IOM X และ เหล่ายูทูปสตาร์ ร่วมกันส่งข้อความถึงเยาวชนไทย : คุณสามารถช่วยป้องกันการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมการผลิตได้

ข่าวทั่วไป Wednesday March 28, 2018 17:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ พลังจากเยาวชนไทยเปลี่ยนโลกใบนี้ได้ นี่คือข้อความเปิดตัวแคมเปญ รู้มั้ยใครทำ จากทาง IOM X เพื่อชักชวนเยาวชนไทยมาเป็นผู้นำในการตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างชาญฉลาด รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อแรงงานในอุตสาหกรรมการผลิต IOM X หนึ่งในหน่วยงานจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด -USAID) ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์อันไม่ชอบธรรม IOM X จับมือกับผู้สร้างวิดีโอชั้นนำของยูทูปประเทศไทย นำเสนอเรื่องราวด้านบวกและลบของอุตสาหกรรมการผลิตผ่านวิดีโอ ซึ่งคาดว่าจะเข้าถึงผู้ใช้ยูทูปชาวไทยกว่า 13 ล้านคน บี้ เดอะ สกา เล่าเรื่องราวความทุกข์ยากของพ่อที่ต้องทำงานอย่างหนักในฝ่ายผลิตของโรงงานโทรศัพท์มือถือ เพื่อเก็บเงินซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ที่ลูกสาวอยากได้ VRZO กับผลงาน "ความสุข" นำเสนอประเด็นความแตกต่างระหว่างการทำการตลาดและเบื้องหลังการผลิตเสื้อผ้า BILLbilly01 กับการรังสรรค์มิวสิควิดีโอที่จุดประกายให้เราเห็นคุณค่าของผู้ที่ผลิตเสื้อผ้าให้เราได้สวมใส่ ผ่านแคมเปญ รู้มั้ยใครทำ จาก IOM X ในการมองลึกลงไปสู่อุตสาหกรรมการผลิต Softpomz กับการถามความคิดเห็นของเด็กๆเกี่ยวกับงานและค่าตอบแทนจากงานที่ทำ และถ้ามันไม่ใช่อย่างที่เด็กๆคิดไว้ มันยุติธรรมหรือไม่ Picnicly กับการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหารที่ทำธุรกิจโดยคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้างและผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ "นี่คือเรื่องจริง: เมื่อไหร่ก็ตามที่เราตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้น เราก็มีความเสี่ยงต่อการสนับสนุนการแสวงหาประโยชน์อันไม่ชอบธรรม แต่ถ้าเราเลือกซื้ออย่างมีสติ เราก็จะมีส่วนช่วยในการหยุดวงจรการกดขี่ที่ทำร้ายผู้ที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ได้" ทารา เดอมอท หัวหน้าโครงการ IOM X กล่าว ผู้คนราว 16.6 ล้านคนในเอเชีย-แปซิฟิกตกเป็นเหยื่อแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต[i]โดยผลกำไรต่อปีที่มาจากแรงงานบังคับที่ผิดกฏหมายในเอเชีย รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีราว 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[ii] บ่อยครั้งที่เหยื่อค้ามนุษย์จากอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ต้องอาศัยอยู่ในที่พักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน และโดนยึดเอกสาร จึงทำให้ไม่สามารถลาออกจากงานได้[iii] ไม่ได้รับเงินค่าล่วงเวลา ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย (เช่น ทำงานกับสารเคมีที่มีพิษและเครื่องจักรอันตราย) และมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการทำงานด้วยท่าทางซ้ำๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน[iv] การทำงานโดยปราศจากชุดป้องกันสารเคมีและอุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ ปัญหาด้านผิวหนัง โรคจากความเสียหายของตับ ปัญหาการได้ยิน และปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท[v] แรงงานขัดหนี้ หรือ การบังคับใช้แรงงานแทนการชำระหนี้ คือแรงงานบังคับลักษณะหนึ่งที่ใช้เพื่อบังคับให้เหยื่อของแรงงานขัดหนี้ทำงาน พบเห็นได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมบริการจัดหางานโดยเฉลี่ย 500 - 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบ่อยครั้งที่ค่าธรรมเนียมเหล่านี้มักถูกหักจากเงินเดือนของแรงงาน[vi] ไอโอเอ็ม เอ็กซ์ (IOM X), ยูเสด (USAID), กูเกิล (Google) ประเทศไทย, เลิฟแฟรงกี้ (Love Frankie) และ ทีคิวพีอาร์ (TQPR) ร่วมกันเปิดตัวแคมเปญ รู้มั้ยใครทำ? สามารถเยี่ยมชม IOMX.org/tham เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับที่มาของผลิตภัณฑ์ที่คุณซื้อ และเรียนรู้ว่าคุณจะสามารถช่วยป้องกันการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับคนที่ผลิตสินค้าให้คุณได้อย่างไร สามารถดูรูปภาพความละเอียดสูงและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://tinyurl.com/IOMXYouTube ไอโอเอ็ม เอ็กซ์ (IOM X) คือ หนึ่งในหน่วยงานจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration - IOM) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย รวมถึงการให้สังคมมีส่วนร่วมในการหยุดการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมและการค้ามนุษย์ โดยกิจกรรมรณรงค์นี้ใช้อิทธิพลสื่อและเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนไทยและชุมชนของเขาร่วมกันต่อต้านการค้ามนุษย์ โดย ไอโอเอ็ม เอ็กซ์ ยังคง เดินหน้าเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงผลของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป โดยการปรับใช้ในรูปแบบของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Communication for Development - C4D) ผ่านกรอบหลักฐานเชิงประจักษ์และการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนการส่งสารให้สอดคล้องกับกิจกรรม โดยกิจกรรมการรณรงค์นี้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development - USAID) เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ IOMX.org องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development - USAID) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลกในด้านภัยพิบัติ ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมการปฏิรูปประชาธิปไตย โดยมีสำนักงานภาคพื้นเอเชียตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อดูแลโครงการต่างๆในระดับภูมิภาคและระดับชาติ รวมถึงให้การสนับสนุนสำนักงาน USAID ในภูมิภาคเอเชียที่เป็นความร่วมมือในระดับทวิภาคี และบริหารจัดการโครงการในประเทศที่ไม่มีสำนักงานของ USAID ตั้งอยู่ ในระดับภูมิภาค USAID ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาด้านพรมแดน เช่น การค้ามนุษย์และการค้าสัตว์ป่า โรคติดต่ออุบัติใหม่ มาลาเรีย และ เอชไอวี/เอดส์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่www.usaid.gov/asia-regional หรือ @USAIDAsia สำหรับเฟชบุ๊คและทวิตเตอร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