NIDA Poll เรื่อง ทัวร์ศูนย์เหรียญต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย

ข่าวทั่วไป Monday July 16, 2018 10:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ทัวร์ศูนย์เหรียญต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,268 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัวร์ศูนย์เหรียญต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบ แบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงผลกระทบจาก "ทัวร์ศูนย์เหรียญ" ต่อการท่องเที่ยวของไทย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 17.59 ระบุว่า มีผลกระทบมากที่สุด ร้อยละ 58.36 ระบุว่า มีผลกระทบมาก โดยผู้ที่ระบุว่า มีผลกระทบมาก - มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า ทำให้เสียภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ สูญเสียรายได้ที่จะเข้าประเทศ และทำให้ทรัพยากรทางธรรมชาติถูกทำลาย ร้อยละ 14.91 ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลกระทบ ร้อยละ 7.96 ระบุว่า ไม่มีผลกระทบเลย โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลกระทบ - ไม่มีผลกระทบเลย ให้เหตุผลว่า ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย นักท่องเที่ยวให้ความสนใจสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า และร้อยละ 1.18 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต พบว่า ประชาชน ร้อยละ 5.44 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 51.03 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมาก โดยผู้ที่ระบุว่า เชื่อมั่นมาก - มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า ภูเก็ตมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้ดีพร้อมกับมีหน่วยงานที่เก่งและมีความสามารถ ร้อยละ 33.99 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น ร้อยละ 5.91 ระบุว่า ไม่มีความเชื่อมั่นเลย โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น - ไม่เชื่อมั่นเลย ให้เหตุผลว่า ส่วนราชการไม่มีความโปร่งใส ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ขาดการบริหารจัดการ และการควบคุมที่ดี และร้อยละ 3.63 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.41 ระบุว่า การกระตุ้นมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว รองลงมา ร้อยละ 36.36 ระบุว่า การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของไทยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น ร้อยละ 33.52 ระบุว่า การปฏิบัติตนของประชาชนในการเป็นเจ้าภาพที่ดีให้กับประเทศ ร้อยละ 32.26 ระบุว่า การจัดตั้ง ศูนย์ดูแลนักท่องเที่ยว ร้อยละ 25.55 ระบุว่า การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีความตระหนักและเห็นคุณค่าในเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทย และร้อยละ 0.87 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด ขณะที่บางส่วนระบุว่า ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทยดีอยู่แล้ว และไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงข้อเสนอแนะให้ภาครัฐ/ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดการกับทัวร์ศูนย์เหรียญ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.78 ระบุว่า ออกกฎหมาย/บทลงโทษ ในการควบคุมบริษัทนำเที่ยว รองลงมา ร้อยละ 31.07 ระบุว่า ยึดใบอนุญาตบริษัทนำเที่ยว ร้อยละ 27.68 ระบุว่า ควบคุมจำนวนทัวร์ศูนย์เหรียญ ร้อยละ 26.74 ระบุว่า จับ/ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้อยละ 0.71 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่ให้ดำเนินกิจการต่อไป และร้อยละ 4.50 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 10.33 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 29.34 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 28.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.83 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 56.70 เป็นเพศชาย และร้อยละ 43.30 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.10 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.98 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.84 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.26 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.32 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.50 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 92.43 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.23 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.18 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.32 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 71.21 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.08 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.39 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 23.66 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.62 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.18 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.76 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.71 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.33 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.28 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.29 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.64 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.48 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.96 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.23 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.79 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.51 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.13 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.57 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.65 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.67 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