กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
88 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กำลังปฏิรูประบบไอทีอยู่ในระดับที่น้อยสุดถึงปานกลาง
81 เปอร์เซ็นต์ เห็นพ้องต้องกันว่าการปฏิรูประบบไอทีจำเป็นต่อการเอาชนะในตลาด
สรุปประเด็นข่าว
- เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลการศึกษาใหม่เกี่ยวกับการเติบโตของการปฏิรูปไอที โดยทำสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที 4,000 รายทั่วโลก
- ผลสำรวจ ชี้ว่าองค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่สู่ตลาดทำให้อยู่เหนือการแข่งขันได้สูงกว่าถึง 22 เท่า
- 81 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรเหล่านี้ เห็นพ้องว่าหากไม่ปฏิรูปไอที จะทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 71 เปอร์เซ็นต์
- 96 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ มีแนวคิดริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอยู่แล้ว และยังเห็นถึงการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่าง
การเติบโตในการปฏิรูปไอที และความก้าวหน้าในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล
เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลวิจัยชิ้นใหม่ ที่จัดทำโดย Enterprise Strategy Group (ESG) เกี่ยวกับประโยชน์ของการปฏิรูปไอที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลที่ว่าการปฏิรูปไอทีสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ที่ช่วยนำไปสู่ความแตกต่างในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนวัตกรรมและสร้างการเติบโตได้ในท้ายที่สุด
ภาพรวมธุรกิจในปัจจุบันเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนมากขับเคลื่อนจากการที่องค์กรธุรกิจนำเทคโนโลยีมาใช้ในแนวทางใหม่ๆ หรือใช้อย่างมีนวัตกรรม ซึ่งการที่จะอยู่รอดและเฟื่องฟูได้ในโลกดิจิทัลปัจจุบัน ทำให้องค์กรธุรกิจต่างนำเทคโนโลยีใหม่ กระบวนการและทักษะใหม่ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด ก้าวแรกที่เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็คือ การปฏิรูปไอที เพื่อช่วยให้องค์กรนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพื่อให้แข่งขันได้พร้อมผลักดันเรื่องของนวัตกรรม สอดคล้องตามผลการศึกษาเกี่ยวกับการเติบโตของการปฏิรูปไอทีปี 2018 ของ ESG (ESG's 2018 IT
Transformation Maturity Study) ในประเด็นต่อไปนี้
- 81 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ เห็นพ้องว่าถ้าไม่มีการปฏิรูปไอที องค์กรตนก็จะไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งเป็นความเห็นที่เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึง 71 เปอร์เซ็นต์
- 88 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กล่าวว่าองค์กรของตนอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น
- องค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือการแข่งขันจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้ มากกว่าถึง 22 เท่า
- องค์กรที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มความเชื่อว่าตนอยู่ในสถานภาพที่แข็งแกร่งที่จะแข่งขันและประสบความสำเร็จในตลาดภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าได้มากกว่าถึง 2.5 เท่า
- บริษัทที่มีการปฏิรูป มีแนวโน้มว่าจะตัดสินใจจากข้อมูลได้ดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าคู่แข่งถึง 18 เท่า และบรรลุเกินเป้าหมายรายได้ที่ตั้งไว้ถึง 2 เท่า
"ข้อมูล เป็นข้อได้เปรียบใหม่ทางการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังมีการกระจายการใช้งานผ่านจุดเชื่อมต่อเครือข่ายปลายทาง (edge) รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์หลัก และคลาวด์ ทั้งนี้องค์กรธุรกิจต่างตระหนักดีว่าต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความฉลาดทางธุรกิจ ซึ่งต้องอาศัยระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการ วิเคราะห์ จัดเก็บพร้อมปกป้องข้อมูลได้ในทุกที่" นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) กล่าว "เราอยู่ในธุรกิจที่ช่วยให้สร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถสร้างกลยุทธ์แบบครบวงจรได้จริง พร้อมผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังการเปลี่ยนแปลง"
