กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--สามารถคอร์ปอเรชั่น
เสร็จสิ้นการแข่งขัน และได้ผู้ชนะเลิศเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับการแข่งการ Samart Innovation Awards 2007 ซึ่งจัดโดยบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสามารถของเยาวชนให้กล้าแสดงออกทางความคิด ทั้งการออกแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นบนมือถือ พร้อมป้อนผลงานทั้ง 19 ชิ้นที่ได้รับรางวัลในปีนี้ออกสู่ตลาด หลังเดินหน้าเปิดตัวบริษัท เบรน ซอร์ส จำกัด ที่ดูแลการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารมัลติมีเดียโดยเฉพาะ โดยมีทีมวิจัยและพัฒนาเฉพาะด้าน มุ่งรุกตลาดโมบายแอพพลิเคชั่น ที่มีมูลค่าตลาดกว่า 2,000 ล้านบาท เต็มที่
การแข่งขันปีนี้นับเป็นปีที่ 5 แล้ว โดยมีวัยโจ๋ที่มากประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ , สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ , วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และน้องๆจากสาขาอื่นๆที่มีความสนใจกว่า 30 สถาบันเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งมากกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา และถือเป็นการรวมนักวิชาการ อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นิสิต นักศึกษาในแวดวงนักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นบนมือถือกว่า 500 ชีวิต ซึ่งการแข่งขันในปีนี้ปรากฏว่า มีทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 32 ผลงาน สุดท้ายมีทีมที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 24 ทีม ซึ่งรางวัลสูงสุดได้แก่รางวัล Gold Awards มี 2 ทีม ได้แก่ทีม VIDVIEW จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการคว้ารางวัลติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ของนิสิตจากจุฬาฯ และทีม Siam Earth จากรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็คว้ารางวัล Gold Awards ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยจะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 200,000 บาท
ด้านรางวัล Silver Awards จะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 50,000 บาท มีจำนวน 4 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัล 200,000 บาท ได้แก่ ผลงาน Night of War , Mobile Lizard , Fantasy Dimension และ โป้งแปะ
รางวัล Bronze Awards จะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 30,000 บาท มีจำนวน 11 รางวัล รวมเป็นเงินรางวัล 330,000 บาท ได้แก่ ผลงาน Mobile Keeper ,Mobile Tube , Definition ,Traffic Info. On Mobile , Smile File Sharing , โปรแกรมคิวอัจฉริยะ ,Mobigocchi ,The Hybrid Dancer ,Cashier Mania ,ปลาน้อยผู้กล้าหาญ (Forage the Cowardly Fish) และ iRhythm
นอกจากนี้ยังมีรางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลๆ ละ 8,000 บาท และรางวัล Media Award ที่ได้รับการโหวตจากสื่อมวลชน ได้แก่ ผลงานชื่อ Siam Earth ซึ่งได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท
นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “สำหรับรางวัลในปี2007นี้ มีมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท นอกจากเด็กที่ส่งผลงาน อาจารย์ และสถาบัน จะได้รับเงินรางวัลตามสัดส่วนแล้ว ยังมีรางวัลพิเศษที่เป็นการให้ทั้งความรู้ และสร้างโอกาสที่ดีในอนาคตแก่ผู้เข้าประกวด อาทิ สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล Gold Award จะมีโอกาสไปดูงานด้านไอทีและซอฟต์แวร์ที่ต่างประเทศ , การได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ และโครงการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจซอฟต์แวร์ (Incubation Center) เป็นเวลา 1 ปี ที่จะมีที่ปรึกษามือออาชีพคอยให้คำปรึกษาทางด้านการทำธุรกิจ กว่า 10 หลักสูตรแก่ผู้ที่ได้รางวัล Gold Award และ Silver Award ที่สนใจจะทำธุรกิจของตัวเอง พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องในเชิงพาณิชย์สำหรับ 19 ผลงานที่คาดว่าจะสามารถทำตลาดได้ในอนาคต รวมทั้งถ้าเด็กคนใดมีความสามารถเป็นที่เข้าตาของผู้บริหาร ก็มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทสามารถ อีกด้วย”
