กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน
สำานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชนจีนประจำประเทศไทย และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจาประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ "งานสัมมนานานาชาติความร่วมมือในตลาดของประเทศที่สามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย" ณ โรงแรม เรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา
งานนี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่นได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอกชนระหว่างจีน - ญี่ปุ่น ในประเทศที่สาม เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ณ กรุงโตเกียว จึงจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมทางธุรกิจของภาคเอกชนจีนและญี่ปุ่นภายใต้กรอบเจรจาระดับสูงด้านเศรษฐกิจ และทั้งสองประเทศจะร่วมกันสำรวจตลาดและภาคอุตสาหกรรมในประเทศที่สามที่ภาคเอกชนจีนและญี่ปุ่นจะร่วมลงทุน ซึ่งในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ของประเทศไทยเป็นจุดหมายสาคัญในการร่วมลงทุนของทั้งสองประเทศจึงเกิดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น
งานนี้ได้รับเกียรติจากนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย นาย หนิง จี๋เจ่อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีน นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และนายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
นายหนิง จี๋เจ่อ กล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า "ผมรู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองที่สวยงามเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนานานาชาติความร่วมมือในตลาดของฝ่ายที่สามระหว่างจีน-ญี่ปุ่นในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในนามของคณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติและในนามส่วนตัวขอแสดงความยินดีกับการจัดงานสัมมนาที่ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ และขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่มีส่วนร่วมในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคและความร่วมมือพหุภาคีมาโดยตลอดด้วยความจริงใจ
จีน – ไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดี ประชาชนทั้งสองประเทศมีไมตรีจิตต่อกันดุจพี่น้อง 43 ปี นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมา ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรมประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านระหว่างจีน - ไทยก้าวสู่ระดับสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง เมื่อปี 2560 เมื่อประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พบปะกับ ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยสองครั้ง ซึ่งได้ร่วมกันกำหนดทิศทางของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง และเมื่อเดือนมกราคม ปี 2561 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนได้พบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยเข้าหารือและบรรลุความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ตรงกันหลายโครงการ ประเทศจีนยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทยและเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด ประเทศไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับสามของจีนในอาเซียน ความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างจีน - ไทยก็เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โครงการความมือร่วมมือรถไฟจีน - ไทยได้เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ ในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและไทยอยู่ที่ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการขยายการลงทุนระหว่างกัน
หัวข้อของงานสัมมนาในวันนี้คือความร่วมมือในตลาดของฝ่ายที่สามโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย สำหรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ผมขอแสดงความคิดเห็น 3 ข้อดังนี้
ข้อที่ 1 เราได้สังเกตว่าระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ชาติไปแล้ว ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคม รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและยกระดับอุตสาหกรรม และนับตั้งแต่ปี 2558 ได้เสนอโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นต้นมา ภายใต้ความพยายามของหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง งานได้คืบหน้าไปมาก และในเดือนพฤษภาคมนี้เองได้ผ่านและประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นหลักประกันทางกฎหมายในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์
ข้อที่ 2 เราเห็นว่าพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสมยิ่ง มีศักยภาพพัฒนามาก พื้นที่นี้อยู่สามจังหวัดซึ่งประกอบด้วยฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เศรษฐกิจเจริญ รายได้ต่อหัวสูงสุดในประเทศไทย ภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษนั้น การคมนาคมสะดวกสบาย อุตสาหกรรมมีความทันสมัย สาขาอุตสาหกรรมครบครัน และสามารถขยายธุรกิจสู่แหลมอินโดจีนและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และขยายไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นต้น เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและมีผลต่อภูมิภาคอย่างกว้างไกล
