กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--สถาบันการบินพลเรือน
พลเรือตรีปิยะ อาจมุงคุณ ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน และดร.กนก สารสิทธิธรรม รองผู้ว่าการ ฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ Mr. Herve Touron, Manager, Training Assessments and Consulting Unit, Global Aviation Training Office, Office of the Secretary General ICAO และ Professor Dr. Paul Bates, Additional Assessor ในการมาตรวจประเมินและติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ในฐานะที่เป็นสมาชิกประเภท Full Member โครงการ ICAO TRAINAIR PLUS ระหว่างวันที่ 25-29 มิถุนายน 2561 ณ สถาบันการบินพลเรือน กทม. และศูนย์ฝึกการบิน หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
การตรวจประเมินในครั้งนี้ สบพ.ได้จัดเตรียมการบรรยายสรุปภารกิจในภาพรวมขององค์กรและรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาให้คณะผู้ตรวจประเมินจาก ICAO รวมถึงนำคณะผู้ตรวจประเมินไปตรวจเยี่ยมการทำงานของกองวิชาต่าง ๆและอาคารสถานที่ ณ สบพ.กทม. และและศูนย์ฝึกการบิน หัวหิน โดยผู้ตรวจประเมินได้พิจารณาหัวข้อการตรวจประเมิน ๑๐ หัวข้อหลักที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้ Protocol Questionnaire : 1. Approval of the Training Organization, 2. Training & Procedures Manual, 3. Training Programmes & Training Delivery, 4. Training Needs Assessment ๕. Facilities, ๖. Personnel, ๗. Records, ๘. Quality System, ๙. Training Management System ๑๐. Safety Management จากนั้นเป็นการสรุปข้อมูลและประมวลผลการตรวจประเมินในเบื้องต้นจากผู้ตรวจประเมิน รวมถึงแผนการดำเนินงานในอนาคตของ โครงการ TRAINAIR PLUS
จากผลการตรวจประเมินในครั้งนี้ ผู้ตรวจประเมินได้แจ้งว่า สบพ. ได้ผ่านการตรวจประเมินคุณสมบัติและ ประสบความสำเร็จมีผลการดำเนินงานผ่านการตรวจประเมินเป็นที่เรียบร้อย โดยทาง ICAO จะได้แจ้งผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป เป็นผลให้ สบพ.สามารถรักษาสถานภาพการเป็นสมาชิกประเภท Full Member โครงการ TRAINAIR PLUS จาก ICAO ได้เป็นวาระที่ 3 ในการนี้ พลเรือตรีปิยะ อาจมุงคุณ ผู้ว่าการได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อยกระดับมาตรฐานในฐานะ Full Member ของ ICAO ขึ้นเป็นระดับ Regional Training Centre of Excellence (RTCE) จากความร่วมแรงร่วมใจของชาว สบพ.ในครั้งนี้ นับเป็นเรื่องน่ายินดีและนำความภาคภูมิใจมาให้ชาว สบพ.และประเทศไทย ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรการบินของประเทศที่มีมาตรฐานสากล สามารถผลิตบุคลากรการบินที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้าไปปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นทางด้านการบินให้กับประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางในการผลิตบุคลากรด้านการบินในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกต่อไป