กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--โมเดิร์นเทียร์
ปลายปี 2560 ที่ผ่านมา เราต่างได้เห็นปรากฎการณ์อันยิ่งใหญ่ของสังคมไทย จากโครงการ "ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 รพ.ทั่วประเทศ" โดยคุณอาทิวราห์ คงมาลัย หรือ "ตูน บอดี้สแลม" ร็อกเกอร์ชื่อดัง ซึ่งได้ระดมเงินบริจาคของพี่น้องชาวไทยด้วยการวิ่งจาก อ.เบตง จ.ยะลา ถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมระยะทาง 2,215 กิโลเมตร และได้มีการมอบเงินบริจาคในโครงการ 1,300 ล้านบาทให้กับตัวแทน รพ.11 แห่งเพื่อนำไปจัดสรรซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา
มีหลายสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากโครงการนี้ ก็คือ 1. สังคมไทยมี "ความมีเมตตา มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน" และ 2. สังคมไทยในภาพรวม ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการวิ่งขอ "ตูน" สามารถสร้างยอดบริจาคเกินกว่าเป้าหมายอย่างมากมาย และมากกว่าการบริจาคใจเรื่องอื่นๆ อย่างถล่มทลาย และเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคนั้น ก็เพื่อสุขภาพของผู้อื่นอีกด้วย
วันนี้ การดูแลรักษาสุขภาพจึงมิใช่เรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ และเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของภาครัฐ ที่ต้องผลักดันให้เกิดบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มาตรฐานมีความพร้อม และเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งบริการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมกับการก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" ของประเทศไทย ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ในส่วนของภาคเอกชนนั้น พบว่า ตั้งแต่ปี 2559 – 2560 พบว่า ภาคเอกชนจำนวนมากได้ขานรับนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ของรัฐบาล โดยมีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท อาทิ การผลิตยา เครื่องมือแพทย์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และบริการทางการแพทย์ด้านอื่นๆ ซึ่งหากเกิดการผลิตสิ่งเหล่านี้ได้ในประเทศไทยมากขึ้น ก็จะช่วยลดการนำเข้ายา และเครื่องมือทางการแพทย์จากต่างประเทศ ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และบริการมีราคาลดลง ประชาชนคนไทยทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ที่มีแนวโน้มเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารเสริม ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจเกี่ยวกับความงาม เพราะแม้จะเข้าสู่วัยสูงอายุคนเราก็ยังอยากดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ธุรกิจบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และธุรกิจนำเที่ยวผู้สูงวัย
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2559 – 2560) การจัดงาน อินเตอร์แคร์ เอเชีย สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของตลาดผู้สูงอายุในประเทศไทย และแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ซึ่งการจัดงานในครั้งที่ 2 นี้สามารถสร้างเม็ดเงินซื้อขายภายในงานรวมเกือบ 1,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าการตลาดของกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละปี สูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท
และนับจากปีนี้เป็นต้นไป ธุรกิจและบริการสำหรับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นทั้งโอกาสทางการค้าของผู้ผลิต และโอกาสในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของผู้บริโภค
นายสืบพงษ์ สมิตทันต์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด ในฐานะผู้จัดงาน InterCare Asia 2018 กล่าวว่า เตรียมจัดงานอินเตอร์แคร์ เอเชีย 2018 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2561 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ระหว่างวันที่ โดยจะแบ่งพื้นที่การจัดงานออกเป็น 6 โซน ได้แก่
1. Homecare & Equipment ซึ่งจะมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการ เช่น วิลแชร์ วอร์คเกอร์ อุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
2. Rehabilitation จะมีอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการดูแลช่วยเหลือและปกป้องผู้สูงอายุ เช่น หุ่นยนต์ผู้ช่วย ศูนย์กระดูกและข้อเครื่องช่วยฟัง
3. Medical Tourism หรือ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น สปา ฟิตเนส สถานบริการนวดแผนไทย และบ้านพักระยะยาว (Long stay)
4. Service จะมีสินค้าสำหรับดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น Nursing Home วีลแชร์ ติดตั้งบนรถสำหรับผู้พิการ โรงพยบาลที่ดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
5. Nutritional Food ซึ่งจะมีสินค้า และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารเสริมและสมุนไพร อาหารเฉพาะโรค
และ 6. After Life ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่จัดแสดงขึ้นครั้งแรก เป็นการนำเสนอบริการวางแผนการตาย ตั้งแต่การเลือกรูปการณ์จัดงานศพ จนถึงพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องการ ฯลฯ
แลในครั้งนี้ อินเตอร์แคร์ เอเชีย ได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายคนไทย โดยจะมุ่งเจาะกลุ่มที่กำลังเกษียณอายุ คือช่วงอายุตั้งแต่ 45 – 60 ปี เพราะถือเป็นกลุ่มที่ควรเตรียมความพร้อมให้แก่ตนเองก่อนเกษียณอายุการทำงาน และกลุ่มลูกหลาน ซึ่งเป็นเป็นผู้ที่เลือกสินค้า และบริการให้แก่บุพการีของตนเอง