กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--สป.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ (สป.) จัดสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมแนะปรับลำดับความสำคัญกันใหม่ และเสนอสภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติควรเปลี่ยนชื่อเป็นสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งควรมีคุณภาพ มีความรู้คู่กับคุณธรรม เพื่อนำบ้านเมือง / ประชาชน ฟันฝ่าอุปสรรคในการนำไปสู่การดำรงชีวิตที่เป็นสุข
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) จัดสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการสัมมนา กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ มีหน้าที่ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาล ได้รับเรื่องของสภาที่ปรึกษาฯ แต่ไม่ได้พิจารณาเรื่องสภาที่ปรึกษาฯ โดยตรง ทั้งนี้การดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้พยายามวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ ถึงแม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระหน้าที่ไปแล้ว แต่สภาที่ปรึกษาฯ ยังคงอยู่ และมีหน้าที่การทำงานในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะด้านการกระจายรายได้ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน และจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและคุณภาวะของสังคมต่อไป
ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และควรปรับลำดับความสำคัญกันใหม่ จากการให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ มาเป็นให้ความสำคัญทางด้านสังคมมากกว่า และเสนอว่า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งงชาติ**ควรเป็นสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ** ซึ่งควรมีคุณภาพ มีความรู้คู่กับคุณธรรม เพื่อนำบ้านเมือง ประชาชน ฝ่าฟันอุปสรรคในการนำไปสู่การดำรงชีวิตที่เป็นสุข
ด้านนโยบายของรัฐบาลชุดต่อไป คาดหวังในการแก้ไขปัญหาของประชาชน ด้านการแก้ไขความยากจนเป็นหลัก โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางงเศรษฐกิจ รวมทั้งลดความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมควรสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีพอในการต้านแรงต้านทานทางเศรษฐกิจในขณะนี้ ไปสู่สังคมที่รุ่งเรืองสงบสุขต่อไป
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี อภิปรายในประเด็น “ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต” กล่าวว่า แนวทางการมีสภาชุมชนเป็นองค์กรที่ถูกกีดกัน ทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้ช้าลง ซึ่งการใช้ยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ควรมีคนเป็นศูนย์กลางและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งควรให้รัฐมนตรีดูแลกลุ่มจังหวัดโดยตรง โดยประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)ในการทำงานร่วมกัน เพื่อประสานการทำแผนงานและแผนนำเสนอของบประมาณ ด้านยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย ควรคิดเชิงองค์รวมและบูรณาการ
ส่วนกรุงเทพฯ ควรมีรัฐมนตรีดูแลด้านการบริหารและการดำเนิตามนโยบาย เพื่อการพัฒนาการเชิงบูรณาการ โดยระบบการจัดสรรงบประมาณจากประสบผลสำเร็จ จะมีผลต่อคุณภาพชีวิต และควรเน้นพื้นที่ การบูรณาการ การจัดการ เพื่อพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ซึ่งยุทธศาสตร์เดิมเป็นยุทธศาสตร์เชิงประเด็น แต่ยุทธศาสตร์ใหม่ควรมีการเมืองเอื้ออำนวยด้วย
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อภิปรายประเด็น “ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง” โดยเสนอว่า ควรดูที่ยุทธศาสตร์เดิมว่าคืออะไร และควรมองไปข้างหน้าในการพัฒนายุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์เดิมเน้นการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนยุทธศาสตร์การเงินการคลังควรเน้นเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ โดยภาครัฐไม่ได้ดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และให้เอกชนดูแล โดยใช้ระบบภาษีเป็นสิ่งกระตุ้นและเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นพันธมิตรกับต่างชาติ ซึ่งการไม่เข้าใจในระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้นโยบายการเงิน การคลังดำเนินการผิดพลาด และเป้าหมายของนโยบายการเงิน การคลังคือการเพิ่มเสถียรภาพในการบริหารจัดการ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลง ทำให้เอกชนได้รับราคาสินค้าที่ดีขึ้น
