กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
"อิสรภาพของการเรียนรู้ คือสิ่งที่จะพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ ติดอาวุธทางความคิดแบบ 'IM Possible' เปลี่ยนสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ พร้อมรับมือกับโลกกว้างในปัจจุบัน การเรียนรู้ที่ไม่ถูกจำกัดในห้องสี่เหลี่ยม เพราะที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพโลกทั้งใบจะกลายเป็นห้องเรียนของเราทุกคน"
นี่คือหนึ่งในหลากหลายพลังความคิดและพลังปัญญา ผ่านมุมมองของนายนพพันธ์ จันทรศร และนางสาวนัชชา ทองธราดล สองนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่สะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดในการสร้าง "บัณฑิตพันธุ์ใหม่" ตามแบบฉบับของม.กรุงเทพนั้นส่งผลลัพธ์ที่เยี่ยมยอดเพียงใด
ทั้งนี้ ม.กรุงเทพได้สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ไม่เคยมีมหาวิทยาลัยใดทำมาก่อนในวิชา GE (General Education) ที่นำนักศึกษามาออกแบบการเรียนการสอนในฐานะ Learning Designer (LD) และ Learning Experience Designer (LXD) ร่วมกับ "ครูพันธุ์ใหม่" ผู้ทำหน้าที่เป็นโค้ช ผลสำเร็จเชิงประจักษ์จากการปฏิวัติการเรียนรู้ทุกหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัยด้วยวิชา GE ดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ม.กรุงเทพได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยเอกชนนำร่องโครงการสร้าง "บัณฑิตพันธุ์ใหม่" ผู้เปี่ยมทั้งสมรรถิยะหรือทักษะชีวิต (Soft Skill) และสมรรถนะหรือทักษะวิชาชีพ (Professional Skill) จากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ความคิดริเริ่มที่เกิดขึ้นในวิชา GE ยังได้ถูกต่อยอดและพัฒนาเป็นโมเดล iFIT (Individual Future Innovative Learning of Thailand) อันมีความหมายว่า "เหมาะหรือ Fit" กับทุกความต้องการของนักศึกษา ม.กรุงเทพ ทุกคน พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างโมเดลนี้ให้กลายเป็น Thailand Model ภายใต้ปรัชญาการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบในระดับสากลสำหรับการสร้างทรัพยากรมนุษย์คุณภาพตอบรับโลกอนาคต ซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แทนที่ Finland Model ปรัชญาการศึกษาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
"ม.กรุงเทพตระหนักมานานแล้วว่า การจะใช้ชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้น การมีแค่ Professional Skill ไม่เพียงพอ แต่ต้องมี Soft Skill ที่หยั่งลึกในตัวนักศึกษาด้วย" เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี ม.กรุงเทพ กล่าว "เมื่อสกอ.ริเริ่มโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ม.กรุงเทพจึงนำเสนอโปรเจ็กต์ iFIT ที่เราได้ทดลองทำจนเห็นผลลัพธ์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วให้สกอ.พิจารณา ซึ่งโมเดลการเรียนรู้แบบ Personalized Learning ฉบับม.กรุงเทพนั้นเรียกว่า iFIT โดยเตรียมปั้นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ผู้มี Lifelong Learning Competency ป้อนโลกอนาคตแบบยกระดับ ทุกหลักสูตร ทั้งมหาวิทยาลัย"
ทางด้าน รศ.ดร.ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ รองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ ม.กรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ม.กรุงเทพได้รับความเชื่อมั่นในเรื่องหลักสูตรที่ทันสมัยและตอบโจทย์ตลาดงานในทุกยุคเสมอมา แต่การที่นักศึกษาจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและความสุขอย่างยั่งยืนชั่วชีวิตได้นั้น จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในทุกด้าน เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ ซึ่งสิ่งที่จะมาเติมเต็มภูมิคุ้มกันทางด้านนี้ก็คือทักษะชีวิตนั่นเอง โดยเครื่องมือที่จะมาทำให้นักศึกษาเข้าใจทักษะทุกด้านอย่างลึกซึ้งก็คือ การที่นักศึกษาเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนโมเดลการเรียนรู้ ผู้มีความสุขในทุกนาทีที่เรียนในแบบ Work/Learn/Play และเมื่อนักศึกษามีความสุข ก็จะนำไปสู่การเพิ่ม Learning Skill, Working Skill และ Communication Skill โดยอัตโนมัติ"
รศ.ดร.ทิพรัตน์ ยังได้อธิบายถึงความหมายของ iFIT ว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เพราะม.กรุงเทพตระหนักดีว่า นักศึกษาแต่ละคนต่างก็มีความสามารถ ความสนใจ และความถนัดเฉพาะตัวที่ต่างกัน ไม่มีใครเก่งกว่าใคร แต่ทุกคนมีความเก่งในทางของตัวเอง การออกแบบเส้นทางสู่อนาคตจึงไม่สามารถยึดรูปแบบการเรียนการสอนเช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้แต่การวัดผลก็ไม่สามารถใช้ข้อสอบชุดเดียวกันได้ จึงจำเป็นต้องปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เป็น Personalized Learning อย่างแท้จริง
ดังนั้นนอกจากหลักสูตรต่างๆ จะตอบโจทย์ตลาดงานในอนาคตแล้ว ม.กรุงเทพยังผสมผสานศาสตร์และศิลป์อันหลากหลาย ทลายพรมแดนของคณะวิชา ปรับหลักสูตรที่เปลี่ยนการนั่งเรียนเป็นการทำงานจริง เปลี่ยนการบ้านเป็นโปรเจ็กต์ระดับมืออาชีพ เปลี่ยนตารางสอนเป็นช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยง เน้นการทำงานกลุ่ม หมุนเวียนหน้าที่ ฝึกฝนทักษะให้ได้มากกว่าหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างครีเอทีฟและฟรีสไตล์แบบ Open Platform
วิธีนี้จะทำให้นักศึกษามีทั้งทักษะวิชาชีพเฉพาะทางและทักษะวิชาชีพที่จำเป็นอื่นๆ ส่งผลให้มีความเชี่ยวชาญรอบด้าน มีสมรรถนะเพียงพอจะรองรับอาชีพที่หลากหลายในโลกอนาคต เพราะโลกอนาคตเต็มไปด้วยความผันผวน ไม่มีใครสามารถการันตีได้ว่า อาชีพใดจะยั่งยืนไปตลอดกาล การมีความรู้ความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านจึงจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคตข้างหน้าเป็นมาก นอกจากนี้นักศึกษาใหม่ทั้งมหาวิทยาลัยยังจะสามารถเลือกเรียนแทร็กพิเศษที่เปิดโอกาสให้เข้ามาเรียนชั้นปีที่ 1 เพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเองก่อน แล้วค่อยเลือกเรียนคณะและสาขาวิชาในภายหลัง โดยเลือกเรียนวิชาที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะสำหรับอาชีพการงานที่ตนมุ่งหวังในอนาคตได้อย่างหลากหลายเท่าที่ต้องการ
ทิศทางเหล่านี้สะท้อนเจตจำนงของม.กรุงเทพที่มุ่งสร้าง "บัณฑิตพันธุใหม่" หรือ Thailand Future Gen ผู้มีอิสรภาพในการออกแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตด้วยตนเอง และพร้อมเป็นบุคลากรผู้สร้างความสุข สร้างประโยชน์ ให้แก่ทั้งตนเอง ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก สมดังเป้าประสงค์ที่มีร่วมกันระหว่างสกอ.และม.กรุงเทพ