กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ "สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เรื่อง "CEO Survey ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครึ่งหลัง ปี 2561" โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูง (CEO) ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้นจำนวน 81 ราย เกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครึ่งหลังปี 2561 ในมุมมองของผู้บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 10 กรกฎาคม 2561 อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกับสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามภูมิภาค เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การส่งแฟกซ์ และการส่งแบบสอบถามทางออนไลน์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ 41.98 ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัว ร้อยละ 43.21 ระบุว่า ทรงตัว และร้อยละ 14.81 ระบุว่า หดตัว โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัวนั้น ร้อยละ 61.77 ระบุว่า จะขยายตัว 1% – 5% ร้อยละ 14.71 ระบุว่า ขยายตัว 6% – 10% ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะหดตัวนั้น ร้อยละ 41.67 ระบุว่า จะหดตัว 1% – 5% ร้อยละ 16.67 ระบุว่า หดตัว 6% – 10% ร้อยละ 33.33 ระบุว่า หดตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และร้อยละ 8.33 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ 43.21 ระบุว่า จะขยายตัว ร้อยละ 40.74 ระบุว่า ทรงตัว และร้อยละ 16.05 ระบุว่า จะหดตัว โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะขยายตัวนั้น ร้อยละ 54.29 ระบุว่า จะขยายตัว 1% – 5% ร้อยละ 22.86 ระบุว่า จะขยายตัว 6% – 10% ร้อยละ 5.71 ระบุว่า จะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และร้อยละ 17.14 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะหดตัวนั้น ร้อยละ 38.46 ระบุว่า จะหดตัว 1% – 5% ร้อยละ 23.08 ระบุว่า จะหดตัว 6% – 10% และจะหดตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 15.38 ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ
สำหรับการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงที่มีการส่งออก ร้อยละ 58.82 ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ทรงตัว และร้อยละ 19.12 ระบุว่า จะลดลง โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะเพิ่มขึ้นนั้น ร้อยละ 40.00 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 1% – 5% ร้อยละ 35.00 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 6% – 10% ร้อยละ 15.00 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ขึ้นไป และร้อยละ 10.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 จะลดลงนั้น ร้อยละ 53.85 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 1% – 5% ร้อยละ 7.69 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้น 6% – 10% ร้อยละ 15.38 ระบุว่า จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ขึ้นไป และร้อยละ 23.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อแผนการลงทุน ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.98 ระบุว่า ไม่มีแผนการลงทุน รองลงมา ร้อยละ 40.74 ระบุว่า มีแผนการลงทุนในประเทศ ร้อยละ 13.58 ระบุว่า มีแผนการลงทุนต่างประเทศ และร้อยละ 3.70 ระบุว่า มีแผนการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้านประเทศที่ผู้บริหารระดับสูงมีแผนการลงทุน พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.29 ระบุว่า มีแผนการลงทุนใน CLMV ร้อยละ 21.43 ระบุว่า มีแผนการลงทุนในสหภาพยุโรป และร้อยละ 14.28 ระบุว่า มีแผนการลงทุนในประเทศจีน
สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 23.46 ระบุว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 21.19 ระบุว่า ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยสนับสนุนการส่งออก และอันดับ 3 ร้อยละ 19.34 ระบุว่า การส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
เมื่อถามถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการประกอบกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 22.76 ระบุว่า กำลังซื้อในประเทศ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 19.51 ระบุว่า ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตโดยรวม และอันดับ 3 ร้อยละ 10.77 ระบุว่า การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากตลาดในประเทศ
ด้านการวางแผนของผู้บริหารระดับสูงในการดำเนินกิจการ ในช่วงครึ่งหลังปี 2561 (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูง ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 28.60 ระบุว่า ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 22.43 ระบุว่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า การลงทุนพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตใหม่ และอันดับ 3 ร้อยละ 17.90 ระบุว่า เร่งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานสินค้า ให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ (3 อันดับแรก) พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ดูแลค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 17.89 ระบุว่า สนับสนุนผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับสินค้าไทยสู่ตลาดโลก และอันดับ 3 ร้อยละ 13.82 ระบุว่า สนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านกำลังแรงงานและคุณภาพแรงงานให้เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของภาคการผลิต
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 64.20 เป็นผู้ประกอบการจากภาคกลาง ร้อยละ 9.88 เป็นผู้ประกอบการ จากภาคเหนือ ร้อยละ 4.94 เป็นผู้ประกอบการจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.40 เป็นผู้ประกอบการจากภาคตะวันออก ร้อยละ 9.88 เป็นผู้ประกอบการจากภาคใต้ และร้อยละ 3.70 ไม่ระบุภูมิภาค
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.64 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น ร้อยละ 12.35 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ร้อยละ 11.11 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล ร้อยละ 3.70 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 22.22 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและยา ร้อยละ 29.63 เป็นผู้ประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน และร้อยละ 12.35 ไม่ระบุกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.34 เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก S (จำนวนแรงงาน น้อยกว่า 49 คน) ร้อยละ 38.27 เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง M (จำนวนแรงงาน 50 – 199 คน) ร้อยละ 39.51 เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ L (จำนวนแรงงานมากกว่า 200 คน) และร้อยละ 9.88 ไม่ระบุขนาดอุตสาหกรรม