กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--เอ็ม ที มัลติมีเดีย
บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ส่องเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าดีต่อเนื่อง ดีเดย์ 18-26 ก.ค.นี้ เปิดขาย IPO กองทุนใหม่ 'ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม พลัส เฮลท์' (CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUS) ทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนพร้อมรับสิทธิประโยชน์เพิ่มความคุ้มครองประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ชูนโยบายเข้าลงทุน Property Fund และ REITs ในไทยและต่างประเทศ หลังภาพรวมตลาดออฟฟิศให้เช่าในไทยและสิงคโปร์มีอัตราพื้นที่ว่างอยู่ในระดับต่ำและค่าเช่าที่สูงขึ้น ส่วนในญี่ปุ่นจะได้รับปัจจัยหนุนจากดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและการเข้าซื้อ J-REIT ของธนาคารกลางญี่ปุ่น
นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ได้เปิดตัวกองทุนเปิด 'ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม พลัส เฮลท์' หรือ CIMB-Principal Property Income Plus Health Fund(CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUS) มีทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนที่ผู้ลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองด้านประกันชีวิตและสุขภาพ (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) พร้อมๆ กับโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดีและต่อเนื่องในระยะยาวจากการลงทุนในกองทุนรวมหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์
จุดเด่นของกองทุนในส่วนของสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองด้านประกันชีวิตและสุขภาพคือ การคัดเลือกบริษัทประกันชั้นนำ ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดยผู้ลงทุนสามารถได้รับสิทธินี้เมื่อลงทุนในกองทุนฯ ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป โดยมีแผนความคุ้มครองทั้งหมด 5 แผนตามมูลค่าเงินลงทุน หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างลูกค้าที่ซื้อแผนประกันสุขภาพโดยตนเองค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าพอสมควร และมีการจำกัดอายุผู้ถือกรมธรรม์ที่สูงสุด 65 ปี ในขณะที่สิทธิประโยชน์ฯ ที่ให้กับลูกค้าอายุได้ถึง 75 ปี โดยครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (สำหรับแผนที่ 2-5) และการให้การตรวจสุขภาพ Health Check-up สำหรับผู้ลงทุนในแผน 5 เชื่อว่ากองทุน CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUS มีนโยบายการลงทุนที่ดีเหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการลงทุนระยะยาวและรับผลตอบแทนจากเงินปันผล ในขณะที่ได้รับเพิ่มเติมในสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองประกันชีวิตและสุขภาพ
นายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยที่เปิดตัวกองทุนเปิด CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUSเนื่องจากมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ REITs ที่มีความผันผวนค่อนข้างต่ำและให้ผลตอบแทนโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตได้ประมาณ 3.9% นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและยุโรป
โดยทีมจัดการลงทุนประเมินว่าภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าในประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่ดี จากความต้องการเช่าพื้นที่และอัตราค่าเช่าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีก โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/2561 ภาพรวมอาคารสำนักงานให้เช่าในกรุงเทพฯ มีอัตราพื้นที่ว่าง 7.3% ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ส่วนออฟฟิศให้เช่าเกรดเอ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของกรุงเทพฯ มีค่าเช่าเฉลี่ย 998 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน (ข้อมูลจากCBRE) และพื้นที่ค้าปลีก (Retail) ในกรุงเทพฯ มีอัตราพื้นที่ว่าง 6.4% จากพื้นที่รวม 7.44 ล้านตารางเมตร (ข้อมูลจาก CBRE) โดยมีปัจจัยบวกจากดัชนีค้าปลีกและนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เติบโตได้ดี จึงทำให้การลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และ REITs ในประเทศไทยยังน่าสนใจ เนื่องจากให้ผลตอบแทนโดยรวมที่ดีและมีความผันผวนค่อนข้างต่ำ
ขณะที่การลงทุน REITs ในประเทศสิงคโปร์ แม้ว่าราคาได้ปรับลดลงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ยังคงสามารถเลือกลงทุนเป็นรายตัวใน REITs ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี โดยภาพรวมออฟฟิศให้เช่าในสิงคโปร์ช่วงไตรมาส 1/2561 มีอัตราพื้นที่ว่างเฉลี่ยเพียง 5.9% ส่วนค่าเช่าพื้นที่ออฟฟิศเกรด A ในย่าน CBD เพิ่มขึ้น 8.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกลุ่ม
Co-working space เป็นธุรกิจที่มาแรง เช่นเดียวกับกลุ่ม Business Park ที่มีซัพพลายใหม่ค่อนข้างจำกัด จึงส่งผลดีต่อแนวโน้มการขึ้นค่าเช่าในอนาคต ส่วน REITs ในประเทศญี่ปุ่นยังคงความน่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากจะได้รับปัจจัยบวกจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การคงมาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการตั้งเป้าเข้าซื้อ J-REIT ของธนาคารกลางญี่ปุ่น
"เรามองว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ REITs ในไทยและต่างประเทศ ยังเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาวจากเงินปันผล โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก แต่ REITs ยังคงให้ผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ และยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการเช่าพื้นที่และอัตราค่าเช่าที่มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตอีกด้วย โดยกองทุนนี้มีกลยุทธ์การลงทุนที่คล้ายกับ CIMB-PRINCIPAL iPROP เราบริหารมากกว่า 6ปีทำให้เรามีความเชี่ยวชาญในการลงทุนสินทรัพย์ประเภทนี้ โดยกองทุน CIMB-PRINCIPAL iPROP – R (ชนิดขายคืนอัตโนมัติ) ให้ผลตอบแทนนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 10.13%สูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบอยู่ที่ 4.53%" นายวิน กล่าว
กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม พลัส เฮลท์ (CIMB-PRINCIPAL iPROPPLUS) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 18 – 26 กรกฎาคม2561 มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 2 ครั้ง กำหนดวงเงินสั่งซื้อขั้นต่ำครั้งละ 50,000 บาท สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถขอหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา ทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด โทร.02 686 9595 website www.cimb-principal.co.th
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ผู้ลงทุนทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้/กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก กองทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปมีสิทธิได้รับความคุ้มครองประกันชีวิต และประกันสุขภาพ โดย บลจ. เป็นผู้รับภาระในการชำระค่าเบี้ยประกันทั้งหมด โดยรวมอยู่ในค่าธรรมเนียมการจัดการของกองทุนรวม/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ชื่อกองทุน ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
3 เดือน 6 เดือน 1 ปี1 3 ปี1 5 ปี1 ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน1
CIMB-PRINCIPALiPROP-A(%) 1.70 3.03 9.12 8.86 6.65 10.69
CIMB-PRINCIPALiPROP–D(%) 1.74 3.19 9.37 8.97 6.70 10.29
CIMB-PRINCIPALiPROP-R(%) 1.73 3.14 9.36 8.98 6.70 10.13
CIMB-PRINCIPALiPROP-C(%) 1.72 3.17 9.44 9.05 n/a 16.53
Benchmark(%) 0.50 -0.55 6.19 3.27 1.41 4.53
1 % ต่อปี (Annualized Return) หากกองทุนจัดตั้งมาแล้ว 1 ปีขึ้นไป
2 Information Ratio: แสดงความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการสร้างผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง
*เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ : SETPFUND Index 50.00% + FSTREI Index (THB) 50.00%
Source: source: Bloomberg, Bloomberg as of 31 May 2018
ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถรับประกันผลตอบแทนในอนาคต