กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--แฟรนคอม เอเชีย
หัวเว่ย เปิดตัวโซลูชั่น Smart Airport 2.0 ในงาน CEBIT 2018 ครอบคลุมการใช้งานด้านต่างๆ อาทิ กระบวนการปฏิบัติงานแบบวิชวลไลซ์, ระบบความปลอดภัยแบบวิชวลไลซ์ (visualized safety), บริการต่างๆ ด้วยภาพ (visualized services) และระบบ IoT ในสนามบิน โซลูชั่นนี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์มไอซีทีอันล้ำสมัยครบวงจร ที่ทำงานประสานกันระหว่าง Cloud-Pipe-Device ช่วยลูกค้าเนรมิตสนามบินอัจฉริยะรองรับการใช้งานในอนาคต
เมื่อเทียบกับโซลูชั่น Smart Airport 1.0 ที่จัดการระบบภาคพื้นแบบ visualized แล้ว โซลูชั่น Smart Airport 2.0 จะเน้นเรื่องการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีในกลุ่มวิดีโอเฝ้าระวังอัจฉริยะ, บิ๊กดาต้าและ AI และ IoT มากกว่า ซึ่งจะช่วยให้ระบบธุรกิจแนวตั้งต่างๆ ในสนามบินสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ช่วยให้กระบวนการต่างๆ ในสนามบินมีความอัจฉริยะและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาของการตอบกลับด้านความปลอดภัย และมอบประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นแก่ผู้โดยสาร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการบินพลเรือนทั่วโลกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งในแง่ของปริมาณผู้โดยสารและรายได้ของสายการบิน จากสถิติล่าสุดของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ความต้องการเดินทางสัญจรทางอากาศทั่วโลกในปี 2561 คาดว่าจะเติบโตราวร้อยละ 7.0 ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่พุ่งสูงถึง 4,360 ล้านคน ในปี 2561 กำไรสุทธิของสายการบินทั่วโลกจะมีมูลค่าราว 33,800 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางทางอากาศจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10.4 เป็น 794,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และอุตสาหกรรมการบินพลเรือนจะขยับขึ้นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก
รายงานหลายฉบับที่น่าเชื่อถือยังบ่งชี้ว่า การลงทุนด้านไอซีทีของสนามบินทั่วโลกส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาด้านบริการผู้โดยสาร ความปลอดภัยในการเดินทาง การซื้อขายผ่านระบบโมบายล์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ สนามบินจึงต้องมีการพลิกโฉมด้านดิจิทัลสู่การดำเนินการและการพัฒนาเชิงอัจฉริยะ สำหรับศักยภาพการบริการและระบบไอซีที สนามบินต่างๆ จะให้ความสำคัญมากขึ้นในด้านความต่อเนื่องของธุรกิจ ความน่าเชื่อถือ และความมั่นคง และเพื่อตอบโจทย์นี้ จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างไอซีทีที่เปี่ยมประสิทธิภาพ รวมถึงโซลูชั่นที่สร้างสรรค์อย่างเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ด้วยความกดดันในการดำเนินงาน ปัจจุบันสนามบินจึงต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย อาทิ ปัญหาความปลอดภัยที่ซับซ้อน ทรัพยากรสำหรับปฏิบัติการที่มีอยู่จำกัด และความพึงพอใจของผู้โดยสารในระดับที่ต่ำ ผลก็คือ การสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างการเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านปริมาณการขนส่งทางอากาศและการขาดแคลนทรัพยากรที่รองรับการปฏิบัติการ กอปรกับกระบวนการให้บริการที่ขาดความแม่นยำและความทันต่อเวลาในการปฏิบัติการ รวมถึงขาดการตรวจสอบทรัพยากรเพื่อสร้างความมั่นใจ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสาร การสั่งการผลิตและการจ่ายงานลดลง
นอกจากนี้ สนามบินต่างๆ ก็เต็มไปด้วยผู้ใช้บริการ แต่การบริหารด้านความปลอดภัยแบบเวอร์ชวลไลซ์ ในสนามบินและมาตรการด้านการควบคุมกลับซับซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ ศักยภาพด้านการตรวจจับ การวิเคราะห์ และการตอบรับทั่วสนามบินต้องได้รับการพัฒนาโดยเร็วที่สุด
ประสบการณ์ของผู้โดยสารเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับสนามบิน การสร้างสนามบินอัจฉริยะจึงต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบประสบการณ์การเดินทางที่น่าพึงพอใจ สะดวกสบายแบบครบวงจร สำหรับผู้โดยสาร ตั้งแต่วินาทีแรกที่ก้าวเข้ามาในสนามบินไปจนถึงการเช็คอิน โหลดกระเป๋า เช็คความปลอดภัย รอเที่ยวบิน การเปลี่ยนเครื่อง และการรับกระเป๋า
