กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล สามารถเรียนปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรอินเตอร์ ที่ม. เซนต์จอร์จ
ม. เซนต์จอร์จ มหาวิทยาลัยการแพทย์นานาชาติ (SGU หรือ เอสจียู) ในเกาะแคริบเบียนของประเทศเกรเนดา ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล เพื่อจัดตั้งปีการศึกษาใหม่พิเศษที่มีระดับการศึกษาเทียบเท่ากับการศึกษาปีแรกของหลักสูตรเตรียมแพทย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยเอสจียูที่เกรเนดา โดยนักศึกษาจากม. มหิดลที่เรียนจบโปรแกรมนี้สามารถสมัครเข้าเรียนต่อในหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ที่ม. เอสจียู ต่อได้
โดยเอสจียูจะมอบรางวัลทุนการศึกษาบางส่วนเป็นจำนวน 5 ทุนต่อปี ตลอดหลักสูตร ให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยนายาชาติ ม. มหิดลที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ที่ ม. เซนต์จอร์จ
ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเอสจียูและ วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ดังเช่นข้อตกลงในปี พ.ศ.2557 ที่เปิดโปรแกรมให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต/แพทย์ศาสตร์บัณฑิตควบคู่กันไประหว่างสองสถาบัน
"การลงนามข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับ วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล" ศ.ดร. จี ริชาร์ด โอลด์ อธิการบดีม. เซนต์จอร์จ กล่าว "เราทราบได้จากประสบการณ์ว่านักศึกษาที่มหาวิทยาลัยนี้นั้นทั้งทุ่มเทและมีพรสวรรค์ และเห็นว่าการได้มาศึกษาที่เอสจียูเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเปิดโอกาสให้นักศึกษาเหล่านี้ได้เข้าร่วมหลักผลิตแพทย์อินเตอร์ ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดยจะมีนักศึกษาหลายท่านที่จะได้รับทุนการศึกษานี้ด้วย"
รศ.นพ. พิทยา จารุพูนผล คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดลกล่าวว่า "เป็นเวลา 4 ปีหลังจากการลงนามข้อตกลงระหว่างสองสถาบัน ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเอสจียูก็ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การที่สถาบันเลือกมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนของเรา บ่งบอกว่าคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาของเรานั้นเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากสถาบันทางการศึกษาด้านการแพทย์นานาชาติชั้นนำของโลก เราหวังว่าการร่วมมือกันครั้งนี้จะเป็นไปอย่างราบรื่นอีกนานหลายปี"
"เรารู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่นักศึกษาจากทวีปเอเชียจะสามารถไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมีชื่อระดับโลกผ่านโปรแกรมแพทย์อินเตอร์ที่เอสจียูเป็นอย่างมาก" คาล แม็กเฟียร์สัน (Cal Macpherson) รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงการต่างประเทศและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย "นอกจากการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับโลกแล้วนีกศึกษายังมีโอกาสการได้ทดลองงานทางการแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร โดยนักศึกษาของเอสจียูจะได้รับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างรอบด้านในระดับสากลด้วย"
พีท ฟีเอสชิ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชีย มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จให้ความเห็นว่า "นี่เป็นการร่วมมือที่นาจับตามองเป็นอย่างมากโครงการความร่วมมือนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากทวีปเอเชียสามารถเริ่มต้นการศึกษาชั้นเตรียมแพทย์ได้ที่ประเทศไทย ณ วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล ที่มีชื่อเสียงในเอเชีย เรายินดีมอบโอกาสนี้ให้แก่นักศึกษาจากทวีปเอเชียได้เริ่มการศึกษาในประเทศไทยก่อนเดินทางสู่การศึกษาด้านการแพทย์ในเกรนาดา และสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรต่อไป"
คำบรรยายใต้ภาพ (จากซ้ายไปขวา) คุณพีท ฟีเอสชิ (ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชีย ม. เซนต์จอร์จ) ผศ. ดร. สรายุทธ์ นาทะพันธ์ (รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยวิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล) ศ.ดร. จี ริชาร์ด โอลด์ (อธิการบดี ม. เซนต์จอร์จ) และ รศ.พญ. จุฬธิดา โฉมฉาย (อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล)
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ
ม. เซนต์จอร์จเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับนานาชาติ ซึ่งดึงดูดนักศึกษาและคณาจารย์จาก 140 ประเทศมายังเกาะเกรนาดา แห่งเวสต์ อินดีส์ เซนต์จอร์จส์มีเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และไอร์แลนด์ ม. เซนต์จอร์จ ผลิตแพทย์ สัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักสาธารณสุข และนักธุรกิจมามากกว่า 18,000 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในวงการทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ หลักสูตรต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองและอนุมัติโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการศึกษาและอาชีพต่างๆ มากมาย
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ
ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดยใช้ชื่อว่า โครงการศึกษาปริญญาตรี สำหรับนักศึกษานานาชาติ (International Students Degree Program-ISDP) วิทยาลัยนานาชาติ ม. มหิดล เป็นม. ของรัฐแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรปริญญาตรีที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างบัณฑิตที่มีความรอบรู้ความสามารถในการวิจัยด้านการศึกษานานาชาติและการบริการทางวิชาการเพื่อผลประโยชน์ของมนุษยชาติ อีกทั้งยังมุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปศาสตร์ที่แข็งแกร่งและส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในการใช้ชีวิตและการทำงานในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้ มีนักศึกษารวมประมาณ 3,000 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล