กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้า ประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย มอบหมาย อาซิโม สุดยอดหุ่นยนต์อัจฉริยะ เป็นตัวแทนบริษัทในการถวายข้อพระกรเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในขณะทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “สุดยอดงานแสดงสินค้าและนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย” หรือ F.T.I. Fair ณ อิมแพค เมืองทองธานี พร้อมกันนี้ อาซิโม ยังเปิดการแสดงเพื่อโชว์ความสามารถล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองคำสั่งด้วยท่าทางมนุษย์ เทคโนโลยี การประมวลและรับส่งข้อมูลเพื่อปฏิบัติงานต้อนรับได้อย่างอัตโนมัติ และการวิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 6 กม. ต่อชั่วโมง ในงานเอฟทีไอแฟร์ วันที่ 19-23 กันยายนศกนี้เท่านั้น
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ”อาซิโมเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่พิสูจน์ศักยภาพของฮอนด้าในการขยายขอบเขต จากการผลิตเทคโนโลยียานยนต์คุณภาพ ไปสู่การสร้างนวัตกรรมแห่งอนาคต พร้อมกันนี้ อาซิโม ยังสะท้อนถึงพลังแห่งความฝันในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในรอบด้านได้อย่างเต็มรูปแบบ” พร้อมทั้งเสริมว่า “นอกจากที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ที่จะได้มีโอกาสสัมผัสกับ “อาซิโม” พัฒนาการล่าสุด” ฮอนด้า ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ด้วยเป้าหมายของ “การผสมผสาน การทำงานที่หลากหลายของเครื่องยนต์กลไก ที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์” จนปัจจุบัน อาซิโม ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย ทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อช่วยงานมนุษย์ในสภาวะแวดล้อมจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ดังนี้
- อาซิโม กับความสามารถในการเคลื่อนที่ เทคโนโลยีการควบคุมการวางท่าทางของอาซิโม ได้พัฒนาไปอย่างน่าทึ่ง โดยนอกจากการเคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่างๆ ได้อย่างอิสระแล้ว ปัจจุบัน อาซิโม สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตลอดจนสามารถวิ่งเข้าโค้งและวิ่งวนเป็นวงกลม ได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะต้องอาศัยการเอียงจุดศูนย์ถ่วง ของอาซิโมให้อยู่ในวงกลม เพื่อรักษาการทรงตัวขณะวิ่ง
- อาซิโม กับความสามารถในการใช้ข้อต่อและมือ ปัจจุบัน อาซิโมสามารถเข็นรถเข็นได้ด้วย ตนเอง ด้วยเซ็นเซอร์วัดแรงที่ข้อมือ อาซิโมจะปรับแรงของแขนขวาและแขนซ้ายในการผลักรถเข็น สามารถรักษาระยะห่างจากรถเข็น และสามารถปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ได้เมื่อมีสิ่งกีดขวาง โดยการเคลื่อนที่ให้ช้าลงหรือเปลี่ยนทิศทาง อีกทั้งยังสามารถส่งหรือรับสิ่งของเช่น ถาดได้ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- อาซิโม กับความสามารถในการต้อนรับ อาซิโม สามารถทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ หรือให้ข้อมูลข่าวสารโดยอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์รับภาพ เซ็นเซอร์วัดพื้นผิว เซ็นเซอร์อัลตราโซนิกซ์ ที่ทำให้อาซิโมสามารถรับรู้และจดจำสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งตอบสนอง อย่างพร้อมเพรียงไปกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ นอกจากนี้อาซิโมยังสามารถอ่านข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่ได้บันทึกไว้ในไอซีการ์ด (IC: Tele-Interaction Communication Card) และให้การต้อนรับได้อย่างถูกต้อง “ด้วยความตั้งใจที่จะจุดประกายให้คนไทยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอนาคต ฮอนด้า จึงได้นำอาซิโมมาแสดงเทคโนโลยีล่าสุดในประเทศไทยเป็นประเทศแรกของภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย โดยได้จัดให้มีการแสดงเทคโนโลยีอาซิโมอย่างเต็มรูปแบบ ถึงวันละ 5 รอบ โดยสามารถเข้าชมได้ฟรี และอยากเชิญชวนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมาชมการแสดงของอาซิโม ซึ่งหากพลาดงานนี้แล้ว เราคงจะต้องรออีกนานกว่าอาซิโมจะกลับมาเมืองไทยอีก” นายอดิศักดิ์ กล่าวเชิญชวนทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ฮอนด้าจะเปิดการแสดงเทคโนโลยีอาซิโมอย่างเต็มรูปแบบ วันละ 5 รอบ คือ 11.00 น. 13.00 น. 15.00 น. 17.00 น และ 19.00 น. และนอกเหนือจากความสามารถของอาซิโมแล้ว ฮอนด้ายังได้จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ของฮอนด้า อาทิ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง และเครื่องกำเนิดพลังงานในบ้าน HES (Home Energy Station) ตลอดจนนวัตกรรมยานยนต์ต่างๆ อาทิ เครื่องบินฮอนด้าเจ็ท รถจักรยานยนต์ต้นแบบ RAY เรืองแสงได้ ในความมืด ซึ่งออกแบบโดยทีมวิศวกรชาวไทย และเทคโนโลยีเครื่องยนต์ของฮอนด้า
ข้อมูลทั่วไป
อาซิโม: หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ล้ำยุคที่สุดในโลก
อาซิโมคืออะไร
อาซิโม (ASIMO) หรือชื่อย่อจาก ‘Advanced Step in Innovative Mobility’ เป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ที่ล้ำยุคที่สุดในโลก ขนาดความสูง 130 เซนติเมตร น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งนี้ อาซิโม คือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ศักยภาพและความทุ่มเทของฮอนด้าในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ระดับโลก
กำเนิดอาซิโม
อาซิโม ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นความสำเร็จจากโครงการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ฮอนด้าได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 จากความฝันของทีมวิศวกรฮอนด้า นำโดยนายมาซาโตะ ฮิโรเสะ หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ศูนย์วิจัยวาโกะ ที่ต้องการเห็นหุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นเพื่อนกับมนุษย์ในอนาคต ซึ่งได้พัฒนาสู่แนวคิด “การผสมผสานการทำงานที่หลากหลายของเครื่องยนต์กลไกที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์” อันเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ของฮอนด้า ทีมวิศวกรได้เฝ้าสังเกตการเดิน การเคลื่อนไหวของสัตว์และมนุษย์ อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาคิดค้นรูปแบบการเดินของหุ่นยนต์และนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ทดลอง 7 รุ่น และหุ่นยนต์ต้นแบบอีก 3 รุ่น ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ได้ริเริ่มโครงการ จนได้ให้กำเนิดอาซิโมขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการแห่งหุ่นยนต์อย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2543 ดังกล่าว
ภาพรวมความสามารถที่โดดเด่นของอาซิโม
เพื่อให้อาซิโมสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมแบบมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อาซิโมจึงได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายมนุษย์ พร้อมติดตั้งเทคโนโลยีการเคลื่อนที่อัจฉริยะ ไอ-วอล์ค (i-WALK) ที่ทำให้อาซิโมสามารถเดินด้วย 2 ขา อย่างคล่องแคล่วนุ่มนวล เป็นธรรมชาติ สามารถคาดการณ์การเดินล่วงหน้า ตลอดจนสามารถเดินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเดินไปข้างหน้าและถอยหลัง การเดินไปด้านข้าง การเดินขึ้นลงบันได การเดินเลี้ยวหักมุมต่อเนื่องจากการเดินปกติโดยไม่ต้องหยุดก่อน ความสามารถในการปรับความเร็วในแต่ละก้าวของการเดิน ประกอบกับเทคโนโลยีการควบคุมท่าทางที่ช่วยป้องกันการลื่นไถลเพื่อรักษาการทรงตัวขณะกระโดดและวิ่งในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังช่วยให้อาซิโมสามารถเคลื่อนไหวลำตัว เช่น โน้มตัวหรือหันลำตัวได้อย่างคล่องแคล่ว และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ทีมวิศวกรฮอนด้ายังได้พัฒนาและติดตั้งระบบสมองกลอัจฉริยะให้กับอาซิโม เพื่อให้อาซิโมสามารถประมวลการทำงานต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 2 หลัก ดังนี้
1. ความสามารถด้านการสื่อสารกับมนุษย์ในระดับสูงด้วยเทคโนโลยีการจดจำและรับรู้
- จดจำและรับรู้วัตถุที่เคลื่อนไหวหลายๆ ชิ้นได้พร้อมกัน พร้อมคำนวณหาระยะทางและทิศทาง ในการเคลื่อนที่ของวัตถุเหล่านั้น
- จดจำลักษณะท่าทางต่างๆ ของมนุษย์
- รับรู้สภาพแวดล้อม
- จดจำและแยกแยะสำเนียงเสียงต่างๆ ของมนุษย์แต่ละบุคคลได้
- จดจำรูปหน้า และข้อมูลของคนที่พบสู่หน่วยความจำ
2. ความสามารถด้านบูรณาการเครือข่าย
- ความสามารถในการติดต่อกับระบบเครือข่ายส่วนตัว เพื่อการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับฐานข้อมูล ของลูกค้า
- ความสามารถในการติดต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อการบริการข่าวสารข้อมูลต่างๆ แก่มนุษย์ความสามารถทั้งหมดดังกล่าวทำให้อาซิโมสามารถเข้าใจ รับรู้ลักษณะท่าทางของมนุษย์ รวมถึงสามารถตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างมีอิสระ อาทิ สามารถทักทายบุคคลที่กำลังเดินเข้ามาหา จับมือทักทายเมื่อมีคนเดินยื่นมือให้ เดินตามไปในทิศทางที่ได้รับการชี้แนะ เปลี่ยนทิศทางการเดินเพื่อหลบสิ่งกีดขวางอย่างอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งจำหน้าและเรียกชื่อของบุคคลต่างๆ
ปัจจุบัน อาซิโมมีหน้าที่ช่วยงานด้านต่างๆ ที่สำนักงานฮอนด้าในประเทศญี่ปุ่น เช่น การต้อนรับและนำผู้มาเยือนไปยังห้องรับรอง พร้อมติดตามเรียกผู้ที่มีคนมาติดต่อ ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร เสิร์ฟเครื่องดื่ม และยกของที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น ล่าสุดกับความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ อาซิโม ปัจจุบัน อาซิโมได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อความคล่องตัวในการช่วยเหลือและอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- อาซิโม กับความสามารถในการเคลื่อนที่ เทคโนโลยีการควบคุมการวางท่าทางของ อาซิโมได้พัฒนาไปอย่างน่าทึ่ง โดยนอกจากการเคลื่อนที่ไปยังทิศทางต่างๆ ได้อย่างอิสระแล้ว ปัจจุบัน อาซิโม สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตลอดจนสามารถวิ่งเข้าโค้งและวิ่งวนเป็นวงกลมได้อย่าง คล่องแคล่ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะต้องอาศัยการเอียงจุดศูนย์ถ่วงของอาซิโมให้อยู่ในวงกลม เพื่อรักษาการทรงตัวขณะวิ่ง
- อาซิโม กับความสามารถในการต้อนรับ อาซิโม สามารถทำงานเป็นพนักงานต้อนรับหรือให้ข้อมูล ข่าวสารโดยอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์รับภาพ เซ็นเซอร์วัดพื้นผิว เซ็นเซอร์อัลตราโซนิกซ์ ที่ทำให้ อาซิโมสามารถรับรู้และจดจำสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งตอบสนองอย่างพร้อมเพรียงไปกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ นอกจากนี้อาซิโมยังสามารถอ่านข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าที่ได้บันทึกไว้ในไอซีการ์ด และให้การต้อนรับได้อย่างถูกต้อง
- อาซิโม กับความสามารถในการใช้ข้อต่อและมือ ปัจจุบัน อาซิโมสามารถเข็นรถเข็นได้ด้วยตนเอง โดยเซ็นเซอร์วัดแรงที่ข้อมือจะปรับแรงของแขนขวาและแขนซ้ายในการผลักรถเข็น สามารถรักษาระยะห่างจากรถเข็น และสามารถปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ได้เมื่อมีสิ่งกีดขวางโดยการเคลื่อนที่ให้ช้าลงหรือเปลี่ยนทิศทาง อีกทั้งยังสามารถส่งหรือรับสิ่งของเช่น ถาด ได้ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
ตารางเปรียบเทียบความสามารถของอาซิโม
ความสามารถ อาซิโม อาซิโม
15 ธันวาคม พ.ศ. 2547 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548
เดินพร้อมยกของ 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ยกของหนักได้สูงสุด 300 กรัม ยกของหนักได้สูงสุด 1 กิโลกรัม
วิ่งเป็นวงกลม ทำไม่ได้ 5 กิโลเมตร/ชั่วโมง
(เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เมตร)
วิ่งอยู่กับที่พร้อมหมุนตัวไปรอบๆ ทำไม่ได้ ทำได้
เดินจูงมือ ทำได้ ทำได้
เข็นรถเข็น ทำไม่ได้ ทำได้
ยกและรับถาด ทำได้ ทำได้
ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ สามารถจดจำหน้า ท่าทาง ด้วยเทคโนโลยี IC Card ทำให้
เสียง และเดินตาม อาซิโมสามารถทำหน้าที่ต้อนรับ และให้
ข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตัวเอง พร้อมคำนวณ
ระยะทาง และจดจำบุคคล
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของอาซิโม: 2543 — ปัจจุบัน
* ข้อมูลทั่วไป
ปี พ.ศ. 2543 ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน
ความสูง 120 เซนติเมตร 130 เซนติเมตร
ความกว้าง 45 เซนติเมตร 45 เซนติเมตร
ความหนา 44 เซนติเมตร 37 เซนติเมตร
น้ำหนัก 52 กิโลกรัม 54 กิโลกรัม
* ข้อมูลด้านการเดินและวิ่ง
ปี พ.ศ. 2543 ปี พ.ศ. 2547 ปี พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
ความเร็วการเดินสูงสุด 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง 2.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง 2.7 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ความเร็วการวิ่งสูงสุด - 3.0 กิโลเมตร/ชั่วโมง 6.0 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ความเร็วการวิ่งวงกลมสูงสุด - - 4.0 กิโลเมตร/ชั่วโมง
* ข้อมูลองศาอิสระ
ปี พ.ศ. 2543-2547 ปี พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
คอ 2 องศา 3 องศา
แขน 5 องศา x 2 แขน รวม 26 องศา 7 องศาx 2 แขน รวม 34 องศา
มือ 1 องศา x 2 มือ 2 องศา x 2 มือ
สะโพก ไม่มี 1 องศา
ขา 6 องศา x 2 ขา 6 องศา x 2 ขา
สื่อมวลชนสัมพันธ์ :
บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด
Ref: NR2007-190907-045
อัญชลี ชาลีจันทร์ โทร +66 (0) 2236 0256 ต่อ 1550
อีเมล์ anjali@honda.th.com
วราภรณ์ พงษ์ไพบูลย์ โทร +66 (0) 2236 0256 ต่อ 1552
อีเมล์ waraporp@honda.th.com
บริษัท อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ โทร +66 (0) 2252 9871-7
อีเมล์ Satida.s@abm.co.th
ณัฏฐกานต์ แช่มสุวรรณวงศ์ โทร +66 (0) 2252 9871-7
อีเมล์ Nattakarn.c@abm.co.th