กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
อีกหนึ่งผลงานของนักออกแบบหน้าใหม่ "พาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กจากวัสดุไม้ไผ่" ผลงานของนายภูริฉัตร์ พุทธิกุลวุฒิ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี
นายภูริฉัตร์ พุทธิกุลวุฒิ เล่าว่า ผู้คนหันมาใช้รถใช้ถนนกันมากในการเดินทางซึ่งก็มีปัญหาตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรถที่ติดอุบัติเหตุทางท้องถนนไปจนถึงเรื่องของมลภาวะ อีกสาเหตุหนึ่งทีทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากหลักการและเหตุผลข้างต้นจึงได้นำมาเป็นแนวคิดโครงการออกแบบและพัฒนาพาหนะไฟฟ้าจากไม้ไผ่ คือขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ มีแบตเตอรี่เป็นตัวให้พลังงาน ซึ่งเข้ากับสถานการณ์โลกที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ เพราะความต้องการโลกมีสูงขึ้น ซึ่งพาหนะไฟฟ้าจากไม้ไผ่ ไม่ต้องใช้น้ำมันและยังมีประสิทธิภาพของระบบการแปลงผันพลังงานที่สูง เมื่อเทียบกับระบบที่ใช้เชื้อเพลิง รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และมีมลภาวะทางเสียงต่ำ เหมาะสมกับการเดินทางคนเดียวในระยะสั้น ด้วยความเร็ว และประหยัด
สำหรับพาหนะไฟฟ้าจากไม้ไผ่ คือพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยใช้มอเตอร์ โดยมีแบตเตอรี่เป็นตัวให้พลังงานซึ่งเข้ากับสถานการณ์โลกที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความต้องการโลกมีสูงขึ้น ซึ่งพาหนะไฟฟ้าจากไม้ไผ่ไม่ต้องใช้น้ำมันและยังมีประสิทธิภาพของระบบการแปลงผันพลังงานที่สูงเมื่อเทียบกับระบบที่ใช้เชื้อเพลิงรวมทั้งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศและมีมลภาวะทางเสียงต่ำเหมาะสมกับการเดินทางคนเดียวในระยะสั้นด้วยความรวดเร็วประหยัดและปลอดภัย พาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กจากวัสดุไม้ไผ่ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง 440 ยาว 180 มม. ส่วนของเฟรมมีขนาดกว้าง 430 ยาว 570 สูง 350 มม. ตัวโครงทำจากเหล็กตัวเครื่องทำจากไม้ไผ่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์กระแสตรง 350 w จำนวน 2 ตัว ใช้แบตเตอรี่ 36 V สามารถรองรับน้ำหนักได้เกินกว่า 100 kg อีกทั้งมีล้อเพิ่มมาสองล้อรวมเป็นสี่ล้อเพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้นและยังใช้ระบบบังคับเป็นการใช้มือแทนเพิ่มความสะดวกในการควบคุมโดยหลักการทำงานคือนั่งลงบนเบาะเพื่อกดปุ่มสวิทที่อยู่ข้างในตัวเครื่องและโยกเอียงเพื่อบังคับตัวมอเตอร์ให้ไปข้างหน้าและข้างหลัง
จากการนำไปเก็บข้อมูลจากผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 50 คน ด้านหน้าที่ใช้สอย ความเร็วในการเคลื่อนที่ของพาหนะไฟฟ้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ระบบควบคุมของพาหนะไฟฟ้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การเคลื่อนย้ายจัดเก็บของพาหนะมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก น้ำหนักที่พาหนะไฟฟ้าสามารถรับได้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวัสดุและการผลิต การจัดวางระบบไฟฟ้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โครงสร้างวัสดุมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความปลอดภัย พาหนะไฟฟ้ามีความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก พาหนะไฟฟ้ามีความเหมาะด้านสรีระอยู่ในระดับมาก แต่อย่างใดการออกแบบและพัฒนาพาหนะไฟฟ้าจากวัสดุไม้ไผ่ยังมีข้อบกพร่อง ในส่วนของแฮนด์จับควรเพิ่มระยะความกว้างเพื่อรองรับการใช้งานมากที่สุด ส่วนของที่วางเท้าควรพัฒนาให้สามารถปรับระดับได้เพื่อรองรับการใช้งานมากขึ้น และควรมีบังโคลนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้งาน
สำหรับผู้สนใจ "พาหนะไฟฟ้าขนาดเล็กจากวัสดุไม้ไผ่" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายภูริฉัตร์ พุทธิกุลวุฒิ โทร.088-9237906