NIDA Poll เรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ

ข่าวยานยนต์ Monday June 4, 2018 11:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 มิ.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2561 กรณีศึกษาจากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงปัญหาที่พบมากที่สุดในการใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.69 ระบุว่า ความปลอดภัย (เช่น การขับรถเร็ว การขับขี่บนทางเท้า การขับรถย้อนศร และการข่มขู่ผู้โดยสาร) รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า การคิดราคาเกินจริง ร้อยละ 11.50 ระบุว่า ไม่เคยพบเจอปัญหาเลย ร้อยละ 5.51 ระบุว่า การปฏิเสธผู้โดยสารหรือการปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง ร้อยละ 4.79 ระบุว่า ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ เข้าข่ายอนาจารด้วยวาจาและการกระทำ ร้อยละ 0.48 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จำนวน วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความพึงพอใจต่อการเลือกใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ระหว่าง "Grab Bike" กับ "วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.58 ระบุว่า เลือกใช้บริการ "วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง" รองลงมา ร้อยละ 34.03 ระบุว่า เลือกใช้บริการ "Grab Bike" และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยในจำนวนของผู้ที่เลือกใช้บริการ "วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง" ได้ให้เหตุผล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.96 ระบุว่า สะดวกในการใช้บริการ (มีอยู่ทั่วไปในทุกชุมชน) ไม่จำเป็นต้องมี App Grab Bike รองลงมา ร้อยละ 24.60 ระบุว่า เป็นผู้ให้บริการหลักในพื้นที่นั้น ๆ (ผู้ให้บริการมีวินประจำ) ร้อยละ 17.78 ระบุว่า มีความรู้จัก คุ้นเคย กับผู้ให้บริการ (ในกรณีคนในชุมชนเป็นผู้ให้บริการ) และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และในจำนวนของผู้ที่เลือกใช้บริการ "Grab Bike" ได้ให้เหตุผล พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.09 ระบุว่า สะดวกในการเรียกใช้บริการ (ผ่านแอปพลิเคชัน) รองลงมา ร้อยละ 40.80 ระบุว่า ราคาตามระยะทางจริงที่คำนวณให้ทราบก่อนใช้บริการ และร้อยละ 33.49 ระบุว่า มีมารยาทในการขับขี่ที่ดี เมื่อถามถึงว่าหาก Grab Bike ไม่สามารถขึ้นทะเบียนในการเป็นรถสาธารณะได้อย่างถูกต้อง จะใช้บริการหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.40 ระบุว่า ไม่ใช้บริการ เพราะ ชื่นชอบการใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่า เนื่องจากสะดวก เรียกใช้ง่าย และไม่จำเป็นต้องเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน รองลงมา ร้อยละ 43.77 ระบุว่า ใช้บริการ เพราะ สะดวกในการเรียกใช้บริการ มีมาตรฐาน ในการให้บริการ ทำให้เรียกใช้บริการด้วยความมั่นใจ และมีการกำหนดค่าโดยสารที่แน่นอนซึ่งถูกกว่าค่าโดยสารวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และร้อยละ 3.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงแนวทางที่จะทำให้ใช้บริการรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์สูงสุด พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.65 ระบุว่า มีการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ ให้กับมอเตอร์ไซค์สาธารณะที่ให้บริการประชาชนทุกชนิด รองลงมา ร้อยละ 41.77 ระบุว่า มีการบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษที่เคร่งครัดกับมอเตอร์ไซค์สาธารณะที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ ร้อยละ 36.10 ระบุว่า มีการกำหนดมาตรฐานราคาในการใช้บริการที่แน่นอน (ราคาตามระยะทางจริง) ร้อยละ 30.11 ระบุว่า อนุญาตให้ Grab Bike จดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 28.51 ระบุว่า ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะอย่างชัดเจน ร้อยละ 25.24 ระบุว่า ควรมีหน่วยงานสุ่มตรวจคุณภาพการให้บริการมอเตอร์ไซค์สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ และร้อยละ 2.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 45.45 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล ตัวอย่างร้อยละ 53.75 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.25 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 8.39 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 13.74 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.48 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.35 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.49 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.56 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 92.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.32 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 30.59 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 61.98 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.43 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.00 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 16.69 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 23.56 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.58 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 38.82 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.71 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 9.11 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.92 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 26.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 1.92 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.94 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.81 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.55 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 17.89 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 8.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.33 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 9.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 16.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.30 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