ลุงสมพร กับ “เตาย่างไร้ควัน” “ของดี” ที่ต้องบอกต่อ

ข่าวทั่วไป Friday September 28, 2007 14:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--โครงการแผนพลังงาน 80 ชุมชน ฯ กระทรวงพลังงาน
ทุก ๆ เช้า แถว ๆ ตลาดสดเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร “ลุงสมพร รักษ์พง” พ่อค้าหมูย่างที่ชาวบ้านย่านนั้นรู้จักกันดี จะเริ่มติดเตาไฟและย่างหมูอย่างสบายใจ ซึ่งต่างจากสภาพก่อนหน้านี้อย่างมาก...เพราะวันนี้เตาของลุง “ไร้ควัน”
“ควัน” จากเตาย่างหมูเป็นปัญหาใหญ่สำหรับลุงสมพร เพราะ “เตาย่างหมู” ของลุงสมพร ทำจากถึงน้ำมัน 200 ลิตรผ่าครึ่งแบบไม่มีฝาปิด เมื่อย่างหมูควันจึงกระจาย โดยเฉพาะในช่วงจังหวะที่หมูใกล้สุก และมีน้ำมันไหลลงบนถ่านที่กำลังลุกโชนนั้น ทั้งกลิ่น และควันจะลอยกระจายทั่วทั้งตลาด รบกวนพ่อค้า แม่ค้า และชาวบ้านที่เข้ามาจับจ่ายซื้อหาสินค้าเป็นอย่างยิ่ง
“ชาวบ้านรำคาญจนขอร้องให้เราไปย่างที่อื่นแล้วค่อยเอามาขายในตลาด ลุงไม่มีทางเลือก เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาควัน จากการย่างหมูอย่างไร สุดท้ายก็ต้องกลับไปย่างที่บ้าน พอหมูสุขก็ใส่รถมาขายในตลาด”
กระทั่งกระทรวงพลังงานดำเนินนโยบาย การจัดทำแผนพลังงาน 80 ชุมชน สนองพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นในการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน และการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานทดแทนในระดับภาคประชาชน เพื่อประชาชน เยาวชน และนักเรียนในชุมชนจะได้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมได้มีการจัดนิทรรศการใช้พลังงานทดแทน เช่น เตาประสิทธิภาพสูง เตาย่างไก่ เตาเผาถ่าน 200 ลิตร ขึ้นที่อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี ลุงสมพร มีโอกาสไปเข้าร่วมชมนิทรรศการ และรับฟังแนวทางการจัดการพลังซึ่งมีทีมจากสำนักงานพลังงานจังหวัดกำแพงเพชร
พินิจ วิสุทธิศิริ พลังงานจังหวัดกำแพงเพชร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติมว่า “กิจกรรมจะแยกออกเป็นสองส่วน คือ การประชาสัมพันธ์พลังงานเพื่อชุมชน เป็นการบอกว่าการใช้พลังงานอย่างไม่ถูกต้องนั้นอาจทำให้ใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น และที่สำคัญเราอาจเป็นส่วนหนึ่งต่อการสร้างภาวะโลกร้อนอย่างไม่รู้ตัว....กิจกรรมในวันนั้นนอกจากจะให้ความรู้ด้านพลังงาน ยังมีการสาธิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะเตาย่างไก่ และเตาเผาถ่านที่ทำจากถังนำมัน 200 ลิตร”
ในฐานะพ่อค้าหมูย่าง ลุงสมพร ให้ความสนใจเตาย่างที่ทำจากน้ำมัน 200 ลิตรเป็นพิเศษ เพราะลักษณะของเตาที่สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชรนำมาจัดแสดงจะแตกต่างกับเตาของลุงอย่างสิ้นเชิง
