กรุงเทพฯ--4 ธ.ค.--อาวอง
ครั้งแรก...ที่คนไทยรู้ว่าเครื่องบินคืออะไร...
ครั้งแรก... ที่ เครื่องบินประเทศฝรั่งแปลกปลอมเข้ามาบนท้องทุ่งนา...
ครั้งแรก...ที่สยามประเทศติดปีก ริจะส่งคนไทย บินขึ้นไปชมประเทศตนเอง...บนฟ้า!!!
ไม่มีอะไร สนุก น่ารัก ต้องใช้ความกล้า ความรัก และความสามัคคีเข้าสู้ เท่านี้อีกแล้ว
จากเรื่องจริงของการก่อตั้งกองการบินขึ้นครั้งแรกในเอเชีย สู่ภาพยนตร์เปี่ยมแรงบันดาลใจ สัมผัสความงาม ความรัก และความสามัคคีแห่งฟากฟ้าสยามประเทศด้วยตาคุณเอง “รักสยามเท่าฟ้า” ... 27 ธันวาคม นี้ น่านฟ้าของแผ่นดินสยาม จะงดงามกว่าที่เคย
เรื่องราว ( Synopsis )
ปี พ.ศ.2447 พันตรี หลวงกาจยุทธการ ( ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย ) กลับจากฝึกเรียนการบินจากฝรั่งเศส ได้รับมอบหมายให้จัดตั้งกองบินแห่งสยาม แม้ขุนนางราชการผู้ทรงอำนาจบางท่านมองเรื่องเครื่องบินเป็นไร้สาระ หลวงกาจ จึงต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อนี้
ภารกิจแรกแห่งกองการแห่งสยาม ต้องฝึกนักบินคนสยามขึ้นมาให้ได้ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ปิแอร์ ปูร์ปอง ( ทอม เคลย์เตอร์ ) ครูฝึกของหลวงกาจ ศิษย์การบินกลุ่มแรก ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร 4 นาย ร้อยโทรัตน์ ( วุฒิชัย ไหมกัน ) , ร้อยเอกอัษฏา ( กฤษณ์ สุวรรณภาพ ) , พันตรีทวยเทพ ( ผดุงศักดิ์ กิจจานิชขจร) , ร้อยตรีดำเกิง ( กฤษฎา พัชรพิพัฒน์ ) โดยมี พลทหารชั้นประทวนร่วมกองบินเพียง 1 นาย คือ พลทหาร ดวง เด็ดฉิมพลี ( ศรราม เทพพิทักษ์ ) ลูกชาวนาที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักบิน
เมื่อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งแปลกปลอมเข้ามาบนทุ่งนาสยาม ...
เมื่อเครื่องบินประจัญหน้ากับควาย ...ไม่มีอะไรสนุก น่ารัก และต้องใช้ความกล้า ความรัก ความสามัคคีเข้าเผชิญเท่านี้อีกแล้ว
ครั้งแรกที่คนไทยได้ขึ้นไปสัมผัสความงามแห่งฟากฟ้าแผ่นดินตนเอง เป็นที่รำลึกกล่าวขานของคนรุ่นหลังจวบจนทุกวันนี้ “รักสยามเท่าฟ้า” ... 27 ธันวาคม นี้ น่านฟ้าของแผ่นดินสยาม จะงดงามกว่าที่เคย
จากประวัติศาสตร์สู่แรงบันดาลใจ
จากประวัติศาสตร์จริงรวมกับแรงบันดาลใจที่ แม่เล่าถึงรุ่นปู่ย่า ที่เคยตั้งคำถาม “เหล็กจะไปบินบนฟ้าได้ยังไง???” ทำให้ ปื้ด ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับฯ ผูกเป็นเรื่องราว ภาพยนตร์แห่งแรงบันดาลใจ “รักสยามเท่าฟ้า”
“เราได้แรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์จริง ที่บันทึกไว้ว่า ในบรรดานักบินที่ไปฝึกบินฝรั่งเศส มีนายทหารชั้นประทวนเพียงคนเดียว ที่เหลือเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร และลูกขุนนางหมดเลย เราก็เกิดเป็นแรงบันดาลใจว่า มีนายทหารชั้นประทวนคนหนึ่งได้ขึ้นไปบิน บวกกับความฝันที่อยากมีกองการบินครั้งแรกของเมืองไทย ทั้ง 2 เส้นเรื่อง มีแก่นเดียวกัน คือ ความฝันที่อยากจะบิน ระหว่างนั้นก็มีเรื่องราวความรัก ความสนุกสนาน ความน่ารัก มุมมองบ้าน ๆ ที่ประจัญหน้ากับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา”
“รักสยามเท่าฟ้า” สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบิดาแห่งการบินไทย คนกลุ่มนี้ที่กล้าทำฝันให้เป็นจริงบนท้องฟ้าสยาม”
มุมมอง เอมี่ - จันทิมา เลียวศิริกุล โปรดิวเซอร์ดูแลการผลิต
“รักสยามเท่าฟ้า” ที่จับเอาช่วงเวลาดีๆ ไว้ได้หลายอย่าง นอกจากแง่มุมเรื่องการบินสมจริงแล้ว “รักสยามเท่าฟ้า” ดูน่ารัก ใสซื่อ เห็นความน่ารักของคนไทย คนไทยช่างยิ้ม เปิดใจกว้าง ถ้าวันนั้น บรรพบุรุษเราเขาไม่ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศ ทุกวันนี้เราก็คงไม่มีสนามบินดอนเมือง
เหมือนเราเจอประสบการณ์ชีวิตใหม่ ๆ สิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต ถ้าเราร่วมมือร่วมใจไปพร้อม ๆ กัน เราจะได้พบของใหม่
แง่มุมตลก ความน่ารัก มาจากธรรมชาติที่แตกต่างกัน เป็นความขัดแย้งที่น่ารักอย่าง สนามบินเราอุปสรรคใหญ่หลวง คือ ควาย ตัวละครดูเท่ห์ แต่มีควายเป็นอุปสรรค หรือตัวละครอย่าง ศรราม เรื่องนี้ก็หล่อ น่ารัก สดใสมาก เรื่องรักก็ดูแล้วยิ้มๆ
“รักสยามเท่าฟ้า” ยังจับเอาบรรยากาศ ความสวยงามบ้านเมืองเรา อย่าง ด้านภาพ เราภูมิใจว่า ช็อทท้องฟ้าที่ถ่ายทำจริง คนที่ขึ้นไปบนท้องฟ้าสยาม ได้เห็นว่า ท้องฟ้าสยามสวยสดใส แค่ไหน คนที่ขึ้นไปบินอย่าง ทอม เคล์ยเตอร์ เขาพูดเรื่องนี้บ่อยๆ และ หนังยังจับเอา ความน่ารัก ความสามัคคีของคนไทย ที่ร่วมมือร่วมใจกันเมื่อไร ก็จะประสบความสำเร็จ”
ทุ่มเทเพื่อให้ได้ภาพสมจริง
เพื่อให้ได้ภาพย้อนยุค ตรงตามประวัติศาสตร์ ปื้ด ธนิตย์ จิตนุกุล อธิบายรายละเอียดของโปรดักชั่นงานสร้าง ที่เน้นรายละเอียด ดูสมจริงตามประวัติศาสตร์ ให้ได้ภาพสมจริง สมกับเป็นหนังวีรบุรุษแห่งการบินไทย