ที่ผ่านมาบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการให้บริการคอนเทนท์ผ่านมือถือมากขึ้น เพราะเล็งเห็นถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการเข้าไปสนับสนุนบริการเสริมให้กับมือถือยี่ห้อไอ-โมบาย ซึ่งเป็นธุรกิจของกลุ่มบริษัทสามารถ ที่มีการเปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเข้าไปจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเข้าไปให้บริการเสริมในโทรศัพท์มือถือยี่ห้ออื่นๆ รวมทั้งยอดจำหน่ายมือถือในประเทศปัจจุบันที่มีกว่า 8 ล้านเครื่อง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคอนเทนท์และแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ออกมาป้อนความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดการณ์ได้ว่าธุรกิจนี้มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น โดยในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ารายได้ธุรกิจคอนเทนท์ไว้ที่ 600 ล้านบาท คาดว่าปีหน้าจะโตขึ้นมาอีกประมาณ. 20เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 720 ล้านบาท”
ด้วยเหตุนี้บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการคอนเทนท์ผ่านสื่ออินเตอร์แอ็คทีฟที่หลากหลายและเป็นที่ยอมรับของ Bug ประกอบกับประสบการณ์และความสำเร็จในการพัฒนามือถือ ไอ-โมบาย จนครองตลาดเฮาส์แบรนด์อันดับหนึ่งของไทย มุ่งมั่นที่จะต่อยอดธุรกิจทางด้านโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างจริงจัง จึงเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ ให้ได้มีโอกาสแสดงความคิดความสามารถ เพื่อพร้อมส่งผลงานเข้าสู่ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ โดยจะดำเนินการจัดให้มีการประกวดโครงการ “Samart Innovation Awards 2008” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6
สำหรับโครงการ SIA 2008 ยังคงความเข้มข้นเช่นเดียวกับปีนี้ ทั้งกฎ กติกา ประเภทการแข่งขัน และรางวัลแต่มีความพิเศษยิ่งกว่าสำหรับผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ซึ่งนอกจากจะได้ทั้งความรู้ จากการเข้ารับการอบรมและการติวเข้ม ทั้งความรู้เชิงเทคนิคและเชิงการตลาดแล้ว ด้านรางวัลพิเศษอื่นๆก็มี
พิเศษขึ้น โดยในปีนี้ทางกลุ่มบริษัทสามารถ และ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ได้เพิ่มสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งนอกจากจะไปดูงานต่างประเทศแล้ว จะมีการส่งผลงานที่ได้รับรางวัล Gold Award เข้าร่วมประกวดในเวทีระดับประเทศ และระดับภูมิภาคเอเชียด้วย น้องๆที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการประกวดและข่าวสารความเคลื่อนไหว หรือสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ทางเว็บไซต์ www.samart.com/innovation_award ตั้งแต่เดือนก.พ 2008
นายเจริญรัฐ ยังกล่าวสรุปในตอนท้ายว่า “จากการจัดโครงการ SIA ทั้ง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้อุตสาหกรรมซอฟแวร์แอพพลิเคชั่น ของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแข่งขันในธุรกิจเกิดขึ้นมากมาย และมีผลงานของน้องๆที่ได้รับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนทางธุรกิจออกสู่ตลาด ได้แก่ Music Caller , RSS Reader และเกมส์ Nub Nub ซึ่งเป็นเกมส์ฝึกไหวพริบและทักษะการคำนวณตัวเลขที่ไม่เหมือนเกมส์อื่นๆ ลงในเครื่อง i-mobile 508 รวมทั้งมีการสนับสนุนด้านอาชีพ โดยมีผู้ที่มาจากการประกวดเข้าร่วมงานกับบริษัทฯ แล้ว 2 รายและกำลังจะเข้าร่วมงานอีก 1 ราย คือ นายสิทธิพล พรรณวิไล ผู้ได้รับรางวัล Gold award ปี 2005 อีกทั้งยังมีน้องๆเยาวชนที่ได้รับรางวัลจากโครงการฯออกไปเปิดบริษัทของตนเพื่อผลิตผลงานและทำตลาดป้อนให้กับบริษัทอื่นๆด้วย”
โครงการ SIA เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นประโยชน์ เพราะเยาวชนไทยถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต และกลุ่มบริษัทสามารถ จะยังคงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรากฐานที่มั่นคงของสังคมไทยต่อไป”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ฝ่าย Pr.Corp จุฑารัตน์ ชัยวิชาชาญ / วทิรา ลุยากร
โทร.2-0502-8236