เตาย่างหมูของลุงสมพร เป็นถังน้ำมัน 200 ลิตรผ่าครึ่ง เวลาจะย่างหมูก็เอาถ่านใส่ลงไปและจุดไฟ เอาตะแกรงตั้งด้านบน เวลาปิ้ง และย่าง ทั่งควันจากถ่าน และควันจากน้ำมันที่ไหลย้อยลงบนถ่านแดง ๆ จะไปรบแก่ผู้ที่มาจับจ่ายใช้สอยในตลาด
ขณะที่เตาแบบใหม่ของสำนักงานพลังจังหวัดกำแพงเพชร จะมีลักษณะเป็นถังน้ำมัน 200 ลิตรผ่าครึ่งเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่มีฝาผิด ลักษณะแบบนี้จะทำให้ไม่สูญเสียความร้อน ทำให้หมูสุกเร็วขึ้น และประหยัดพลังงาน
“ปัญหาของเตาย่างแบบเดิมคือเวลาหมูสุกจะมีน้ำมัน เวลาน้ำมันไหลลงไปบนถ่านก็จะทำให้เกิดควันมีกลิ่นรบกวน เตาแบบใหม่เวลาใส่ถ่านจะไม่ใส่ลงไปตรงกลางเตา แต่เราจะออกแบบมาให้ใส่ถ่านด้านข้างทั้งสองข้างคือด้านซ้าย และขวา เพื่อไม่ให้น้ำมันตกไปบนถ่านซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่องควันไปได้ ส่วนน้ำมันที่ได้จากการย่างหมูมันก็จะไหลลงไปด้านล่าง โดยจะมีภาชนะรองรับ ซึ่งสามารถนำไปทำประโยชน์ได้อีก และที่ออกแบบมาให้มีฝาปิดก็เพื่อให้ความร้อนรั่วไหลออกไป หมูก็จะสุกเร็วขึ้น และไม่เปลืองถ่านมากนัก และที่สำคัญคือเตาแบบนี้ดีกว่าของเก่าเพราะไม่มีควัน ไม่มีสารก่อมะเร็ง และลดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน” พลังงานจังหวัดกำแพงเพชรอธิบายถึงลักษณะเตาย่างไร้ควัน
เมื่อลุงสมพรเห็นข้อดีของเตาแบบใหม่ จึงนำมากลับใช้ อย่างไรก็ตามลุงพบว่า เตาย่างของพลังงานยังมีข้อจำกัด “เวลาย่างหมูต้องกลับด้านเพื่อให้หมูสุกทั้งสองด้าน ปัญหาคือมันร้อน เราไม่สามารถแหย่มือเข้าไปกลับหมูในเตาไฟได้ เพราะมันระอุมาก ลุงก็เลยเอาแบบของพลังงานมาดัดแปลงนิดหน่อย ด้วยการเพิ่มหูจับตรงตะแกรง เวลาจะกลับหมูก็ยกตะแกรงออกมาด้านนอก แล้วก็เอากลับเข้าไปย่างใหม่...” ลุงสมพรกล่าวอย่างภาคภูมิใจ
ทุกวันนี้ลุงกลับไปย่างหมูในตลาดเหมือนเดิมแล้ว เพราะเตาของลุงไม่มีควันไปสร้างความรำคาญให้ชาวบ้าน และหมูย่างของแกก็อร่อยขึ้น เนื้อนุ่มขึ้น เพราะได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง
ที่สำคัญคือ “เตาย่างไร้ควัน” ของลุงสมพร เป็นที่สนอกสนใจของพ่อค้า แม่ค้าผู้มีอาชีพปิ้งย่างในตลาด เห็นว่าเตาแบบนี้เป็น “ของดี” และอยากได้ไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง ลุงสมพรเลยสบช่อง จึงเริ่มต้นทำขายในราคาใบละ 2,500 บาท ซึ่งพลังงานจังหวัดกำแพงเพชรบอกแล้วว่าไม่สงวนลิขสิทธิ์
“...เพราะของดี ๆ แบบนี้ไม่ควรหวง มีแต่จะต้องแนะนำให้ใช้และขยายผล...เพื่อโลกจะได้ไม่ร้อนไปกว่านี้...”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