กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาตร์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AiAT) จัดงานสัมมนาหัวข้อ "ปัญญาประดิษฐ์ Big data หุ่นยนต์ และ IOT หัวใจของนวัตกรรมใหม่...ที่ไม่ไร้จริยธรรม" เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย. 2561 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม Topaz Suite โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ
ปัจจุบันการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ (Artificial Intelligence (AI)/ Robotics) และการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในประเทศไทยมีความแพร่หลาย และมีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น AI เมื่อเทียบกับมนุษย์คือ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลมหาศาล มีความรวดเร็วและแม่นยำในการประมวลผลเชิงตรรกะ AI จึงเป็นผู้ช่วยมากกว่าเป็นผู้ตัดสินใจ
การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้ได้รับความเข้าใจในข้อมูลประเด็นจริยธรรมการพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และ Big Data และเพื่อให้เกิดเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เกิดการแสดงความคิดเห็น และนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรม หรือ แนวทางการกำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี Big data, AI และ Robot ของประเทศต่อไป
โดยมีผู้ทรงวุฒิให้เกียรติมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนเวทีสัมมนา อาทิ ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย, ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT, ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และ ดร.สรณันท์ จิวะสุรัตน์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน), นายปิง ณ ถลาง ADVISER - Human Resources - Bangkok Airways PLC ADVISER - IT - CEO Group 1 BDMS PLC, คุณเชษฐพันธุ์ ศิริดานุภัทร Principal Visionary Architect, KBTG (KASIKORN Business–Technology Group), MS.Tripti Chaudhary Senior Regional Manager, Strategic Initiatives, AnyMind Group, ดร.นริศ หนูหอม และ ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เป็นต้น ดำเนินรายการ โดย ดร.ปกป้อง ส่องเมือง สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และ ดร.ภูมินทร์ บุตรอินทร์ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย พร้อมทั้งสรุปประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับสังคมไทย