NIDA Poll “โทษประหารชีวิต ควรหยุดหรือไปต่อ”

ข่าวทั่วไป Monday June 25, 2018 11:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "โทษประหารชีวิตวรหยุดหรือไปต่อ" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับโทษประหารชีวิตวรหยุดหรือไปต่อ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงบทลงโทษที่ผู้กระทำความผิดในคดีร้ายแรงควรได้รับ ระหว่าง "โทษจำคุกตลอดชีวิต" หรือ "โทษประหารชีวิต" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.50 ระบุว่า โทษประหารชีวิต ร้อยละ 18.86 ระบุว่า โทษจำคุกตลอดชีวิต และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อ "บทลงโทษประหารชีวิต" จะมีผลทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทย มีความศักดิ์สิทธิ์หรือน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.29 ระบุว่า ทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์และน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เพราะ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยมีความเด็ดขาด ทำให้ประชาชนมีความเกรงกลัวไม่กล้าที่จะกระทำความผิดอีก ขณะที่ ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ไม่ได้ทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์และน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เพราะ กระบวนการยุติธรรมไม่มีความโปร่งใส มีช่องโหว่ทางกฎหมาย และการปฏิบัติหน้าที่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ "โทษประหารชีวิต" จะทำให้คดีอาชญากรรมลดลงหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.05 ระบุว่า จะทำให้คดีอาชญากรรมลดลง รองลงมา ร้อยละ 15.83 ระบุว่า จะทำให้คดีอาชญากรรมเท่าเดิม ร้อยละ 2.88 ระบุว่า จะทำให้คดีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อ "โทษประหารชีวิต" ว่าควรมีต่อไปหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.49 ระบุว่า ควรมีโทษประหารชีวิตต่อไป เพราะ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย และเป็นบทเรียนเตือนใจให้แก่ผู้กระทำความผิดหรือคิดจะกระทำความผิด มีความเกรงกลัว เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับครอบครัวที่สูญเสีย และร้อยละ 7.51 ระบุว่า ไม่ควรมี โทษประหารชีวิตต่อไป เพราะ ไม่ได้ทำให้คดีอาชญากรรมลดลง ควรให้โอกาสสำหรับผู้ที่กระทำผิด เนื่องจากบางคนอาจจะทำเพราะเหตุบันดาลโทสะ หรือไม่ได้เจตนา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ให้จำคุกตลอดชีวิตน่าจะดีกว่า ท้ายที่สุด เมื่อถามผู้ที่ตอบว่าควรมีโทษประหารชีวิตต่อไป เกี่ยวกับคดีที่ผู้กระทำผิดสมควรได้รับโทษประหารชีวิตมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.45 ระบุว่า เป็นคดีฆ่าข่มขืน (ข่มขืนแล้วฆ่าหรือรุมโทรมจนเสียชีวิต) ร้อยละ 23.95 ระบุว่า เป็นผู้ที่กระทำผิดซ้ำในคดีที่ร้ายแรง เช่น ฆ่าคนตาย ข่มขืน ร้อยละ 16.68 ระบุว่า เป็นคดีฆ่าคนตายโดยเจตนา ร้อยละ 2.42 ระบุว่า เป็นคดียาเสพติด ร้อยละ 0.95 ระบุว่า เป็นคดีก่อการร้าย ร้อยละ 0.86 ระบุว่า เป็นคดีทุจริตคอร์รัปชัน และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.23 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.06 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.04 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.72 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.24 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.27 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.03 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.18 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.01 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 17.67 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.84 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 92.32 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.56 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.56 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 4.56 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 18.54 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.10 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.40 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.96 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 28.86 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.02 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.83 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.54 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.71 จบการศึกษาสูงกว่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.04 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.51 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.23 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.10 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.83 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.35 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.95 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.44 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 5.51 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.07 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.58 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.06 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.39 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.55 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.59 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