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียน หรือตรวจสอบประเมินพฤติกรรมว่าตนมีแนวโน้มเป็นโรคไตเสื่อม ได้ที่ https://ckd.kku.ac.th/food/ สอบถามข้อมูลเพื่อเข้าร่วมโครงการที่ สถาบันยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคารพิมล กลกิจ ชั้น 3 ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ขอนแก่น 40000 เบอร์ติดต่อ : 043-202-167 อีเมล์ : kkusuccess@gmail.com หรือ โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรัง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยโปรแกรม Food & Nutrition www.ckd.kku.ac.th