ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้มากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday July 17, 2018 17:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--New Wave Marketing Network ประเทศไทยจัดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคนี้มีการนำมาปัญญาประดิษฐ์มาใช้ถึง 17.1 % แต่จำนวนผู้เชี่ยวชาญกลับมีไม่เพียงพอ ผลการสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดย IDC บริษัทวิจัยการตลาดและให้คำปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลกในหัวข้อ IDC Asia/Pacific Enterprise Cognitive/AI survey ชี้ให้เห็นว่าการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้ในภูมิภาคนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมองภาพรวมของทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 14 % เปรียบเทียบกับเพียง 8 % ของปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามีหลายบริษัทนำปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ได้อย่างอัจฉริยะของระบบคอมพิวเตอร์ (AI/cognitive intelligence) เข้ามาฝังไว้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น มีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 52% จัดลำดับให้ความต้องการค้นหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกทางธุรกิจ (business insights) ได้ดีขึ้นเป็นพลังผลักดันที่สำคัญที่สุดในการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ เหตุผลนี้ถูกเลื่อนจากอันดับ 3 ในปีก่อนขึ้นมา เผยให้เห็นว่าตลาดในภูมิภาคนี้มีกำลังมีวุฒิภาวะ (maturity) เพียงพอที่จะนำ AI มาช่วยขยายธุรกิจได้ เหตุผลอื่นในลำดับต้น ๆ ที่เป็นตัวผลักดันการนำ AI เข้ามาใช้มีเรื่องของความต้องการเพิ่มความเป็นอัตโนมัติในกระบวนการทำงาน (51%) และปรับปรุงความสามารถในการผลิต (42%) ประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของภูมิภาคในการนำ AI เข้ามาใช้ถึง 24.6 % ขององค์กรทั้งหมดในประเทศ ตามด้วยอันดับสองคือประเทศไทย (17.1%) สิงคโปร์ (9.9%) และมาเลเซีย (8.1%) ประเภทการใช้งานในระดับต้น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ใช้สร้าง algorithm ในการคาดการณ์ตลาด (17%) และการบริหารจัดการสินทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นอัตโนมัติ (11%) "ผลกระทบในเชิงบวกมีให้เห็นชัดเจนทั่วไปในภาคธุรกิจธนาคาร โรงงานการผลิต การดูแลสุขภาพและภาครัฐ มีโอกาสใหม่ ๆ ที่เห็นชัดได้เปิดให้องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถนำ AI เข้ามาสร้างความแตกต่างเชิงมูลค่าให้แก่องค์กรของตน เราคาดหวังว่าจะมีการลงทุนใน AI อย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีองค์กรมากขึ้นเริ่มเข้าใจผลประโยชน์ที่ได้จากการนำ AI มาฝังไว้ในกระบวนการทำงานทางธุรกิจ และมีเข้าใจมากขึ้นในเรื่องของการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ช่วยให้ค้นพบข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึก (insight) ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ องค์กรที่ไม่สนใจนำ AI มาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจของตนจะพ่ายแพ้ให้แก่คู่แข่งที่นำ AI เข้ามาใช้ซึ่งจะได้ประโยชน์จากความสามารถคาดการณ์ได้แม่นยำ มีประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากขึ้น ซึ่งเกิดจากความสามารถในการวิเคราะห์ที่ก้าวล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง" กล่าวโดย คุณฉวี กาน ชู (Chwee Kan Chua) ผู้อำนวยการการวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับบิ้กเดต้าและการวิเคราะห์ การเรียนรู้/ปัญญาประดิษฐ์ ของ IDC Asia/Pacific ต้นทุนที่สูงมากและการขาดผู้เชี่ยวชาญเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำ AI เข้ามาใช้งาน แม้ว่าการนำ AI เข้ามาใช้จะสูงขึ้น แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ยังตามหลังในภูมิภาคเอเชียเหนือ ในเรื่องของการกำหนดให้ AI เป็นวาระหลักในแผนเชิงกลยุทธ์ (strategic agenda) ของตน อย่างเช่น มีบริษัทมากกว่า 80% ในประเทศจีนและเกาหลีไต้เชื่อว่าการที่ตนมีความสามารถในเชิง AI จะเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ (critical) ต่อการประสบความสำเร็จและการมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคตอันใกล้ เปรียบเทียบกับบริษัทที่เชื่อในเรื่องนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีไม่ถึง 40% การขาดทักษะและความรู้ (23%) และต้นทุนโซลูชั่นด้าน AI ที่สูง (23%) เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำ AI มาใช้งานตามความเห็นของผู้ตอบแบบสำรวจ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยภาพรวมยังล้าหลังกว่าภูมิภาคเอเชีย/แปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) เป็นสัญญาณเตือนภัยให้องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ควรจะรีบนำ AI มาใช้เสียโดยเร็ว ตัวอย่างเช่น 40% ขององค์กรในประเทศไทยตอบว่าอยากจะให้ระบบ ERP ของตนมี AI เข้ามาช่วยงาน ชี้ให้เห็นความต้องการค่อนข้างสูงที่อยากให้ใช้ AI มาช่วยในการชี้นำและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การทำให้กลยุทธ์การนำ AI มาใช้สร้างความแตกต่างเชิงธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นนั้น บริษัททั้งหลายพบว่ามีข้อมูลกระบวนการขาย (Sales) การพาณิชยกรรม (Commerce) และการตลาด (Marketing) พร้อมที่สุด ตามมาด้วยข้อมูลจากการดำเนินงานด้านบริการและการช่วยเหลือลูกค้า (Customer Services & Support) และข้อมูลจากการดำเนินงานด้าน IT , การรักษาความปลอดภัยและความเสี่ยง (Security & Risk) สำหรับองค์กรที่ได้เดินทางบนเส้นทางใช้ข้อมูลแสวงหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกแล้ว (data-to-insights journey) ในแต่ละภาคธุรกิจล้วนประสบกับความท้าทายที่แตกต่างกัน องค์กรในภาคการเงินพบความท้าทายค่อนข้างมากในเรื่องการทำ data federation และ data building ขณะที่องค์กรภาครัฐประสบกับปัญหาความไม่พร้อมของข้อมูล (data readiness) บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยประสบกับปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในประเทศไทยมีองค์กรถึง 17.1% ตอบว่าได้นำ AI มาใช้ในรูปแบบบางอย่างแล้ว ถือได้ว่าเทคโนโลยีนี้เป็นค่อนข้างมีความคืบหน้าในประเทศไทย องค์กรในภาครัฐ ภาคการดูแลสุขภาพและภาคการค้าปลีกเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่นำ AI เข้ามาใช้ ในบริษัทค้าปลีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ลงทุนจากประเทศจีน วางเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างสรรค์ประสบการณ์แปลกใหม่ให้ผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้จดจำหน้าและภาพเข้ามาช่วย ในเรื่องของการใช้งาน โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจจับภัยคุกตาม/ความผิดปกติ (Threat/anomaly Detections) และ การตรวจสอบคุณภาพโดยอัตโนมัติ (Automated Quality Inspections) เป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ ในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ การนำ AI มาพัฒนาใช้งานในเรื่องนี้จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างเช่นอุตสาหกรรมโรงงานผู้ผลิต แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยตอบแบบสำรวจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงอันดับแรกเลยว่าการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เป็นอุปสรรคที่สำคัญมาก ๆ ประกอบกับมีองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยถึง 80% เห็นว่าความสามารถของ AI เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการอยู่รอดในเชิงการแข่งขันขององค์กรของตนในอนาคต ถือว่าสูงที่สุดในอาเซียนเลย แสดงให้เห็นเข้าใจผิดในการจับคู่ระหว่างการรับรู้ความเร่งด่วนในการนำ AI เข้ามาใช้งานกับการมีเครื่องมือที่จะนำ AI มาใช้ สิ่งที่จะต้องรีบทำอย่างยิ่งคือการแสวงหา แนวทาง เครื่องมือและแพลตฟอร์มที่เหมาะสมมาช่วยลดผลกระทบจากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ (talent shortage) "AI และการวิเคราะห์จะเพิ่มความสามารถให้พนักงานและเป็นพลังสำคัญในการผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เรารู้สึกยินดีมากที่จะได้เห็นองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยตระหนักถึงการเพิ่มความสามารถในการผลิต (productivity) และประสิทธิภาพในการทำงาน (efficiency) ด้วยการนำ AI เข้ามาใช้" กล่าวโดยคุณ ณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด "อย่างไรก็ตามการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นจริงและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรธุรกิจและภาครัฐในไทยจะต้องร่วมมือกันพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องและทำให้ความสามารถในการวิเคราะห์เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรสามารถเข้าถึงได้" IDC Asia/Pacific Enterprise Cognitive/AI survey เป็นรายงานการศึกษาที่จัดทำขึ้นทุก ๆ ปีเพื่อศึกษาแนวโน้มการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ความท้าทายและอุปสรรคสำคัญ และการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ทางธุรกิจ ในปี 2018 การศึกษานี้ครอบคลุมผู้บริหารและผู้นำในเรื่องทาง IT ของธุรกิจจำนวน 502 ท่านทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ 146 ท่านอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย) เกี่ยวกับบริษัท แซส แซส (SAS) เป็นผู้นำในการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ด้วยซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นนวัตกรรม (innovative analytics) ระบบการวิเคราะห์ธุรกิจอัจฉริยะ (business intelligence) และระบบการจัดการข้อมูล (data management) แซสช่วยเหลือลูกค้าที่มีมากกว่า 83,000 แห่งทั่วโลก ให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา แซส เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น "พลังแห่งการรอบรู้" หรือ The Power to Know(R) สำหรับลูกค้าทั่วโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