ในส่วนของสถานที่ถ่ายทำหลักของ “รักสยามเท่าฟ้า” มี 2 แห่ง ปากช่อง และนครสวรรค์ โดยทีมงานได้เนรมิต ให้เป็นสนามบินในอดีตยุครัชกาลที่ 6 ขึ้นมา
“เราเนรมิตพื้นที่ จ.นครสวรรค์ สร้างเป็นสนามบิน สร้างโรงเก็บเครื่องบิน ลานบิน ปักหลักถ่ายทำที่นครสวรรค์มีความสุขมาก เราเริ่มเปิดกล้องที่นั่น เอานักแสดงไปเก็บไว้ 4 เดือน ถ่ายทำกันไป
งานออกแบบงานสร้าง เราเน้นให้ดูสมจริง สัมผัสได้ เสื้อผ้า กำกับศิลป์ สถานที่ ทุกอย่าง เราต้องจินตนาการได้ว่า มันเกิดแบบนั้นจริงได้ ความสมจริง นั่นเป็นเหตุที่เราต้องเช่าโลเคชั่นเป็นเดือน ๆ และต้องไม่ให้เห็นสิ่งก่อสร้างที่มันจะเป็นสมัยนี้ เช่าพื้นที่ 20-30 ไร่ มันยากมากเวลานี้ โชคดี เราพบเขตทหาร พื้นที่เหมาะ เราก็ไถทำรันเวย์เครื่องบินเองเลย เอารถไถไปไถหลายวัน
ทีมงานฝ่ายศิลป์ เซตเครื่องบินจำลองขึ้นมาเลย รุ่นเบรเกต์ (Breguet) ทั้งรุ่น และแบบ สร้างเท่าขนาดเครื่องบินจริง ช่วงปีกต่อปีก หัวถึงท้าย ทุกอย่างเหมือนจริง แต่ถึงลงทุนใส่เครื่องก็คงไม่กล้าให้ใครขึ้นบิน เครื่องแต่งกายโรงเก็บเครื่องบินทั้งหมดเรายึดจากหลักฐานตามประวัติศาสตร์จริงในสมัยนั้น
เราเซ็ตตลาดน้ำขึ้นมา “ตลาดน้ำ” พูดเหมือนหาง่าย แต่จริง ๆ หายากมาก เพราะบ้านเมืองสมัยนี้ เราอาจจะหาบ้านสักหลังที่ใช้ถ่ายได้ แต่รอบด้าน ใช้ถ่ายไม่ได้ เราสร้างเองดีกว่า เลยเซตเลยตลาดน้ำทั้งตลาดแล้วก็สถานที่ใหญ่ ๆ อย่างโรงเก็บเครื่องบิน สนามบิน
ส่วนบ้านเรือนยุค ร. 6 ที่เป็นบ้านไม้ทั้งหมด เราดัดแปลงตลาดเก่าสุพรรณ เราเข้าไปหามุมแล้วเซ็ตบางส่วนเข้าไปเพิ่มเติม ร้านที่เป็นแหล่งรวมของดวง กับเพื่อน เพื่อให้ได้ภาพสังคมของนายดวง
ฉากบินโชว์ เป็นฉากใหญ่อีกฉากได้รับความร่วมมือจากกองทัพบก กองพันที่นครสวรรค์ แต่เพื่อให้ได้ตามรีเสิร์ชมา เราต้องตัดผ้าเต๊นท์ขึ้นมาเองเลย เราต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เราสั่งตัดชุดทหารเป็นร้อยชุด สำหรับใช้ถ่าย 2 ฉากใหญ่ ที่มีนักแสดงและตัวประกอบสมทบเยอะ คือ ฉากสนามบินที่ลุ่มถ่ายทำกันที่ปากช่อง ต้องไปเซ็ตกองการบิน ฉากฝนตก ปักตะไคร้ แล้วค่อยย้ายมาที่ จ. นครสวรรค์ ส่วนฉากระเบิดเป็นการถ่ายจริงเลย”
เซ็ตสถานที่เพื่อใช้ถ่ายทำนานหลายเดือน ถ่ายได้เฉพาะตอนเช้า กับตอนเย็น เพราะเราอยากได้แสงสวย ช่วงเวลาตี 5 — 10 โมง กับแสงหลังบ่าย 3 — 6 โมงเย็น ยกเว้นฉากภายใน บางช่วงเราปลุกทีมงานมาตี 4 ตี 5 เพื่อถ่ายแสงเช้า ต้องรีบถ่ายก่อนแสงมันแข็ง พอแดดแรงเราก็ค่อยเบรก ซึ่งมันก็คุ้มค่า
ทุกอย่างที่ทำมา ก็เพราะอยากให้ “รักสยามเท่าฟ้า” เป็นหนัง 1 เรื่องที่พูดถึงเมืองไทยในอดีตที่สวยงาม เรายอมทุกอย่างเพื่อให้หนังมันสวย ข้อสำคัญ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้องฟ้า ความฝัน การบิน ความรัก ความสามัคคี ซึ่งภาพที่ได้มันก็คุ้มค่า
ตั้งใจไว้ว่า อยากให้เรื่องนี้ สวยในทางภาพ ฝันไว้อยากพาคนดูย้อนไปสมัย ร.6 เห็นเมืองไทยสมัยนั้น เห็นบ้านเมืองเราสมัยก่อน บริสุทธิ์ สวยงาม น่าอยู่ขนาดไหน ” ปื้ด ธนิตย์ กล่าวปิดท้าย
ถ้าไม่บินจริง ก็ไม่ได้สัมผัสท้องฟ้า
“รักสยามเท่าฟ้า” ถ่ายทำภาพท้องฟ้าสยามประเทศ ด้วยการบินขึ้นไปถ่ายทำจริงทั้งหมด เพื่อนำภาพทิวทัศน์ความงาม บรรยากาศบ้านเมืองไทยจากมุมมองบนฟากฟ้า ให้ผู้ชมได้สัมผัสความงาม ภูมิประเทศทิวทัศน์ ประเทศไทยที่สวยงามเลื่องชื่อไปทั่วโลก
และบุคคลสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการบินขึ้นไปบันทึกภาพท้องฟ้าและเครื่องบิน เพื่อใช้ในการถ่ายทำตลอดทั้งเรื่อง ทอม เคลย์เตอร์ ( Tom Claytor ) นักบินเดี่ยวคนแรกที่ทำสถิติขับเครื่องบินรอบโลก
ปื้ด ธนิตย์ เล่าถึง ทอม เคล์ยเตอร์ ว่า “ทอมประทับใจว่า ไม่ค่อยมีหนังพูดเรื่อง การรักการบิน และอยากจะบินให้ได้ อย่าง “รักสยามเท่าฟ้า” เขาจึงยินดีเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการบินทั้งหมดของหนัง ทำให้เรามั่นใจในความสมจริงของหนัง
ถ่ายทำช็อทท้องฟ้าทั้งหมดในเรื่องนี้ เป็นฝีมือการบินของทอม เขาพากล้องเราขึ้นไปถ่าย ท้องฟ้า เมฆ ฉากหลัง ฉากรบ ฉากฝึกบิน ช่วยเรื่องข้อมูลจริง ความถูกต้อง เครื่องขึ้นไปอย่างไร นักบินต้องมีมุมมองอย่างไร เหมือนเป็นที่ปรึกษาด้านการบิน โรงเก็บเครื่องบินเราก็ยึดจากข้อมูลตามประวัติศาสตร์
“รักสยามเท่าฟ้า” เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำท้องฟ้าด้วยการบินจริงทั้งหมด เพื่อถ่ายทอดบ้านเมืองไทยในอดีตที่สวยงามร่มเย็น สมความตั้งใจของเรา ที่จะถ่ายทอดภาพเมืองไทยในอดีตที่สวยงาม วิถีชีวิต มุมมองจริงจากน่านฟ้าเมืองไทย”
ทอม เคลย์เตอร์ นักบินเครื่องบินเดี่ยวรอบโลก เชื้อสายอเมริกันที่เป็นที่รู้จักของชาวไทยจากโฆษณาเบียร์สิงห์เมื่อหลายปีก่อน “รักสยามเท่าฟ้า” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ไม่มีใครคาดว่า ทอมจะมาเป็นส่วนสำคัญในหนังไทยเรื่องนี้ ทอม เคลยเตอร์ กล่าวถึงความรู้สึกที่มีกับหนังเรื่องนี้ ว่า
“ภาษาอังกฤษมีสุภาษิต “ตะวันตก คือ ตะวันตก ตะวันออก คือ ตะวันออก ไม่มีทางบรรจบกันได้” ผมรู้ว่า คนตะวันตกคิดแตกต่างยังไงกับคนตะวันออก หนังเรื่องนี้เป็นโอกาสที่ดีของผม ได้สัมผัส เห็นลึกถึงวัฒนธรรมไทย การเดินทางของผม ไม่ใช่แค่ให้ถึงจุดหมาย แต่เป็นการได้เรียนรู้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของคนอื่นๆด้วย
หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับ ความภูมิใจของคนไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ก่อตั้งกองการบินขึ้นมา คนไทยหลายคนอาจจะไม่รู้ ในเวลานั้น การบินเป็นสิ่งอันตรายมากๆ เพราะเครื่องบินสร้างขึ้นด้วยไม้ นักบินกลุ่มแรกจึงเป็นฮีโร่ที่แท้จริง พวกเขาต้องเข้มแข็งทั้งหัวใจและร่างกายได้เข้ามามีส่วนเรื่องนี้ ได้เห็น ได้สัมผัสเศษเสี้ยวสักเล็กน้อยในชีวิตของเขาเหล่านั้น จึงรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ผมได้มีส่วนร่วม
วันที่ไปกองถ่ายวันแรก ผมขนลุกตั้งทั้งแขน (หัวเราะ) ผมคิดว่า คุณธนิตย์กำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ มันท้าทายพอๆ กับการบินครั้งแรก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาทำหนังเรื่องนี้ได้ครั้งเดียว เหมือนกับคุณบินครั้งแรกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
ฉากบินร่อน เลียบแม่น้ำเป็นฉากโปรด ชอบที่สุดถึงที่สุดของผมเลย ผมบินมาทั่วประเทศไทย ผมรู้ว่า ประเทศไทยสวยมากขนาดไหน เราบินกันอยู่ 11 ชั่วโมง ปากช่อง นครสวรรค์ อุ้มผาง สุพรรณบุรี ประเทศไทยสวยมาก ๆ กว่าจะถ่ายเก็บภาพท้องฟ้า สถานที่เหล่านั้นได้ มันเป็นช่วงเวลาที่มีอุปสรรคอยู่มาก แต่สุดท้ายแล้ว ก็ออกมาเป็นฉากที่สวยงามในหนัง และทำให้หนังเรื่องนี้สมบูรณ์ ผมภูมิใจกับฉากเหล่านั้นมาก
อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมรักหนังเรื่องนี้ก็เพราะตัวละครที่ศรรามเล่น เป็นแบบ “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” เขาลูกทุ่งมาก ๆ ( ทอม มีฉายาว่า นักบินลูกทุ่ง ) แต่เพราะเขามีความฝัน ผมคิดว่า หนังเรื่องนี้กระตุ้นคนหนุ่มสาวของไทย จงเชื่อในพลังความฝันของคุณ ไม่ใช่แค่การบิน แต่กับทุกอย่าง ทำงานบริษัท เป็นหมอ ถ้าคุณมีความฝัน จงทำความฝันของคุณ
“รักสยามเท่าฟ้า” พูดถึงช่วงเวลาที่สวยงามของสยาม ความรัก ความสามัคคี สิ่งที่รู้ว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ก็พยายาม เหล่านี้ทำให้การบินครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศสยามได้ ”
ผลงานผู้กำกับฯ ธนิตย์ จิตนุกูล ( ปื๊ด )
ปี 2528 “ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย” ร่วมกับ อังเคิล
ปี 2529 “ปลื้ม” ร่วมกับ อังเคิล
ปี 2530 “อย่าบอกว่า เธอบาป”
ปี 2534 “สยึมกึ๋ย”
ปี 2538 “สยึมกึ๋ย 2”
ปี 2539 “รักเอย”
ปี 2540 “เสือโจรพันธุ์เสือ”
ปี 2542 “สวัสดีบ้านนอก”
ปี 2543 “บางระจัน”
ปี 2545 “ขุนแผน”
ปี 2546 “ขุนศึก”
ปี 2550 “รักสยามเท่าฟ้า”
ตัวละครหลัก
ดวง เด็ดฉิมพลี รับบทโดย “ศรราม เทพพิทักษ์”
“ก็นางฟ้าอยู่สูง ไอ้ดวงเลยต้องบินขึ้นไปหา”
หนุ่มไทย ผิวดำแดง บุคลิกชายไทย ใจซื่อ ก่อนเป็นทหาร ดวงเป็นไอ้หนุ่มท้องนาธรรมดาคนหนึ่ง แต่มีความฝันทะเยอทะยานอยากเป็นนักบิน ดวงสมัครเข้ามาเป็นทหารเพราะหวังจะได้บิน แต่ยศมันก็น้อย แค่ชั้นประทวน ดวงจะเป็นชั้นประทวนคนแรกที่ได้ติดปีกขึ้นบินให้จงได้
หนุ่ม ศรราม พระเอกหนุ่ม ระดับขวัญใจมหาชน ติดอันดับหนึ่งในใจผู้ชมมายาวนาน ด้วยบทบาทและการวางตัว รับบท ไอ้ดวง พลทหารชั้นประทวนคนแรกที่เป็นนักบินแห่งกองบินสยาม
“พระเอกเรื่องนี้ ไม่ใช่ผมนะ พระเอกคือเครื่องบิน ทำงานเรื่องนี้เหนื่อย แต่ก็ภูมิใจ ตัวละครที่ผมแสดง นายดวง พลทหารคนแรกที่ได้เป็นนักบินนี่ก็มีตัวจริง แต่หนังนำมาปรับ เป็นคนธรรมดา ๆ ที่มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นการบินขึ้นมาได้ในประเทศไทยได้ เริ่มต้นมีเครื่องบินลำแรก
พี่ปื้ดเอาเราไปเก็บที่นครสวรรค์ 4 เดือน ผมจำได้ ใช้ชีวิตที่กองถ่ายเรื่องนี้สนุก โรงเก็บเครื่องบิน เครื่องบินที่เห็นในหนังนั่นเขาทำขึ้นมาหมดเลยนะ เราถ่ายที่นครสวรรค์นั่งรถตู้ไป แต่ทอมบินมาจากพัทยา ทอมจะโทรบอกว่า เวลานี้นะ ทอมจะบินเลียบมา วนตรงนี้ เวลานี้ทอมจะบินถึงตรงไหน โห เดินทางมากองถ่ายอย่างเท่ห์เลย
หนังเราจุดเด่นคือ ภาพสวย บรรยากาศในหนังน่ารัก สดใส สวยสดเหมือนสมัยก่อน บ้านเมืองไม่มีมลภาวะ ธรรมชาติสวย สดใส อย่างที่ไม่ได้เห็นกันทุกวันนี้ อยากให้ดูกัน”
ประวัตินักแสดง
ชื่อ : ศรราม เทพพิทักษ์ (หนุ่ม)
วันเกิด : 2 สิงหาคม 2516 ส่วนสูง : 180 ซม. หนัก : 70 กก.