โซลูชั่น Smart Airport 2.0 ของหัวเว่ยที่เพิ่งเปิดตัวนี้ใช้เทคโนโลยีไอซีทีใหม่ล่าสุด อาทิ การทำงานร่วมกันด้านดิจิทัล คลาวด์คอมพิวติ้ง เทคโนโลยี IoT และบิ๊กดาต้า เพื่อจัดโครงสร้างการถ่ายโอนข้อมูลของสนามบินใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์หลายอย่างกับสนามบินอัจฉริยะทั้งในด้านความมั่นใจด้านปลอดภัยเชิงปฏิบัติการ การเคลื่อนย้าย ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และคุณภาพของบริการสำหรับผู้โดยสารและองค์กรต่างๆ จากมุมมองด้านความปลอดภัยของอาคารผู้โดยสาร การบริหารลานจอดเครื่องบิน และประสบการณ์ของผู้โดยสาร โซลูชั่น Smart Airport 2.0 มีดีไซน์รองรับทุกรูปแบบสถานการณ์ ทุกขั้นตอนของการบินเข้าออกสนามบินของเครื่องบินและของผู้โดยสาร โซลูชั่นนี้ยังมอบประสบการณ์สำหรับผู้โดยสารด้วยระบบอัพเดทสถานการณ์ทั่วสนามบิน ฟังก์ชั่นความปลอดภัยอันทันสมัย และการทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาด
กระบวนการดำเนินงานแบบเวอร์ชวลไลซ์ ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและการมองเห็นภายในสนามบิน
ประสิทธิภาพการปฏิบัติการของสนามบินถือเป็นเรื่องสำคัญเพื่อประโยชน์และระดับบริการของสนามบินเอง โซลูชั่น Smart Airport 2.0 ของหัวเว่ยช่วยให้สนามบินสามารถดำเนินการจัดสรรหลุมจอดเครื่องบินอัจฉริยะ แสงไฟฟ้านำร่องอัจฉริยะ และการจัดการภาคพื้นแบบเวอร์ชวลไลซ์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติการให้ดีขึ้นและลดระยะเวลาการ Turnaround ของเที่ยวบินได้
ยกตัวอย่างการจัดสรรเครื่องบินแบบชาญฉลาด สนามบินอาจจะทำการจัดสรร โดยใช้บิ๊กดาต้าและ AI ซึ่งจะช่วยเพิ่มการใช้งานระเบียงและสะพานเทียบเครื่องบินได้ และเพิ่มอัตราผู้โดยสารบนสะพานได้อีกร้อยละ 10 เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารประหยัดเวลาได้ 2,300 ชั่วโมงต่อวัน
โซลูชั่นระบบนำร่องอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IoT จะสามารถติดตามและควบคุมแสงไฟนำทางได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นปัญหาของอุตสาหกรรมการบินมานานแล้ว ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจสอบโดยคนได้มากกว่า 10,000 ชั่วโมงต่อคนต่อปี ระบบนำร่องดังกล่าวยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอากาศยานบนรันเวย์และแท็กซี่เวย์ นอกจากนี้ โซลูชั่นที่จัดการระบบภาคพื้นแบบเวอร์ชวลไลซ์ ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี LTE และแพลตฟอร์มการสื่อสารแบบบูรณาการของหัวเว่ยยังส่งสัญญาณไร้สายในระยะไกลได้สูงสุดถึง 3 กิโลเมตรช่วยให้เครือข่ายกับอุปกรณ์ปลายทางสามารถส่งบริการเสียง ดาต้า และวิดีโอพร้อมกันทีเดียวได้ และตรวจสอบควบคุมยานพาหนะภาคพื้นดินได้ตามเวลาจริง พร้อมความสามารถในการตรวจสอบความเร็วและสถานที่ได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจถึงความสามารถในการมองเห็นกระบวนการสนับสนุนการบินทั้งหมด ทั้งยังช่วยลดและควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
ความปลอดภัยแบบวิชวลไลซ์ รังสรรค์ท่าอากาศยานอัจฉริยะ เปี่ยมประสิทธิภาพ
โซลูชั่นสมาร์ทแอร์พอร์ต 2.0 ของหัวเว่ยมีระบบกล้องวงจรปิดแบบพาโนรามาที่ปรับใช้งานได้ตามต้องการและระบบป้องกันอัจฉริยะครอบคลุมในพื้นที่เพื่อเสริมความปลอดภัยของสนามบิน ด้วยกล้องอัจฉริยะ 4K และเครือข่ายแบบพาสซีฟออพติคอลสำหรับช่องทางสื่อสารภาคพื้นดินที่รวดเร็วผ่านวิดีโอ เจ้าหน้าที่ในศูนย์สั่งการของท่าอากาศยานจึงสามารถตรวจสอบดูแลกระบวนการทั้งหมดในการเทคออฟและแลนดิ้ง การติดตามเที่ยวบินอัตโนมัติ และระบบรักษาความปลอดภัยแบบ UHD ได้อย่างสมบูรณ์โดยไร้ที่ติ จากการเชื่อมระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะเข้ากับเทคโนโลยี IoT ระบบเตือนภัยเซ็นเซอร์จะมีการวิเคราะห์โดยอัตโนมัติผ่านระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะเพื่อคัดกรองข้อมูลที่คลาดเคลื่อนออกไป สามารถลดอัตราการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดจากร้อยละ 99 ให้เหลือเพียงร้อยละ 10 กระบวนการดังกล่าวจึงนำไปสู่การพลิกโฉมจากระบบป้องกันทางเทคนิคไปเป็นระบบป้องกันแบบอัจฉริยะ
