กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
โซลูชั่นจาก HPE ช่วยสนับสนุนการบริหารข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา รวมถึงการศึกษาวิจัยบรรยากาศและการคาดการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย
บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise: HPE) แถลงถึงความร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา(TMD) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการนำโซลูชั่นประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศและคาดการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้าน การดูแลรักษา การปรับขนาดตามรูปแบบงาน และเพิ่มความสามารถในการทำงานของแบบจำลองสภาพอากาศWeather Research and Forecast (WRF) ที่จะช่วยในการวิจัยสภาพบรรยากาศและการดำเนินการพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาได้เลือกเซิร์ฟเวอร์ HPE Apollo 2000 ที่มีความสามารถโดดเด่นในการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้ HPE 3PAR Storage ความจุรวมขนาด 3PB ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลระดับโลก ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นกับ HPE Apollo Server.
ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักของประเทศไทย ที่รับผิดชอบการพยากรณ์อากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้วางแผนการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาที่จะมาช่วยคำนวณข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างแบบจำลองสภาพอากาศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถพยากรณ์สภาพอากาศและแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ที่มีการระบุความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ การพยากรณ์อากาศและภัยธรรมชาติจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการปรับระดับความถูกต้องแม่นยำในการคาดการณ์สภาพอากาศทั้งในปัจจุบัน การคาดการณ์ระยะสั้น และการคาดการณ์ในระยะยาว
นายบุญเลิศ อาชีวระงับโรค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนาอุตุนิยมวิทยากรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า "ประเทศไทย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลของหน่วยงานของเราในการช่วยคาดการณ์สภาพอากาศอย่างแม่นยำเพื่อนำข้อมูลไปบริหารจัดการประเทศในมิติต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การคาดการณ์สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่ยังรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่น พายุไซโคลนเขตร้อน หรือพายุชายฝั่งที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ต่อทรัพยากร รวมถึงประชาชนทั้งทรัพย์สินและการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้พิจารณาแล้วว่า บริษัท HPE มีโซลูชั่นที่มีความโดดเด่นในด้านไฮบริดไอทีโซลูชั่นอันล้ำสมัยในระดับโลกที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรา โดยช่วยสนับสนุนระบบบริหารจัดการ Mission Critical ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และตอบสนองความต้องการของประเทศได้"
ระบบการจำลองสภาพอากาศ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบประมวลผลสมรรถนะสูง พร้อมช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในระยะพื้นที่สี่ตารางกิโลเมตร และสามารถพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้มากกว่า 7 วัน ไม่ว่าจะเป็นรายเดือนหรือรายฤดูกาล ที่สำคัญยังช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยาสามารถสนับสนุนการพัฒนานโยบายของรัฐบาลในด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และปรับปรุงระบบการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยรวม
"กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มองหาโซลูชั่นในการบริหารจัดการปริมาณงานที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โซลูชั่นของเราจะช่วยให้กรมอุตุนิยมวิทยา สามารถบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาที่มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ให้สามารถ ปรับขนาดได้ และสามารถบริหารต้นทุนให้คุ้มกับงบประมาณ โซลูชั่นของ HPE สามารถช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงานของMission Critical Application ที่สำคัญและปรับปรุงการคาดการณ์ได้" นายพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทย กล่าวปิดท้าย
เกี่ยวกับ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์
ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นผู้นำด้านเทคโลยีระดับโลก มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชั่นอัจฉริยะที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถจับภาพ วิเคราะห์ และใช้งานข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจากการใช้งานที่ Edge ไปสู่คลาวด์ (Cloud) HPE จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเร่งประสิทธิผลทางธุรกิจโดยการผลักดันรูปแบบธุรกิจใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานทั้งในปัจจุบัน และมุ่งหน้าสู่อนาคต
ข้อความคาดการณ์ในอนาคต
ข้อมูลที่รวมอยู่ในข่าวประชาสัมพันธ์นี้ประกอบไปด้วยข้อความเชิงคาดการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และข้อสันนิษฐานต่างๆ หากความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนเกิดขึ้นหรือข้อสันนิษฐานได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง ผลลัพธ์ของ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด อาจแตกต่างออกไปจากสิ่งที่ได้กล่าวและการกล่าวโดยนัยไว้โดยสิ้นเชิง ข้อความทั้งหมดที่ไม่ใช่คำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อาจถือเป็นการแถลงการณ์เชิงคาดการณ์ล่วงหน้า ความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และข้อสันนิษฐานต่างๆ รวมถึงความต้องการที่จะรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจของบริษัทกำลังเผชิญอยู่ ความกดดันในการแข่งขันที่บริษัทต้องเผชิญ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกลยุทธ์ การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าและบริการที่มีอยู่เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น การดำเนินการและประสิทธิภาพของข้อสัญญาที่ทำขึ้นทั้งระหว่างบริษัทกับคู่ค้า และลูกค้ากับพันธมิตรทางธุรกิจ การผสมผสานและความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจและการลงทุน และความเสี่ยงอื่นๆ ที่ได้อธิบายไว้ในระบบของบริษัทที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทไม่มีหน้าที่และไม่มีความประสงค์ที่จะปรับแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้