การศึกษา : ปริญญาตรี จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รางวัล : ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง พ.ศ. 2542 เรื่อง “แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว”
ผลงานเขียนหนังสือ “ตู้กับข้าว”
ผลงานภาพยนตร์ ปักษาวายุ (2547)
แตก 4 รักโลภ โกรธ เลว (2542)
ฝันติดไฟหัวใจติดดิน (2540)
รักไม่ถึงร้อย
น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ
หัวใจใครจะรู้
ฮัลโหล ขอรบกวนหน่อย
แดดร่มลมแรง ฉันหรือเธอที่เปลี่ยนไป
พันตรี หลวงกาจยุทธการ รับบทโดย “ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย”
“...ข้าพเจ้าคงไม่ได้ฝึกให้พวกเขา เพียงขับเครื่องบินเป็น แต่ข้าพเจ้าสอนให้พวกเขารู้ว่า ความกล้าของทหารไม่ใช่มีอยู่แค่ในสนามรบ..."
หนึ่งในสามนายทหารที่ไปเรียนการบินที่ฝรั่งเศสจนสำเร็จเป็นนักเรียนรุ่นแรกของสยามประเทศ ต่อมาได้บุกเบิกก่อตั้งกองการบินแห่งสยาม จนสามารถฝึกนักบินหน่วยแรกขึ้นมาได้ บุคลิกเป็นคนรุ่นใหม่ สุขุมลึกซึ้ง ไม่ถือยศศักดิ์ เป็นผู้นำที่ลูกน้องรักเคารพยิ่ง
ขจรศักดิ์ นักแสดงที่มักรับบทสร้างสีสัน มักรับบทเด่น กลับมาคราวนี้ ในบทเด่นที่มีสิทธิ์เรียกความประทับใจจากผู้ชมอีกครั้ง
“ภูมิใจเนอะ เห็นหนังแล้ว หายเหนื่อย อยากให้คนไทยได้ดูกัน เรื่องดี ๆ ของบ้านเรา ไม่ดูเรื่องแบบนี้จะไปดูเรื่องแบบไหน
ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฟังเรื่องจากพี่ปื้ด ผมก็ตัดสินใจรับเลย ไม่ต้องคิด ต้องขอบคุณหนุ่ม ศรรามด้วย พี่ปื้ดอยากได้ นักแสดงคู่กันที่ดู นัยว่า เหมือนคู่โรเบิร์ด เรดฟอร์ด กับ พอล นิวแมน ทีนี้พอได้หนุ่ม ศรราม ก็เลยต้องหาคนหล่อสูสี่กัน (ฮา) จริง ๆ คือ เห็นพี่ปื้ด หาคู่นักแสดงที่ดูขบถ ๆ หน่อย ดูเป็นคนรั้น คนดื้อของยุคสมัยนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้ 2 คนนี้ มีความคล้ายกัน แต่ต่างวัยอยู่ ก็เลยนึกถึงผม เคยทำงานด้วยกัน และ ผมชอบบทด้วย บทหลวงกาจยุทธการมีความเด็ดเดี่ยว ดื้อรั้น ในตัวเอง และเป็นตัวละครที่มีบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ด้วย เราได้รับบทบาทนี้ก็ภูมิใจนะ
ตอนแรกพี่ปื้ดจะให้ติดหนวด แต่ผมขอไว้หนวดเองดีกว่า ดูจริงกว่ากัน พี่ปื้ดเลยต้องรอเปิดกล้องช้าไปนิด รอผมไว้หนวด (หัวเราะ) แปลกดีนะ ผมรับบทเป็นนักบิน เออ ผมก็สังเกตตัวเอง เล่นเป็นคนในเครื่องแบบมาหลาย ๆ เรื่องเลย แต่เรื่องนี้ เท่ห์มาก คุ้มเหนื่อย คุ้มที่รอคอย เป็นหนังที่เราภูมิใจ และบทก็ถูกใจมาก”
ชื่อ : ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย (จอน)
เกิด พ.ศ. 2509
การศึกษา ปริญญาตรี การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผลงานภาพยนตร์ รักสยามเท่าฟ้า (2550)
ลาง-หลอก-หลอน (2549)
ชื่อชอบ ชวนหาเรื่อง
102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547)
ยุวชนทหาร... เปิดเทอมไปรบ (2543)
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน
รักแรกอุ้ม (2532)
พริกขี้หนูกับหมูแฮม (2531)
ปิแอร์ ปูร์รอง รับบทโดย “ทอม เคลย์เตอร์”
ช่างเครื่องและนักบินฝีมือดีจากประเทศฝรั่งเศส เดินทางมาสยามเพื่อควบคุมการประกอบเครื่องบินรุ่นแรก ปิแอร์เคยเป็นครูการบินของหลวงกาจยุทธการ จึงมาช่วยในการฝึกทหารรุ่นแรกที่เรียนการบินสยาม
บุคลิกเป็นคนมากประสบการณ์ เข้าใจการบินอย่างลึกซึ้ง การเป็นครูฝึกทำให้เขามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ทอม เคล์ยเตอร์ นักบินเครื่องบินเดี่ยว รอบโลก เชื้อสายอเมริกันที่เป็นที่รู้จกของชาวไทยจากโฆษณาเบียร์ยี่ห้อหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน “รักสยามเท่าฟ้า” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา
“ผมพูดเสมอว่า ผมเป็นนักบิน ผมไม่ได้เป็นนักแสดง แต่หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับการบิน ทำให้ผมตื่นเต้นมาก ผมจึงอยากร่วมทำงานกับหนังเรื่องนี้ทันที
นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้แสดงหนัง ผมอยากทำมันด้วยหัวใจ ประสบการณ์ทำหนังเรื่องนี้ หลากหลายมาก สนุกมาก บ้ามาก สำหรับผม มันเป็นเกียรติ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการได้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์
สิ่งที่ผมหวังคือ คนตะวันตกที่อยากจะเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับวิถีตะวันออก คือ ถ้าเราทำหนังมันจะน่าสนใจกว่าที่จะได้เรียนรู้กัน ฝรั่งจะได้เรียนรู้ คำว่า “ใจเย็น ๆ”
มีสุภาษิตอีกอัน การเดินทางสำคัญกว่าจุดหมาย journey is more important than destination การได้มีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้ สำหรับผมเป็น big journey ได้เรียนรู้เยอะมาก
บางทีเราก็ไม่เข้าใจหรอก แต่มันทำให้หนังสนุกขึ้น เพราะหนังมันเกี่ยวกับการมาพบกันระหว่างตะวันออก กับตะวันตก เหมือนกัน เพราะเครื่องบินเป็นของตะวันตกที่แปลกปลอมเข้ามาในตะวันออก
ผมอยากบอกคนหนุ่มสาว ไม่ใช่แค่คนไทย แต่เด็ก ๆ ทั่วโลก เมื่อคุณมีความฝัน อย่ากลัวที่จะทำ มันสำคัญมาก อย่าปล่อยมันไป ผมคิดว่า บางทีเด็กไทยขี้อาย ไม่เชื่อมั่น แล้วก็มีสีหน้าตื่นๆ ไม่มั่นใจ “ดวง” (ศรราม) ในหนัง เขาเป็นหนุ่มลูกทุ่ง ทำหน้าแบบเดียวกันเลย แต่เขากล้าจะเชื่อความฝัน เพราะเขาเป็นนักฝันแล้วลงมือทำ
ผมถึงบอกว่า จงใส่ใจความฝันของคุณ เพราะมันมีพลังมาก ถ้าคุณมีความฝัน ก็จงเชื่อมั่นมัน นั่นเป็นเหตุผลที่ผมรักหนังเรื่องนี้”
ชื่อ ทอม เคลย์เตอร์
อายุ 45 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ จาก Colby College ระหว่างเรียนปริญญาตรี ฝึกการบิน และ หลังเรียนจบ ก็ขับเครื่องบินเพื่อผลิตสารคดีให้เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค
ปัจจุบัน : กินเนสต์บุ๊คออฟเรคคอร์ด เตรียมบันทึกให้เป็น “นักบินเดี่ยวคนแรกขับเครื่องบินรอบโลกโดยนำเครื่องบินลงจอดครบทั้งเจ็ดทวีป”
มาลัย รับบทโดย “วิมุตติพร ทองมาก”
“...ผู้หญิงไม่ได้อยากรู้แต่เรื่องปักผ้าหรือร้อยมาลัย เรื่องเรือบินนั่น ฉันก็สนใจมิใช่น้อย..."
ลูกสาวคนเดียวของพระธำรง สวยบอบบางลูกผู้ดี โดนเลี้ยงราวไข่ในหิน แต่เป็นคนไม่ถือตัว ค่อนข้างเอาแต่ใจ ลึก ๆ เป็นคนดื้อหัวสมัยใหม่ ชอบและสนใจเครื่องยนต์ และการบิน ต้องการทำอะไรหลุดจากกรอบระเบียบที่ถูกควบคุมตลอดเวลา
นักศึกษาสาวจากรั้วธรรมศาสตร์ เข้าสู่งานแสดงหนังใหญ่เรื่องแรก ด้วยบทบาทคุณหนู ที่สวยสง่า ราวนางฟ้า เป็นหญิงในฝันของทหารทั้งกอง โดยเฉพาะพลทหารดวง ที่ได้แต่มองชะเง้อ คุณมาลัยอยู่ทุกเย็น ละแวกริมรั้ว แล้วคุณมาลัย ก็ผ่านมายิ้มหวานให้ไอ้ดวงได้ชื่นใจ
“ ในเรื่องเป็นคุณหนู เอาแต่ใจ ผู้หญิงสมัยนั้น สนใจเรื่องเย็บปักถักร้อย แต่เราเป็นพวกหัวทันสมัย ชอบเรื่องเครื่องยนต์กลไก เครื่องบิน หัวทันสมัยกว่าผู้หญิงคนอื่น เป็นผู้หญิงคนเดียว แต่บุคลิกจะกล้า ๆ ไม่ค่อยเรียบร้อยเป็นกุลสตรีนัก
เล่นหนังเรื่องแรก ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาปีหนึ่งอยู่เลยค่ะหนังก็ถ่ายไปเรื่อยๆ เรียนไปด้วย นานเหมือนกัน พยายามให้เต็มที่ ได้ประสบการณ์หลายอย่าง ชีวิตที่กองถ่ายทำงานกันจริงจัง แต่สนุกมาก
ได้แต่งชุดโบราณ ขับรถโบราณ ไปอยู่ในบรรยากาศย้อนยุค ชอบนะ แต่งชุดโบราณก็ชอบ สวยดี ยากตรงทำผม เพราะมันต้องทำเป็นเกลียวน่ะคะ พอทำผมแล้วพี่เขาจะไม่ให้เรานอน เพราะนอนแล้วผมจะเสียทรง เราก็ง่วงก็ง่วง นอนก็ไม่ได้ นอนคว่ำหน้าก็ไม่ได้ เดี๋ยวเมคอัพเลอะ ลำบากเหมือนกัน พี่หนุ่มก็ชอบแซวเรื่อย ยั่วแอ้ แต่งหน้าทำผมนานมาก เพราะมันต้องม้วนให้ผมเป็นลอน แล้วเป็นคนที่ผมคลายตัวเร็ว ก็ต้องมาย้ำ ๆ ให้มันอยู่เป็นลอน แล้วเจ็บ ต้องตื่นแต่เช้ามาทำแต่สวยคุ้มค่า ทุกเช้าที่ตื่นเลย
ตอนแรกไม่คิดว่าจะได้เล่นกับพี่หนุ่ม- ศรราม ตื่นเต้นมาก วันแรกคิดไปต่าง ๆ นา ๆ พี่เขาจะเป็นยังไง พอเจอตัวจริง ๆ พี่เขาก็ตลก ๆ ฮา ๆ ใจดี แต่บางทีก็รู้สึกได้ว่า เวลาจริงจัง พี่หนุ่มเขาเป็นคนจริงจังมากนะ เวลาเล่นๆ ฮาๆ เขาแซวคน แกล้งคนไปเรื่อย แต่เขารู้เวลาว่าตอนนี้ต้องทำงาน เขาก็เป็นคนทำงานจริงจังมาก”
ชื่อ : วิมุตติพร ทองมาก (แอ้)
วันเกิด 29 /8/2526
ส่วนสูง 165 ซม. น้ำหนัก 43 กก.
การศึกษา ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
งานอดิเรก : ดูหนัง ว่ายน้ำ ฟิตเนต
ผลงาน ถ่ายโฆษณาเด่น ๆ หลายชิ้นทั้งเป็ปซี่, แสดง MV
ร้อยโทรัตน์ รับบทโดย “วุฒิชัย ไหมกัน”
"...ตอนชั้นรู้จักกล้องถ่ายรูปใหม่ๆ ชาวบ้านเขาก็ว่า ชั้นจะเก็บวิญญาณพวกเขาไปใส่แผ่นกระดาษ มาคราวนี้เป็นเครื่องบินก็...เฮ้อ..."