โดยรัฐบาลชุดที่แล้วมีมิติใหม่ในด้านนโยบายการเงิน การคลังที่ทุ่มงบประมาณลงไปในฐานรากมากเกินไป ทำให้คนฐานรากขาดวินัยทางการเงิน ทำให้เกิดการเดินขบวนเรียกร้องต่อกระทรวงต่างๆ การทุ่มเงินให้ฐานรากเกินความพอดี ทำให้เกิดความผันผวนในรัฐบาลชุดนี้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมามาก ส่วนนโยบายการเงินเน้นการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่มาของกฎหมายของกระทรวงการคลังต่างๆ แต่นโยบายการเงินที่ใช้ในขณะนี้ไม่ได้มีกฎหมายรองรับ แต่เป็นอำนาจของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเสนอกรอบการดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้รัฐบาลอนุมัติ รวมทั้งการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ควรมีการประสานการดำเนินงานในการใช้เครื่องมือกับกระทรวงการคลัง เนื่องจากมีความพร้อมในด้านเครื่องมือ ส่วนการตีความด้านทุนสำรองของประเทศ ไม่สามารถตีความในด้านการดำเนินการได้ และไม่มีนัยยะสำคัญ
การควรทำความเข้าใจกับพระราชบัญญัติเงินฝาก ทำให้ระบบเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ย 100% จะทำให้ระบบการเงินบิดเบือนและเริ่มไปสู่สถาบันการเงินที่อ่อนแอ ควรเน้นด้านการพัฒนารวบต่อไป โดยรักษาและสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการปรับตัวอย่างมาก รวมทั้งควรรักษามิตรภาพทางเศรษฐกิจ ทางหุ้นส่วน และเน้นการมีส่วนร่วมกับต่างชาติ ซึ่งภาครัฐควรมีบทบาทในการกระตุ้นการลงทุนให้มากขึ้น (โครงการใหญ่ๆ ต่างๆ) โดยกระทรวงการคลังได้แก้ไขพระราชบัญญัติร่วมลงทุนทางการเงินกับเอกชน เพื่อการแก้ไขปัญหาให้มีความรอบคอบมากขึ้น และสามารถดูแลความโปร่งใสในการบริหารจัดการได้ดีขึ้น
นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากร ผู้ไดรับรางวัลแมกไซไซ (Magsaysay Award) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อภิปรายประเด็น “การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม” กล่าวว่า การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งธุรกิจเอกชนควรดำเนินการแบบเน้นการส่งเสริมต่อสังคมภายนอก รวมทั้งภาครัฐควรจัดการความยากจน และควรจัดตั้งบริษัทเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ โดยมีกำไรเพื่อสังคม และควรตั้งองค์กรเพื่อสังคมอย่างเป็นทางการ ส่วนคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน มีหน้าที่เชิญชาวบ้านในการวางแผนโครงการเพื่อการพัฒนาชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นบันไดสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเส้นทางธุรกิจเป็นเส้นทางระยะยาวในการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรต้องสอนให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจของหมู่บ้านฝึกอบรมเพื่อสร้างธุรกิจของปู่ย่า — ตายายให้คงอยู่เป็นธุรกิจในหมู่บ้านได้ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ ช่วยสร้างความสามัคคีในชุมชน “การคืนกำไรสู่สังคม เพื่อขจัดความยากจน”
ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานมูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวในประเด็น “ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้โลกาภิวัตน์” ว่า ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้โลกาภิวัตน์ เกิดจากความเจริญทางด้านวัตถุ ไม่เท่าเทียมกันในสังคม รวมทั้งควรมียุทธศาสตร์เชิงรับและเชิงรุกในยุคโลกาภิวัตน์ ยุทธศาสตร์บนเวทีโลกควรเป็นยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ควรมีการบูรณาการสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นอีกด้านหนึ่งในนโยบายการลงทุนด้านอุตสาหกรรม ธรรมาภิบาล ควรมีความยุติธรรมให้มากขึ้น รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมควรใช้ภูมิสังคม เข้ามาพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้ไปด้วยกัน
ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อภิปรายในประเด็น “การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ” ซึ่งประเทศไทยใช้ทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นทุนทางธรรมชาติไปแล้ว เช่น น้ำ อากาศ แสงอาทิตย์ และปัญหาเรื่องน้ำกลายเป็นปัญหาหลักของประเทศ ประเทศไทยไม่มีการรประเมินด้านทรัพยากรธรรมชาติในเชิงพื้นที่ โดยไม่ได้มองในศักยภาพและการใช้ประโยชน์ รวมทั้งข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ ควรกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่และควรมีการพิจารณาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าไปในการวางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลใหม่ พร้อมกับมีการกำหนดนโยบายในระยะสั้นและระยะยาวให้มีความเด่นชัดและชัดเจนในด้านการนำไปปฏิบัติ
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อภิปรายในประเด็น“ภาวะเศรษฐกิจและสังคมตามแนวดัชนีชี้วัดสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ว่า สภาที่ปรึกษาฯ พยายามพัฒนาข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และชี้ว่าเหตุที่ประเทศไทยต้องมียุทธศาสตร์ใหม่ เนื่องจากมีความใหม่ทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาเก่าที่เกิดขึ้น และแก้ไขจากเดิมให้ดีขึ้น ซึ่งความยากจนเป็นปัญหาฐานรากของประเทศไทย ประชาชนยากจนขาดโอกาสทางด้านทักษะความรู้ ความสามารถ โดยไม่มีโอกาสในการพัฒนาด้านการศึกษาและทักษะความรู้