ข้อที่ 3 พวกเราเชื่อว่า ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกถือได้วาเป็นมาตรการสำคัญของไทยที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพของการพัฒนา จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่วนความร่วมมือทวิภาคีจีน - ไทยและความร่วมมือจีนไทยญี่ปุ่นสามฝ่ายในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกนั้น ผมก็มีความคิดเห็น 3 ข้อ
ข้อที่ 1 เรายินดีขยายความร่วมมือทวิภาคีจีนไทยเพื่อพัฒนาภูมิภาค ผู้นำของจีนให้ความสำคัญต่อการประสานนโยบายข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกับโครงการระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เดือนมกราคมตอนที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยที่กรุงพนมเปญ ผู้นำทั้งสองคนเห็นพ้องต้องกันที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งในการประสานยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ขณะนี้ประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศจีนก็กำลังเร่งพัฒนา "เส้นทางสายไหมดิจิทัล" จำนวนบริษัทยูนิคอร์นหรือ Unicorn Enterpriseมากเป็นอันดับ 1 ในโลก"เศรษฐกิจเครือข่าย (Network economy)" และ "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม(platform economy)" เป็นพลังงานใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจีน เรายินดีและสามารถประสานยุทธศาสตร์การพัฒนากับประเทศไทย
ข้อที่ 2 เรายินดีดำเนินความร่วมมือสามฝ่ายในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพบนาย หวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้แสดงท่าทีสนับสนุนความร่วมมือสามฝ่ายในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอย่างชัดเจน ผู้นำจีน ญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญและบรรลุข้อตกลงสำคัญในการร่วมมือในตลาดฝ่ายที่สาม เดือนพฤษภาคมปีนี้ ตอนที่นาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเยือนประเทศญี่ปุ่นและเข้าพบนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ และได้เป็นสักขีพยานในการลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อกันลืมหรือ MOU ว่าด้วยความร่วมมือในตลาดฝ่ายที่สาม ความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้นำจีน ไทย ญี่ปุ่นสามประเทศนั้นเป็นการสร้างรากฐานที่ดีในการร่วมมือพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ข้อที่ 3 เราก็ควรตระหนักว่าความร่วมมือระหว่างจีน ไทยและญี่ปุ่นสายฝ่ายในภูมิภาคนี้มีความสำคัญยิ่งในการผลักดันความร่วมมือพหุภาคี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่าเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีความคึกคักทางเศรษฐกิจ โครงสร้างอุตสาหกรรมจีน ไทย ญี่ปุ่นต่างมีเอกลักษณ์ ระบบเศรษฐกิจเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความร่วมมือในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีศักยภาพสูงผมเชื่อมั่นว่าภายใต้การประสานงานและวางแผนที่ดีของไทย สามฝ่ายสามารถเกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เสริมจุดแข็งซึ่งกันและกัน เพื่อผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้มีความคืบหน้าต่อไป
เกี่ยวกับความร่วมมือสามฝ่ายในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผมมีข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรม 3 ข้อ
ข้อที่ 1 ปฏิบัติตามแผนแม่บท เน้นบริษัทเป็นผู้ดำเนินการสำคัญ บนพื้นฐานเคารพการวางแผนเกี่ยวกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เราขอเสนอว่าทั้งสามฝ่ายควรยืนหยัดหลักการ บริษัทเป็นตัวสำคัญ ตามหลักการทำธุรกิจ เป็นไปตามกลไกตลาดและเคารพกติกาสากลเพื่อดำเนินการความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน ฝ่ายจีนสนับสนุนส่งเสริมให้บริษัทสามประเทศต่างใช้จุดแข็งของตน เสริมสร้างความร่วมมือ ผลักดันการพัฒนาของโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ข้อที่ 2 เสริมสร้างความเข้มแข็งในการประสานงานระหว่างรัฐบาลด้วยกัน เพื่อให้การบริการแก่ความร่วมมือระหว่างบริษัท ควรส่งเสริมการประสานงานระหว่างรัฐบาลเพื่อเป็นการให้การบริการแก่บริษัทให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ส่งเสริมบริษัทสามฝ่ายมีการแบ่งปันข้อมูล ที่เกี่ยวกับนโยบาย โครงการเป็นต้น เพื่อเป็นการให้บริการอย่างบูรณาการ
ข้อที่ 3 เริ่มจากโครงการที่เป็นรูปธรรม ค่อย ๆ ขยายจากจุดร่วมกันสู่ความร่วมมือรอบด้าน ส่งเสริมให้บริษัทสามฝ่ายมีความร่วมมือจากโครงการที่เป็นรูปธรรม มีการศึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในโครงการ และศึกษาความเป็นไปได้ถึงความร่วมมือในโครงการใหญ่และสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อแสวงหาจุดร่วมของความร่วมมือแล้วค่อยขยายผลสู่ความร่วมมือรอบด้าน
สุดท้ายนี้ ผมขออำนวยพรให้การสร้างสรรค์ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกคืบหน้าอย่างราบรื่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบริษัทจีน ไทย ญี่ปุ่นสามประเทศมีความประสานงานและร่วมมืออย่างใกล้ชิดและใช้จุดแข็งของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นระเบียงแห่งความร่วมมือ ระเบียงแบบวิน-วิน ระเบียงแห่งการพัฒนาและเขตพัฒนาพิเศษแห่งมิตรภาพ เพื่อสร้างคุณูปการต่อความร่วมมือพหุภาคี ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและต่อการเพิ่มพูนความผาสุกแก่ประชาชนชาวไทย