หนึ่งในทหารสัญญาบัตรที่ฝึกบินรุ่นเดียวกับดวง เป็นหนอนหนังสือ ชอบอ่านตำรา เข้ามาฝึกบินด้วยความสนใจสิ่งแปลกใหม่ โดยปิดบังความจริงที่ตนมีปัญหาสายตา แต่ก็มุ่งมั่น ตั้งใจจริงจะเป็นนักบิน เป็นนักเล่นกล้อง จึงเป็นตากล้องประจำกองบิน
“บทร้อยโทรัตน์ เป็นคนที่มีปัญหาด้านสายตา แต่ก็ฝันอยากเป็นนักบิน เลยเป็นแรงกดดันให้เราต้องทำให้ได้ ดวงก็ต่อสู้เพราะตัวเองยศน้อยกว่าคนอื่น แต่ร้อยโทรัตน์ ก็ต้องต่อสู้ พยายามไม่ให้คนรู้ว่า ตัวเองสายตาไม่ดี แต่สังเกตดูในหนังเรื่องนี้ ไม่มีคนที่เก่งพร้อม สมบูรณ์พร้อม แต่ทุกคนพยายามฝึกฝนเอาชนะความกลัวของตัวเองให้เต็มที่ เป็นสิ่งดีนะครับ”
ชื่อ : วุฒิชัย ไหมกัน (โหน่ง)
วันเกิด : 27/09/2522
ผลงานภาพยนตร์ ขุนแผน (2545) โก๋หลังวัง (2545)
ร้อยเอกอัษฎา รับบทโดย “กฤษณ์ สุวรรณภาพ”
“ถ้าจะขึ้นไปบินบนฟ้า ต้องมีศักดิ์เทียบเท่าเทวดา”
นายทหารราชนิกูลสูงศักดิ์ หนึ่งในทหารสัญญาบัตรที่ฝึกการบินรุ่นเดียวกับดวง บุคลิกจริงจังกล้าหาญ แต่เลือดร้อนและถือดี ชอบการแข่งขัน ถือตัวว่า ยศศักดิ์สูง เห็นดวงเป็นคู่แข่งที่ต้องการเอาชนะให้ได้ แต่อย่างไรก็เป็นลูกผู้ชายมีน้ำใจนักกีฬา
นักแสดงที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี หล่อมาดเข้ม เหมาะกับบทบาท นายทหารราชนิกูล ผู้พรั่งพร้อมทั้งฐานะ และยศศักดิ์ จึงความเจ้ายศเจ้าอย่างในตัว รักการแข่งขัน พยายามเอาชนะดวง
“จริง ๆ เรื่องนี้เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจ สำหรับคน ๆ ที่อยากจะก้าวไปสู่ความฝัน หรือเราทุกคนที่คิดอยากทำอะไรแล้วยังไม่ได้ทำ หนังเรื่องนี้มันเป็นแรงบันดาลใจได้ แล้วการเดินทางของหนัง กว่าจะเสร็จออกมาก็ไม่ผิดอะไรกับ ตัวละครดวง ที่อยู่ในหนัง หนังที่ออกมาแล้ว ทุกอย่างมีคำตอบ ดวงไม่ได้มาในเส้นทางนี้ แต่เขาก็ไปตามความฝันเขาได้ ทุกคนที่ทำงานด้วยกัน พวกเราก็พูดกันว่า ภูมิใจนะ เป็นหนังการบินเรื่องหนึ่งที่เรามีส่วนร่วมด้วย และฝากปิดท้าย บอกคุณผู้ชมนิดว่า จริง ๆ ผมก็ไม่ร้ายอย่างในหนังหรอกนะครับ”
ชื่อ : กฤษณ์ สุวรรณภาพ (วาม)
วันเกิด : 13/10/2517 ส่วนสูง : 180 ซม. น้ำหนัก : 75 กก.
ผลงานภาพยนตร์ เยาวราช (2546) แอบคนข้างบ้าน (2546) พระอภัยมณี (2545) บางระจัน (2543)
ร้อยตรีดำเกิง รับบทโดย “กฤษฎา พัชรพิพัฒน์”
"...ปิแอร์!!!!! ไอ้เครื่องบินนี่ เบรคมันอยู่ตรงหนายยยย!!!???..."
หนึ่งในสี่ทหารสัญญาบัตรที่ฝึกบินรุ่นเดียวกับดวง ตัวใหญ่ เสียงดัง บุคลิกแสดงออกดูนักเลง จริงจังเป็นผู้ใหญ่กว่าเพื่อน ๆ ในกลุ่ม
บุคลิกคมเข้ม เก่งทั้งภาษาไทย อังกฤษ มีผลงานการแสดงที่ประเทศมาเลย์เซียด้วย
“ตัวละครนี้ตัวนี้ เป็นชาวบ้าน รับราชการจนได้เป็นร้อยตรี คอยดูแล ช่วยเหลือดวง เพราะเหมือนตัวเองตอนเด็ก ๆ เป็นคนค่อนข้างยุติธรรม ไม่ชอบเห็นใครโดนเอาเปรียบ เป็นคนกลัวความสูงครับ แต่ว่ามาเป็นนักบิน เขาก็ทุ่มเทตั้งใจ พยายามเต็มที่เพื่อให้เป็นนักบินให้ได้
ทำงานเรื่องนี้ได้เพื่อน ๆ เยอะ ประสบการณ์สนุกสนานมาก ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ ฉากกองการบิน เป็นเดือน ๆ อยู่กินนอน เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก และผลงานเสร็จออกมาก็น่าภูมิใจ”
ชื่อ : กฤษฎา พัชรพิพัฒน์ (ญา)
เกิด 30 เมษา 2516 ส่วนสูง : 175 ซม. น้ำหนัก 72 กก.
ผลงานภาพยนตร์ ปักษาวายุ (2546) รักสยามเท่าฟ้า (2550)
พันตรีทวยเทพ รับบทโดย “ผดุงศักดิ์ กิจวานิชขจร”
“เมื่ออยู่บนฟ้า ไม่มีขุนนาง ไม่มีทหารเลว บนนั้นจะมีแต่นักบินแห่งสยาม”
นายทหารราชนิกูล มีจิตใจรักการบิน บุคลิกคนรุ่นใหม่ การศึกษาสูง หัวก้าวหน้า ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศ
ไม่ใช่แค่ในหนังที่ พันตรีทวยเทพ เป็นคนใจดี คบหาผู้คนไม่เลือกชนชั้น ในชีวิตจริง ผดุงศักดิ์ หรือ โม้ง เป็นอาจาร์ยสอนหนังสือ มีความเป็นครู จิตใจเปิดกว้าง ชอบเล่า ชอบอธิบาย ให้ความรู้ ผู้คนรอบข้างเสมอ
“พวกเราใช้เวลานาน 1 เดือน เตรียมตัว เตรียมการแสดง ได้เรียนรู้พฤติกรรมของตัวละคร การตีความบท ปูมหลังของตัวละคร การแสดงออกแตกต่างกัน โลเคชั่นมีอยู่ 3 ที่ ครับ ที่แรกคือ ปากช่อง เป็นศูนย์วิจัยพืชไร่ของกระทรวงเกษตร เซ็ทเป็นกองการบิน มีโรงเรือน โรงนอน เหมือนจริงเลยครับ ส่วนที่ นครสวรรค์ เป็นกองการบินเหมือนกัน เป็นโรงเก็บเครื่องบิน และสุพรรณบุรี เป็นบ้านของดวง ฉากวัด และฉากตลาด
“รักสยามเท่าฟ้า” เป็นหนังที่ดูแล้วอมยิ้ม จับประวัติความเป็นมาของกองการบิน มุมมองต่อสู้กับความเชื่อของคนอดีต พอได้มีโอกาสมาเล่นหนังเรื่องนี้ ผมก็รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดการก่อตั้งกองการบินครับ”
ชื่อ : ผดุงศักดิ์ กิจวานิชขจร (โม้ง)
ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาอาชญวิทยา และรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง ม. สวนสุนันทา และ ม. เกริก
ผลงาน พิธีกรรายการเที่ยวละไมไทยแลนด์ ละคร “ปริศนา”
ข้อมูลจริง การก่อตั้งการบินไทย
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2446 พี่น้องสกุลไรท์ (The Wrights) ได้ทำการบินใช้เครื่องยนต์ เป็นผลสำเร็จ นับเป็นการริเริ่มการบินอย่างแท้จริงของโลก ต่อจากนั้นนานาประเทศได้กระตือรือร้น ที่จะทำการบินโดยใช้เครื่องยนต์
หลังจากนั้น 8 ปี คือ เมื่อวันที่ 2 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 นักบิน ชาวเบลเยี่ยมชื่อ ฟัน เดน บอร์น (Van den Born) ได้นำเครื่องบินออร์วิลล์ ไรท์ (Orville Wright) มาบินแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สนามม้าราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน
ประเทศไทยก็มีความสนใจและเห็นความสำคัญที่จะมีเครื่องบินไว้ใช้ในราชการ เพื่อการ ป้องกันประเทศและการคมนาคมทางอากาศ ดังนั้นในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 ประเทศไทย จึงได้ส่งนายทหาร 3 นาย คือ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สิน ศุข) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังก้าวหน้าทางด้านการบินยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ ในขณะนั้น
นายทหารทั้ง 3 เมื่อสำเร็จการศึกษาวิชาการบิน ได้ไปดูงานในที่ต่างๆ ในยุโรป และเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 พร้อมด้วยเครื่องบินที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อ จำนวน 8 เครื่อง คือ เครื่องบินแบบเบรเกต์ (Breguet) 4 เครื่อง และแบบนิเออปอรต์ (Nieuport) 4 เครื่อง นับเป็นนักบินและเครื่องบินชุดแรกของประเทศไทยและได้ยกย่องนายทหารทั้ง 3 นาย ว่าเป็น “บุพการีทหารอากาศ”
กระทรวงกลาโหมได้มอบกิจการบินนี้ให้อยู่ในบังคับบัญชาของกรมจเรการช่างทหารบก โดยสร้างโรงเก็บเครื่องบินไว้ที่หลังโรงเรียนพลตำรวจ ปทุมวัน ปัจจุบัน คือ บริเวณด้านหลังของ กรมตำรวจ ปทุมวัน และใช้สนามม้าราชกรีฑาสโมสรส่วนหนึ่งเป็นสนามบิน เรียกว่า สนามบินสระปทุม นับเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย
แต่ เนื่องจากสนามบินสระปทุม มีเนื้อที่จำกัด และเป็นที่ลุ่ม ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสม ทางราชการจึงได้คิดหาสถานที่ใหม่ที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นพื้นที่ดอน น้ำไม่ท่วม ไม่ห่างไกลจากพระนคร และเป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต โดยมี นายพันโท พระเฉลิมอากาศ หัวหน้านายทหารนักบินชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ทำหน้าที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเป็นสนามบินถาวร
และจากการบินสำรวจทางอากาศได้เห็นที่นา ซึ่งเป็นที่ดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขนเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจึงได้สำรวจทางพื้นดินได้ความว่า พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า "ดอนอีเหยี่ยว" เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณที่ดอนนี้ ทั้งยังมีทางรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน พื้นที่นี้อยู่ห่างจากสนามบินสระปทุมไปทางเหนือใช้เวลาบินประมาณ 13 นาที ( ด้วยเครื่องบินเบรเกต์สมัยนั้น ) คิดเป็นระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรเศษ
บริเวณนี้เป็นที่นามีหลายเจ้าของ เช่น ที่นาของ หมื่นหาญ ใจอาจ ซึ่งท่านผู้นี้มีที่นาจำนวนมาก ได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้สร้างเป็นวัด สมัยนั้นยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอนอีเหยี่ยว" ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกองบินขึ้นที่บริเวณนี้ และเรียกกันว่า "ดอนเมือง" วัดนี้จึงถูกเรียกว่า "วัดดอนเมือง" ตามชื่อสนามบินไปด้วย นอกจากนั้นยังมีที่นาของ พระยาอร่ามมณเฑียร และราษฎรคนอื่นๆอีกหลายเจ้าของ บางส่วนเป็นที่ดินของกรมรถไฟหลวง นายพันโท พระเฉลิมอากาศ ได้รายงานขึ้นตามลำดับชั้น เพื่อขอจัดสร้างสนามบินถาวรขึ้นที่บริเวณนี้ และทางกระทรวงกลาโหม จึงได้ทำการจัดซื้อ และขอเวนคืนพื้นที่บางส่วน และมีผู้บริจาคให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการบางส่วน
ซึ่งในระยะเวลาต่อมา กรมเกียกกายทหารบกได้ดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็นสนามหญ้า ที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้น-ลงได้ พร้อมทั้งสร้างโรงเก็บเครื่องบิน และอาคารสถานที่ทำการตามความจำเป็น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2457 กรมเกียกกายทหารบกได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ และส่งมอบให้กรมจเรการช่างทหารบก พร้อมกับได้เรียกชื่อสนามบินนี้ว่า "สนามบินดอนเมือง"
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2457 นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย นำเครื่องบินจากสนามบินสระปทุมมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์ ในตอนเช้า
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้ง กองบินทหารบกขึ้น และย้ายไปเข้าที่ ตั้งถาวรที่สนามบินดอนเมือง นับเป็นรากฐานที่มั่นคงของกิจการการบินของไทยที่ได้เริ่มต้นขึ้น ณ ที่นี้ และกองทัพอากาศได้ถือเอาวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกกองทัพอากาศ
ในปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้จัดตั้งกอง การบินพลเรือนขึ้นดำเนินงานเกี่ยว กับการบินระหว่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2491 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรมการบินพลเรือน ได้ปรับปรุงสนามบินดอนเมือง และเรียกชื่อว่า “ท่าอากาศยานดอนเมือง” จัดเป็นท่าอากาศยานสากล จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ” ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสีกัน เขตดอนเมือง ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร
ดอนเมือง ทำหน้าที่เป็นสนามบินที่เป็นดังจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการจราจรทางอากาศไปยังจุดต่าง ๆ ของโลกมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะ เป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็น จุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และพัสดุไปรษณียภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดี
ด้วยตลอดระยะเวลากว่า 92 ปี ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานกรุงเทพได้ทำการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับอากาศยาน ผู้โดยสาร และสินค้า อย่างเต็มที่ แต่ก็ด้วยความเจริญเติบโตของการขนส่งทางอากาศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับพื้นที่เริ่มแออัด รัฐบาลจึงเล็งเห็นว่า หากท่าอากาศยานกรุงเทพไม่สามารถพัฒนาเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถได้มากกว่านี้ จะทำให้ความเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคนี้เสียไป จึงทำให้ทางรัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้นมาทดแทน ปัจจุบัน ท่าอากาศยานกรุงเทพ แบ่งเบาเที่ยวบินลง ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2549 เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดใช้งาน
เรียบเรียงจาก
ข้อมูล : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติสถานที่ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
ประวัติความเป็นมา บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
รายชื่อนักแสดง
ดวง รับบทโดย ศรราม เทพพิทักษ์
หลวงกาจ รับบทโดย ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย
ปิแอร์ รับบทโดย TOM CLAYTOR
มาลัย รับบทโดย วิมุตติพร ทองมาก
อัษฎา รับบทโดย กฤษณ์ สุวรรณภาพ
ดำเกิง รับบทโดย กฤษฎา พัชรพิพัฒน์
รัตน์ รับบทโดย วุฒิชัย ไหมกัน
เนื่อง รับบทโดย ณัฐวุฒิ สุวรรณรัตน์
ทวยเทพ รับบทโดย ผดุงศักดิ์ กิจวานิชขจร
จ่าเปลื้อง รับบทโดย ชุมพร เทพพิทักษ์
พระธำรงค์ รับบทโดย สุเทพ ประยูรพิทักษ์
ยายแม้น รับบทโดย ธนาภา ชีพนุรัตน์
พระยาเทวะวงศ์ รับบทโดย ธีรนิติ์ ธำรงวินิจฉัย
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.firstflightthemovie.com/
กรุณาติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อาวอง จำกัด โทร. 02-938-6915-6 ต่อ 115,126,127
ติ๊ก - อารีย์ กาญจนรังสรรค์ 087-801-9933 , หลิน-ธมลวรรณ ธีระอัมพรกุล 081-432-4725
น้อยหน่า - กชพรรณ ศุขมา 089-140-1125 , ยุ - ยุภาภรณ์ เล่ห์กล 081-924-3324
เครดิตทีมงาน
ผู้อำนวยการสร้าง เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์, สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์
Executive Producers KRIENGKAI CHETCHOTISAK, SURACHAI CHETCHOTISAK
ควบคุมงานสร้าง ธนิตย์ จิตนุกูล, ธีรนิติ์ ธำรงวินิจฉัย, สหรัถ วิไลเนตร, พละ บุตรเพชร
Producers THANIT JITNUKUL, NICKY TAMRONG, SAHARAT VILAINET, PHALA BHUTPETCH
ผู้ช่วยควบคุมงานสร้าง ทอม เคลย์เตอร์
Co - Producer TOM CLAYTOR
โครงเรื่อง บัณฑิต ฤทธิ์ถกล, สุทธากร สันติธวัช, พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม, ธนิตย์ จิตนุกูล
Story BHANDIT RITTAKOL, SUTHAKORN SANTITHAWAT, PISUTH PRAESENGAIEN, THANIT JITNUKUL
บทภาพยนตร์ ก้องเกียรติ โขมศิริ
Screenplay KONGKAIT KOMESIRI
ที่ปรึกษาบทภาพยนตร์ บัณฑิต ฤทธิ์ถกล, พละ บุตรเพชร
CONSULTANT BHANDIT RITTAKOL, PHALA BHUTPETCH
ออกแบบงานสร้าง เสนอ เลาะวิถี
Production Designer SANER LOHVITEE
กำกับภาพ ธีระวัฒน์ รุจินธรรม
Director of photography TERAWAT RUJINATAM
กำกับภาพ 2 เกรียงศักดิ์ สุขพันธุ์
Second Camera KRIENGSAK SUKPAN
ผู้ช่วยผู้กำกับภาพ ประทีป พึ่งขยาย, ภูมิพัฒน์ ถิ่นถนอม, สมเกียรติ ภูตรัตนา
Asst Director of photography PRATEEP PUNGKAYAY, POOMIPAT TINTANORM, SOMKIAT POOTRATTANA
ผู้ช่วยผู้กำกับ สหรัถ วิไลเนตร, ศักดิ์ชัย ศรีบุญนาค, อารี จิรชัยธร, อรรถพร รอดเชื้อ, วันทนี เทพภิรมย์, พิพัฒน์ จอมเกาะ, โกวิท บุตรชาติ
Assistant Directors SAHARAT VILAINET, SAKCHAI SRIBOONNAK, AREE JIRACHAITHORN, ATTAPORN RODCHUR, WANTANEE TAPPIROM, PIPAT JOMKOH, KOWIT BUTRACHART
กำกับแสง Mike Muschamp, ตนัย นิ่มเจริญพงษ์
Mike Muschamp, TANAI NIMJARONPONG
ผู้ลำดับภาพ เสรี พงษ์นิธิ, สุรศักดิ์ ปานกลิ่น
Editor SEREE PHONGNITI, SURASAK PANKLIN
กำกับศิลป์ เสนอ เลาะวิถี, กิติพงษ์ ศรีนาราง
ART DIRECTOR SANER LOHVITEE, KITTIPHONG SRINARANG
ผู้ช่วยกำกับศิลป์ นรินทร์ เท้งศิริ
ASSISTANT ART DIRECTOR NARIN THANGSIRI
ศิลปกรรม ณรงค์ เกิดเงิน, จักรพงษ์ กริ่งกรับ, วัชรพล วงศ์ศิริ, ชัยธวัช ตั้งวีรชาตกุล,
ชัชว์ ชัชวาลวงศ์, เจศฏ า แสงกระจ่าง, สมพร ศิริชวลิต, ณรงค์ บุญมาก
NARONG KEARDNENG, JAKAPONG KLINGKLUB, WATCHARAPOL WONGSIRI, CHAITHAWAT TANGVEERACHATKUL, CHAT CHATVALVONG, JEDSADA SANGKAJANG, SOMPORN SIRICHOWVALIT, NARONG BOONMAK
ออกแบบเครื่องแต่งกาย ณพล สาริมาน
Costume Designer NAPHON SARIMAND
ช่างแต่งหน้าเอฟเฟค ธนาวุฒิ บู่สามสาย
Make-up & Special Effects TANAWUT BOOSAMSAI
ช่างแต่งหน้า โชคชัย แพงาม
Make-up Stylists CHOHCHAI PAENGAM
ออกแบบทรงผม มยุรี ทอสูงเนิน
Hair Stylists MAYUREE TORSOONGNUN
สตอรี่บอร์ด สินพร คนซื่อ
STORY BOARD ARTIST SINTORN KONSOE
ควบคุมความต่อเนื่อง รัตนพงษ์ วันละ
Continuity Ratanapong Wanla
ผู้จัดการกองถ่าย อรพรรณ รอดเชื้อ
Production Manager ORAPHUN RODCHUR
ผู้ช่วยผู้จัดการกองถ่าย สุมิตรา คัดเจริญ, สนธยา บุญบำรุงรัตนกุล, ปัฐวี ลีตระกูล,นฤมล อยู่แฉ่ง,
นาถจิตรา แวบ้านแพร่ว, Assistant Production Manager SUMITTA KUTJAREON, SONTAYA BUNBUMRUNGRATTANAKUL, PATAVEE LEETRAKUL, NARUMON YOOCHANG, NATJITRA WABARNTREW
สเตดี้ แคม ปัญญา นิ่มเจริญพงษ์
STEADI CAMERA PANYA NIMJARONPONG
ผู้ช่วยสเตดี้แคม ทยา นิ่มเจริญพงษ์
ASSISTANT STEADI CAMERA TAYA NIMJARONPONG
อุปกรณ์ กล้อง-ไฟ บริษัท สตูดิโอกรุงเทพ จำกัด
CAMERA - LIGHTING EQUIPMENT STUDIO BANGKOK CO.,LTD.
เทคนิคพิเศษด้านภาพ อิมเมจิแมก
VISUAL EFFECT IMAGIMAX ANIMATION AND DESIGN STUDIO
ดนตรีประกอบ ไจแอ็นท เวฟ
Music Score GIANT WAVE
เทคนิคฟิล์มแลป และผสมเสียง กันตนา ฟิล์มแลป
Film Lab & Sound mix technical KANTANA FILMLAB