การศึกษาพัฒนาการในการปฏิรูปไอที ของ ESG ประจำปี 2018
การศึกษาการเติบโตของการปฏิรูปไอที ของ ESG ประจำปี 2018 เป็นการตามรอยการศึกษาต้นแบบที่จัดทำโดย เดลล์ อีเอ็มซี ESG 2017 IT Transformation Maturity Study และเป็นการศึกษาที่ออกแบบมาเพื่อให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ของการปฏิรูปไอที ประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทที่ผ่านประสบการณ์การปฏิรูป และบทบาทของเทคโนโลยีสำคัญที่มีต่อการปฏิรูปไอที ทั้งนี้ ESG ได้นำโมเดลเรื่องการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากงานวิจัย มาใช้ระบุความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปไอทีในขั้นตอนที่ต่างกัน พร้อมประเมินว่าองค์กรระดับโลกแห่งไหนบ้างที่ผ่านการปฏิรูปในขั้นตอนใด จากการตอบคำถามถึงการนำเทคโนโลยีที่เพิ่มความทันสมัยให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงกระบวนการไอทีแบบอัตโนมัติมาใช้ พร้อมปฏิรูปเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างรวดเร็วในองค์กร
"บรรดาบริษัทต่างๆในปัจจุบัน ล้วนต้องการความคล่องตัวเพื่อให้ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้ พร้อมขับเคลื่อนไปสู่การเติบโต และการปฏิรูปไอทีสามารถช่วยให้เข้าถึงศักยภาพนั้นได้" จอห์น แมคไนท์ รองประธานฝ่ายงานวิจัย Enterprise Strategy Group กล่าว "เห็นได้ชัดเจนว่าการปฏิรูปไอทีมีการขยายตัวไปสู่องค์กรต่างๆ มากขึ้น เพราะบรรดาบริษัท รวมถึงผู้บริหารระดับอาวุโสต่างเข้าใจดีว่าการปฏิรูปไอทีสำคัญต่อกลยุทธ์ธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมอย่างไร ในขณะที่การบรรลุในการปฏิรูปก็อาจเป็นความพยายามครั้งสำคัญ ซึ่งงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า บริษัทที่ "ปฏิรูปแล้ว" จะสัมผัสถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างแท้จริง รวมถึงมีแนวโน้มที่จะอยู่เหนือการแข่งขันด้วยการนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาด สามารถนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เร็วขึ้นกว่าคู่แข่งในตลาด และบรรลุเป้าหมายรายได้เกินกว่าที่ตั้งไว้"
ปีนี้ มีองค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจถึง 4,000 แห่ง โดยจะถูกแบ่งกลุ่มตามขั้นตอนในการพัฒนาสู่การปฏิรูปไอทีบนฐานเดียวกัน
- ขั้นตอนที่ 1 – Legacy ยังเป็นระบบดั้งเดิม (6%) ซึ่งยังขาดอยู่หลายขั้นตอน ถ้าไม่ได้ขาดทุกแง่มุมในการปฏิรูปไอทีตามการศึกษาของ ESG
- ขั้นตอนที่ 2 – Emerging เพิ่งเริ่ม (45%) โดยแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในเรื่องการปฏิรูปไอที แต่ยังมีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้น้อยมาก
- ขั้นตอนที่ 3 – Evolving มีพัฒนาการที่ดี (43%) โดยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิรูปไอที และมีการนำเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้ พร้อมวิธีการส่งมอบไอทีในระดับปานกลาง
- ขั้นตอนที่ 4 – Transformed ปฏิรูปแล้ว (6%) มีพัฒนาการไกลที่สุดในการดำเนินการตามความริเริ่มด้านการปฏิรูปไอที
ผลศึกษาในปีนี้ แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังคืบหน้าสู่การเติบโตด้านไอทีและโดยทั่วไปเชื่อว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
- 96 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจ กล่าวว่ากำลังดำเนินการตามโครงการริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ทั้งในขั้นตอนของการวางแผน เริ่มติดตั้งใช้งาน อยู่ระหว่างกระบวนการดำเนินการ หรือพัฒนาให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
- ผู้ตอบสำรวจที่อยู่ในองค์กรที่ปฏิรูปแล้ว มีแนวโน้มว่าจะมีการพัฒนาการไปสู่โครงการปฏิรูปสู่ดิจิทัลตามมา มากกว่าบริษัทที่ใช้ระบบงานดั้งเดิมถึง 16 เท่า (66% เทียบกับ 4%)
- องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว มีแนวโน้มว่าจะทำรายได้ทะลุเป้าที่กำหนดในปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับองค์กรที่ยังเป็นระบบดั้งเดิม (94% เทียบกับ 44%)
- 84 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบสำรวจที่มีพัฒนาการในการดำเนินการตามความริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล กล่าวว่าตนอยู่ในจุดที่แข็งแกร่ง หรือ แข็งแกร่งมากในการแข่งขัน และประสบความสำเร็จ
การเติบโตของการปฏิรูปไอที สามารถเร่งให้เกิดนวัตกรรม ผลักดันไปสู่การเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพด้านไอที และลดค่าใช้จ่ายได้ ยิ่งไปกว่านั้นคือ
- องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว สามารถเปลี่ยนงบประมาณด้านไอทีเป็นนวัตกรรมได้มากกว่า 17 เปอร์เซ็นต์
- ปิดโครงการได้เร็วกว่ากำหนดการถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มว่าจะปรับมาใช้แอปพลิเคชันส่วนใหญ่ได้เร็วกว่ากำหนดการถึง 10 เท่า
- องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว ยังรายงานว่าบรรลุโครงการไอทีภายใต้งบประมาณที่กำหนดได้มากกว่าถึง 14 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังใช้เงินไปกับแอปพลิเคชันสำคัญทางธุรกิจน้อยลงถึง 31 เปอร์เซ็นต์
ทำให้การปฏิรูปไอที และการปฏิรูปสู่ดิจิทัลเป็นจริงได้
Bank Leumi สถาบันธนาคารชั้นนำและเก่าแก่ที่สุดในอิสราเอล กำลังเห็นถึงประโยชน์ของการปฏิรูปไอที ด้วยการทำให้ mobile-only bank หรือการให้บริการผ่านมือถือเท่านั้น เป็นจริงขึ้นมา ทั้งนี้องค์กรได้เริ่มต้นที่การสร้างแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น ดูแลลูกค้าได้เร็วยิ่งขึ้น และเข้าถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ การจะทำเรื่องเหล่านี้ได้ บริษัทต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น และเริ่มนำโมเดลไฮบริดคลาวด์มาใช้ รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined data center) ซึ่งจะช่วยให้บริษัทย้ายโปรแกรมจากเครื่องที่พัฒนาไปยังเครื่องที่ใช้งานจริงได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง แทนที่จะใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็วขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง จึงเป็นการช่วยให้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีนวัตกรรมสู่ตลาดได้
"เราอยู่ท่ามกลางยุคของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ซึ่งทั้งความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว" อิแลน บูกานิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ Bank Leumi กล่าว "ในฐานะที่เราเป็นธนาคาร จึงต้องปรับตัวพร้อมมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เราเห็นถึงโอกาสในการดำเนินการเรื่องนี้กับ mobile-only bank ใหม่ของเราคือ "Pepper" การย้ายไปสู่โมเดลไฮบริดคลาวด์ และสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ช่วยให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการให้บริการด้านธนาคารแบบเรียลไทม์ ให้ความสามารถในการดำเนินการได้รวดเร็วและช่วยลดเวลาในการเสนอความสามารถด้านฟังก์ชันการทำงานแบบใหม่ จึงทำให้สามารถมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าได้"
เกี่ยวกับเดลล์ อีเอ็มซี
เดลล์ อีเอ็มซี เป็นส่วนหนึ่งของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่มุ่งช่วยองค์กรธุรกิจเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่ความทันสมัย ในระบบอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และระบบปกป้องข้อมูล ให้พื้นฐานที่เชื่อถือได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการพลิกโฉมไอที ด้วยการสร้างไฮบริดคลาวด์ พร้อมปรับโฉมธุรกิจด้วยการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อการใช้งานบนคลาวด์และโซลูชันบิ๊กดาต้า ทั้งนี้ เดลล์ อีเอ็มซี ให้บริการลูกค้าครอบคลุม 180 ประเทศ รวมถึง 98 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในทำเนียบ Fortune 500 ด้วยสายผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมที่สมบูรณ์ที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งระบบงานหลักจนถึงระบบคลาวด์