บริการวิชวลไลซ์ ความสะดวกจากองค์กรสู่องค์กรและบริการคุณภาพสูงเพื่อผู้โดยสาร
โซลูชั่นบริการสมาร์ทแอร์พอร์ทแบบวิชวลไลซ์ของหัวเว่ยใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ IoT การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า และระบบจดจำข้อมูลทางชีวภาพ ช่วยให้สนามบินสามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานแก่ผู้โดยสารได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้าของระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ผู้โดยสารจึงสามารถผ่านเข้าสู่จุดเช็คความปลอดภัยไปจนถึงขั้นตอนการขึ้นเครื่องได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สแกนใบหน้า ระบบก็จะแสดงข้อมูลเที่ยวบินของผู้โดยสารและแผนที่นำทางไปยังประตูขึ้นเครื่องโดยอัตโนมัติผ่านหน้าจอแสดงผลข้อมูลเที่ยวบิน
จากการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้งาน ผู้โดยสารจึงสามารถดูสถานะและตำแหน่งการโหลดกระเป๋าได้แบบเรียลไทม์ตั้งแต่จุด Drop-off สามารถติดตามการขนย้ายและแสดงสิทธิ์เพื่อป้องกันกระเป๋าสูญหาย การนำเทคโนโลยีระบุตำแหน่งภายในอาคารด้วย Wi-Fi มาใช้ช่วยให้โอเปอเรเตอร์ในสนามบินเก็บข้อมูลตัวเลขจำนวนผู้โดยสารได้อย่างรวดเร็ว และปรับระยะเวลาดำเนินการในบริเวณจุดตรวจเช็คความปลอดภัยได้แบบเรียลไทม์ ช่วยลดระยะเวลาที่ผู้โดยสารต้องรอได้
"หัวเว่ยได้นำโซลูชั่น ICT แบบครบวงจรมาให้บริการในสนามบิน ซึ่งมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน ครอบคลุมทั้งระดับคลาวด์ ไปป์ และดีไวซ์" มร. หลิว จ้งเหิง ประธานบริหาร อุตสาหกรรมการขนส่ง กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าว "โซลูชั่นนี้ได้ช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบินให้มีความเป็นอัจริยะด้วยระบบไอซีที รวมถึงยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้โดยสารให้ดียิ่งขึ้น นับเป็นคุณค่าที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย ลูกค้าและพันธมิตรในการสร้างสรรค์สนามบินอัจฉริยะที่เชื่อมโยงสื่อสารได้อย่างเต็มรูปแบบ มีความชาญฉลาดและสะดวกสบายสำหรับผู้โดยสาร ในอนาคตหัวเว่ยจะยังคงคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เน้นพัฒนาโซลูชั่น ICT ที่ใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง ระบบเชื่อมต่อผ่านโมบายล์ เทคโนโลยี IoT และบิ๊กดาต้า ทำให้ลูกค้าสามารถก้าวไปสู่การพลิกโฉมทางดิจิทัลได้สำเร็จ และสร้างสนามบินอัจฉริยะที่พร้อมขับเคลื่อนสู่อนาคต"
หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรผู้สร้างการพลิกโฉมทางดิจิทัลให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งที่ผ่านมาหัวเว่ยได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการด้าน ICT แก่สนามบิน สายการบิน และหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการจราจรทางอากาศกว่า 50 แห่ง โดยในจำนวนนี้มีสนามบินระดับโลก 15 แห่งที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 30 ล้านคนในแต่ละปี หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะยกระดับความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สร้างประโยชน์ที่พึงมีร่วมกันทั้งกับสนามบิน ลูกค้าและพันธมิตรในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อพลิกโฉมใหม่ให้กับอนาคตด้วยนวัตกรรม
หัวเว่ยร่วมกับพันธมิตรและลูกค้านำเสนอโซลูชั่นใหม่ๆ ที่เตรียมพร้อมไปสู่การพลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัล โดยได้ร่วมกันแสดงนวัตกรรมที่งาน CEBIT ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ดินแดนต้นตำรับแห่งดนตรีคลาสสิค ภายในงานยังมีกิจกรรมและการแบ่งปันแนวปฏิบัติต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติ้ง, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), บิ๊กดาต้า, อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และ Software-Defined Networking (SDN หรือเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์) ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลในปัจจุบัน