กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหาร สสว. เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 เห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ 11 ด้านและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2361 ซึ่งแผนการปฏิรูปประเทศ ได้กำหนดให้ สสว. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบใน 5 ด้าน ได้แก่ 1. กฎหมาย 2. เศรษฐกิจ 3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. สังคม และ 5.พลังงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวเพิ่มเติมว่า ความคาดหวังของแผนปฏิรูปประเทศต่อ สสว. คือ การให้ สสว. มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริม SME การลดบทบาทซ้ำซ้อนกับการทำงานของหน่วยงานรัฐที่ให้บริการ SME การปรับปรุงนิยาม SME การกำหนดนโยบาย SME กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเลิศ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ SME การกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินสนับสนุนแก่ SME การพัฒนาองค์ความรู้ทางบัญชี การเงิน การตลาด เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้จัดตั้ง National Startup Center จัดตั้งวิทยาลัย SME และ STARTUP การปรับบทบาทของ สสว. ให้เป็นศูนย์บริการครบวงจร ด้าน SME (ONE STOP SERVICE CENTER : OSS) ของประเทศ รวมถึงการสร้างและพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆ (Center of Excellence) ได้แก่ ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร สำหรับพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อนำไปใช้เพิ่มรายได้ให้ SME ภาคเกษตรและชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นทั่วประเทศในการพัฒนาการวิจัย การจัดตั้งศูนย์สินค้าชุมชนในแต่ละพื้นที่เพื่อพัฒนายกระดับสินค้าชุมชน และสร้างสินค้าดาวเด่น (Product Champion) ในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่มีศักยภาพ 5 ศูนย์เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในภูมิภาค ซึ่งภายในศูนย์จะประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขอคำแนะนำต่างๆ มีทีมพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ให้บริการทั้งการพัฒนาองค์ความรู้การค้าออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 40 หลักสูตร การอบรม Train the Trainer การอบรม E-Commerce และเชื่อมโยงเรื่องการขนส่งสินค้า ประสานกับสถาบันการศึกษาให้มีการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ SME ในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป (Traditional SME) กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) และกลุ่มประกอบการเริ่มต้น (Early Stage SME) ที่ไม่เน้นนวัตกรรมหรือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
" อยากให้ สสว. มีการปฏิรูประบบที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ (Ecosystem) เช่น ปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของ SME ปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริม SME และพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม การสร้างผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันบนพื้นฐานของ BIG DATA และเชื่อมต่อระบบข้อมูลทุกประเภท " นายอุตมกล่าว
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ ของ สสว. ว่า ในปี 2561 ได้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานภายใต้ 3 แนวทางคือ 1.การปรับเปลี่ยนรูปแบบ ( Transformation ) 2. การปรับเปลี่ยนแนวคิด SME สู่สากล (Internationalization) และ 3.การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ มีรายละเอียด ดังนี้
1.)การปรับเปลี่ยนรูปแบบ " Transformation" มีความคืบหน้าของโครงการดังนี้
โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต ปี 2561 จัดกิจกรรมอบรมสัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในด้านการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ การเงิน บัญชี การตลาด การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ฯลฯ และกิจกรรมประเมินศักยภาพตนเอง ไปแล้วกว่า 4,500 ราย กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการเชิงลึกผ่านการให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษาเฉพาะด้าน ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งต่อยอดด้านมาตรฐานเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม ผ่านการแจกคูปองตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมในด้านโครงการสุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ในการก้าวสู่ Thailand 4.0" ดำเนินการประเมินตนเอง หรือ self-assessment เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ทั้งทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 462 ราย ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานตามผลการประเมินเพื่อเพิ่มองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการ เช่น การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการสมัยใหม่ การตลาดสมัยใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ดำเนินการกิจกรรมทดสอบตลาด/จัดงานแสดงสินค้า กิจกรรมจับคู่ธุรกิจจำนวน 100 ราย
มาตรฐาน รวมทั้งตรวจประเมินเพื่อให้ได้รับมาตรฐาน อย. , ISO ฯลฯ ไปแล้ว 800 กิจการ
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up) ปี 2561 มีผู้ประกอบการ ได้รับความรู้เบื้องต้นในการยกระดับเป็น SME 4.0 เช่น การเป็นผู้ประกอบการเบื้องต้น เรื่องภาษีต้องรู้ การนำดิจิตอลมาใช้ในการทำธุรกิจ จำนวน 8,357 ราย ผู้ประกอบการมีแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมนำไปปฎิบัติในการดำเนินธุรกิจแล้ว 3,082 ราย (ภาคเกษตร จำนวน 1,449 ราย และภาคทั่วไป จำนวน 1,633 ราย)
2.) การปรับเปลี่ยนแนวคิด SME สู่สากล "Internationalization" มีความคืบหน้าของโครงการดังนี้
โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ SME ปี 2561 ดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าสู่การค้าตลาดออนไลน์ 16,764 ราย และพัฒนาเตรียมความพร้อมสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 30,000 ผลิตภัณฑ์ โดยการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ และจัดทำเนื้อหาผลิตภัณฑ์ เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการโดยการจัดอบรมในรูปแบบออฟไลน์ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การถ่ายภาพสินค้าด้วยมือถือ 4,698 ราย มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์ในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์ ใน 3 ระดับ ได้แก่ ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ประสานตลาดออนไลน์ (E-marketplace) และนำสินค้าของผู้ประกอบการขึ้นขาย จำนวน 3,391 ราย สินค้า 7,902 ผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมการส่งเสริมการขาย ได้แก่ แคมเปญ SME 1 Baht ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 1 กันยายน 2561 และคูปองส่วนลด โดยมีสินค้าที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขาย จำนวนสินค้า 3,234 รายการ 6,081 ชิ้น คาดว่าจะสร้างยอดขายได้ประมาณ 1.08 ล้านบาท
โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SME ปี 2561 มีการจัดสัมมนาให้ความรู้ทางการตลาดแก่ผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมขยายช่องทางการตลาดภายในและต่างประเทศแก่ผู้ประกอบการ SME โดยพาผู้ประกอบการไปแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจในประเทศ มาเลเซีย ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ อินเดีย ไต้หวัน รวม 1,257 ราย เกิดการเจรจาธุรกิจ 636 คู่ เกิดมูลค่าการซื้อขายจากการเจรจาธุรกิจ 471.55 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงมีกิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs ของไทยกับอินเดีย จีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อสามารถเป็นช่องทางช่วยผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดไปยังประเทศเหล่านั้นได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และยังจะนำข้อมูลความรู้ แนวโน้มความนิยมหรือเทรนด์ใหม่ๆ การเตรียมพร้อม และโอกาสในการออกสู่ตลาดดังกล่าวมาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการ
ใน 4 ภูมิภาครับทราบมากกว่า 1,800 ราย พร้อมกันนี้ จะได้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ไทย และผู้ประกอบการของเกาหลี และตุรกี อีกด้วย
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดสากล มีการอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้พื้นฐานด้านมาตรฐานสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซี่งดำเนินงานจัดอบรมไปแล้ว 1,079 ราย และอยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบมอบให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการต่อยอดธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Package) ต่อไป
3.) การพัฒนาเครือข่าย มีความคืบหน้าของโครงการดังนี้
โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME พัฒนาผู้ประกอบการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด จำนวน 30 เครือข่าย มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 4,000 ราย และจัดทำแผนพัฒนาเครือข่าย 20 แผน
โครงการ Train The Coach ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าเป็นโค้ชในโครงการ 1,428 ราย ซึ่งยังมีผู้สนใจทยอยสมัครเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ สสว. ยังมีการประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครโค้ชไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมจะครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากนี้ สสว. ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจแก่ SMEs และบริการส่งต่อภาครัฐโดยศูนย์บริการเอสเอ็มอีครบวงจร (OSS) เพื่อการให้ความช่วยเหลือ SMEs กลุ่มเป้าหมายเริ่มต้นธุรกิจ กลุ่มที่ดำเนินธุรกิจทั่วไป และกลุ่มที่มีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ( Startup/ Regular/Turnaround) จำนวน 119,312 ราย มีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SME 27,493 ราย สร้างเครือข่ายผู้ให้บริการส่งเสริม SMEs 180 ราย สร้างการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ ยุค 4.0 ในกลุ่มสหกรณ์ 100 สหกรณ์