กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--
จากกรณีข่าวความสำเร็จของการช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ทั้ง 13 ชีวิต ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย สร้างความดีใจให้กับผู้ที่ติดตามข่าวสารของคนไทยและทั่วโลก ที่ได้เห็นทุกคนออกมาได้โดยปลอดภัย แต่สิ่งที่ทุกคนจะเจอหลังจากนี้จะต้องเจออะไร จะเกิดปัญหากับสุขภาพจิตหรือไม่ รายการโหนกระแสวันที่ 11 ก.ค.โดย "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.30-14.10 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ "นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร" รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ "นายแพทย์สุระ เจตน์วาที" แพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญกู้ชีพและการลำเลียงทางอากาศ
เมื่อวานออกมาอีก 5 คนไม่มีการแถลงถึงอาการ ก่อนหน้านั้นน้องๆ 2 คนปอดติดเชื้อ?
นพ.สุระ : "เท่าที่ฟังมาน่าจะเป็นข่าวดีมากกว่า คือปอดติดเชื้อเป็นเรื่องปกติที่คาดการณ์เอาไว้ว่าน่าจะมี แต่ดูแล้วไม่กี่วันน่าจะฟื้นตัวได้ดี ไม่ได้ติดเชื้อรุนแรง ส่วนใหญ่สภาพแวดล้อมในถ้ำไม่ค่อยเหมาะสมอยู่แล้ว เราจะมีความสุขมากที่ได้นั่งในพื้นที่อากาศถ่ายเทสะดวก แต่ถ้าอยู่ในที่อากาศถ่ายเทแย่มาก ออกซิเจนก่อนออกมาก็ต่ำมากอยู่แล้ว วิกฤตแล้ว"
ถ้า ณ วันนั้นที่มีการตัดสินใจให้ออก ถ้าตัดสินใจช้าอีก 2 วัน?
นพ.สุระ : "อาจแย่ก็ได้ ถ้าคิดในกรณีแย่ๆ ถ้าถึง 12 เปอร์เซ็นต์ในมุมนักผจญเพลิงต้องออกจากจากพื้นที่นั้นใน 5 นาทีเลย ตรงนี้มันอันตรายมาก"
ถ้าประเมินคิดว่าน้องออกมายังไง?
นพ.สุระ : "ตอนนี้มีจินตนาการล้วนๆ ในมุมมองผมเป็นแพทย์ลำเลียงผู้ป่วยหนักตลอดเวลา ผมจะให้ยาค่อนข้างเยอะ ให้เขาหลับไม่ต่อต้าน เพราะการใช้เครื่องช่วยหายใจต้องนิ่งพอสมควร หลายๆ ครั้งผมให้เป็นอัมพาตชั่วคราว เมื่อเป็นสภาวะนั้นก็ต้องช่วยท่อช่วยหายใจ ถ้าเอามาเปรียบเทียบกันไม่น่าจะได้ เพราะเมื่อต้องใส่เครื่องชวยหายใจ มอนิเตอร์หัวใจอัตราการเต้น ออกซิเจนต่างๆ แทบเป็นศูนย์เลยทำไม่ได้ ขนาดดำน้ำยังเห็นระยะใกล้ๆ เพราะขุ่นมาก ผมมั่นใจว่าไม่น่าเกิดขึ้น"
เรื่องใส่แคปซูนก็ไม่น่าใช่?
นพ.สุระ : "ไม่น่าใช่เพราะเรามองน้องไม่เห็น"
ท่านนายกฯ บอกให้ยาคลายเครียด?
นพ.สุระ : "อันนี้เป็นไปได้ เพราะหลายๆ ครั้งเวลานำคนไข้ขึ้นเครื่องบิน ก็อยากให้เขาสบาย ผ่อนคลาย ภารกิจนั้นจะสำเร็จลุล่วงได้ การเลือกใช้ยาขนาดต่ำๆ เป็นไปได้มาก"
จากการประเมินน่าจะเอาคนแข็งแรงออกมาก่อน แต่สุดท้ายเอาคนอ่อนแอออกก่อน เหมือนพลิกเลยมั้ย?
นพ.สุระ : "อันนี้ผมก็ขัดแย้งตอนแรก ในตัวผมเองในสถานการณ์ปกติ ไม่มีความเสี่ยง จะเอาคนไข้หนักออกมาก่อน แต่พื้นที่ตรงนี้มีความเสี่ยงสูง แล้วเหมือนมิชชั่นอิมพอสซิเบิลมากเลย นักดำน้ำดำไป 5 ชม. แล้วต้องฝีมือสุดๆ การดำออกก็ดูน่าจะยากกว่าเดิม"
มีข้อมูลบอกว่าตอนน้องออกมา นำน้องที่อ่อนแอสุดให้ออกมาก่อน แล้วมีการจัดยาระงับประสาทในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายผู้ประสบภัยแต่ละคน เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและตื่นเต้นตลอดเส้นทางดำน้ำและปีนป่ายไปตามโขดหิน ระยะทางยาวเกือบ 2 กิโลเมตร?
นพ.สุระ : "คำว่าแพนิกเป็นศัตรูตัวร้ายในการดำน้ำเลย ถ้าน้องไม่แพนิก มีพี่ๆ คอยดูแล ส่งผ่านเข้าช่องแคบค่อยเป็นค่อยไปกับนักดำน้ำระดับโลก มีความเป็นไปได้พอสมควร"
ณ วันนี้น้องๆ ปลอดภัย สุขภาพจิตหลายคนเป็นห่วง เพราะสังคมไทยแบ่งเป็น 2 มุม มีทั้งมุมห่วงแต่อีกมุมชอบว่าน้องๆ?
นพ.สมัย : "สังคมเราเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมา ความเห็นไม่ตรงกันซะทุกคน คนที่คอมเมนต์ไม่ดีก็อาจเป็นห่วง แต่เป็นห่วงในจังหวะไม่เหมาะกับเวลานี้ คงต้องหาจังหวะในการพูดคุยกับเด็ก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีคนช่วยเหลือทางจิตใจกับเด็กในสภาวะแบบนี้ ตอนนี้จิตใจของเด็กค่อนข้างดี อยู่ในภาวะควบคุมได้ต้องให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไป การให้ข้อมูลเขาก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และเขาต้องจัดการปัญหาแบบนี้ มองว่าเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นมา โดยชีวิตเราจริงๆ ก็มีคนคอมเมนต์อยู่แล้ว คนข้างๆ ตัวก็ต้องช่วยให้เขาผ่านพ้นภาวะจัดการปัญหานี้เพื่อตัวเด็กเอง ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติเวลามีปัญหาจะต้องมีทางบวกและทางลบ"
ชีวิตน้องจะต้องเปลี่ยนไป รู้จักทั้งประเทศและทั่วโลก คุณหมอมองยังไง?
นพ.สุระ : "จริงๆ น้องไม่ได้ตั้งใจ เราเดินๆ อยู่ไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้น น้องอาจพลาดเล็กน้อย แต่ปีนี้น้ำมาก่อนเป็นความโชคไม่ดี น้องไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นไปต่อว่าต่อขานก็ไม่เห็นด้วย ทุกชีวิตมีคุณค่า ทั้วโลกมาช่วยกัน นี่แสดงอะไรบางอย่างที่ดีมาก"
ณ วันนี้น้องอาจวางตัวไม่ถูกว่าต้องทำยังไง สิ่งที่เจอคือสื่อที่ตามติดตั้งแต่แรก สองคนในพื้นที่เอง อาจมีการพูดโน่นนี่นั่น สามคนรอบข้างน้อง มีวิธีจัดการยังไง?
นพ.สมัย : "จริงๆ เรามักบอกว่าเอาวิกฤตมาเป็นพลัง กรณีนี้ถ้าเป็นไปได้ การถามวนซ้ำๆ จะไปกระตุ้นภาวะที่เขาระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว จะทำให้บางคนควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดแผลทางใจขึ้นมา วนอยู่แต่เรื่องเดิมเรื่องทำผิดพลาด ความวิตกกังวลเช่นกลัวความมืดที่แคบหวนคิดขึ้นมา เราไม่ต้องการให้เกิดภาวะนั้นขึ้นมา ถ้าเป็นไปได้ทำแบบทีวีพูลแถลงข่าวร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาทีเดียวจบเลย"
คำถามบางคำที่ไม่ควรถาม?
นพ.สมัย : "คำถามในทางลบ เช่นเข้าไปทำเพื่ออะไร ใครเป็นคนพาเข้าไป ไม่มีประโยชน์อะไร ถามว่ามีชีวิตรอดมาได้อย่างไร ช่วยเหลือกันอย่างไร สามารถถ่ายทอดสิ่งดีๆ ออกมาได้ เป็นเชิงบวก ตัวเด็กแก้ปัญหาได้ดีในระดับหนึ่ง ในชุมชนถ้ารวมตัวกัน เพราะมีหลายกระแสโหนมาที่ตัวเด็ก เพื่อได้อะไรบางอย่าง การรวมตัวในสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ ให้กำลังใจ ติดตาม ช่วยเหลือ อาจตั้งเป็นกลุ่มเป็นก้อน เวลาใครมอบของอะไรก็ผ่านชุมชนให้ชุมชนจัดการ ติดตามผลในระยะยาวได้"
เพื่อนๆ ในโรงเรียนต้องเตือนเด็กๆ มั้ย?
นพ.สมัย : "คงมีการเตรียมญาติ ครู เพื่อนๆ ทีมงานที่ดูแลสุขภาพจิต ต้องขออนุญาตญาติไปเยี่ยมบ้าน หรือฝากครูดู ฝากช่วยเตือนหรือมีการไปเยี่ยมที่โรงเรียน"
ต้องสังเกตอาการเป็นยังไง?
นพ.สมัย : "เหม่อลอย นอนไม่หลับ เครียดมากกว่าเป็นปกติ ผลการเรียนตกต่ำมากผิดสังเกต ทานอาหารไม่ได้ หรือหวั่นผวาได้ง่าย"
โค้ชเอกก็น่าเป็นห่วงมากที่สุด มีการขอโทษพ่อแม่น้องๆ 12 ชีวิตเหมือนเป็นการโทษตัวเอง วิธีการช่วยเหลือกันได้ต้องทำยังไง?
นพ.สมัย : "ระยะนี้ต้องมีทีมงานไปพูดคุย พยายามสื่อให้สังคมได้รับทราบ ชี้แนะวิธีการจัดการปัญหาโดยตัวโค้ชเอกเอง"
นพ.สุระ : "เตรียมความพร้อมในหลายๆ ภาคส่วน เพราะโค้ชเอกน่ากังวลในส่วนนี้ ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อม ไปพูดคุย ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชไปดูแลผมว่าอันตราย ต้องมีการติดตาม การรักษาระยะหนึ่ง"
คนที่ให้กำลังใจเขาประกบเขาคิดว่าเป็นใคร?
นพ.สุระ : "ผมมองว่าเป็นคนใกล้ตัว มีการระบาย เวลาอึดอัดในใจ ระบายแล้วจะดีขึ้น คนใกล้ตัวต้องเตรียมความพร้อมว่าควรถามคำถามไหน ต้องเตรียมความพร้อมก่อน ไม่งั้นจะมีปัญหา"
ภาวะโรคซึมเศร้าจะมามั้ย?
นพ.สมัย : "ถ้าจัดการปัญหาด้วยตัวเองสำเร็จก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น"
ในสิ่งที่เกิดวิกฤตเขาเป็นฮีโร่คนหนึ่ง?
นพ.สุระ : "ผมเห็นด้วยครับ"
ก่อนหน้านี้มีเรื่องราวชาวชิลีกลุ่มนึงติดที่เหมือง คนจากทั่วโลกไปช่วยเขา เชียร์เป็นกำลังใจ อุ้มกันสุดตัว สุดท้ายวันนึงปล่อยเลย หายไปเลย ทิ้งเลย คนกลุ่มนั้นกลายเป็นโรคซึมเศร้า?
นพ.สมัย : "ผมคิดว่าวิธีการดูแลจัดการเป็นส่วนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดแค่ชิลี ผมว่าการประคับประคองจิตใจเขา ให้เขาสามรถจัดการปัญหาได้โดยผ่านกลุ่มเขาเอง และกลุ่มรอบข้างอย่างชุมชน จะทำให้เขาเข้มแข็งพอ เขาจะภาคภูมิใจที่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเองในระยะยาว"
คุณพ่อทางดร.แฮร์ริสเสียชีวิต ดร.กลับไปไม่ได้ เพราะไปดำน้ำช่วยน้องๆ ออกมา แล้วขึ้นเครื่องไม่ได้?
นพ.สุระ : "การดำน้ำหลายๆ ครั้งมีผลต่อการรอขึ้นเครื่องก่อน อย่างปกติถ้านับเป็นปกติต้องรอ 18 ชม. อันนี้เวลาอาจไม่ครบกำหนดที่จะขึ้นบิน ไม่งั้นจะอันตรายกับตัวท่านเอง"