กรุงเทพฯ--19 ก.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจเอสเอ็มอีส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 254% พร้อมความต้องการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดของเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (FedEx Express) บริษัทผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุรายใหญ่ที่สุดของโลกในเครือของเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (FedEx Corp) เผยว่าการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี)ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้แรงขับเคลื่อนมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ภาพรวมการส่งออกของธุรกิจเอสเอ็มอีไปยังภูมิภาคอื่นนั้นเพิ่มขึ้น 254% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการส่งออกไปยังนอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 71% ผลวิจัยยังชี้ว่ารูปแบบการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการเติบโตของการนำเข้า[1]และส่งออก[2]ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จากการศึกษาวิจัยในหัวข้อ "จากตลาดภูมิภาคสู่ตลาดโลก: รูปแบบการค้าระหว่างประเทศของธุรกิจขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังเปลี่ยนแปลง"(Global is the New Local: The Changing International Trade Patterns of Small Businesses in Asia Pacific) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้จากการค้าภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่ได้มีสัดส่วนสูงสุดเหมือนในอดีตอีกต่อไป[3] เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆถถึงร้อยละ 71 ได้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการส่งออกภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ร้อยละ 70 นอกจากนี้ นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิก มีจำนวนถึงร้อยละ 62 ที่นำเข้าวัตถุดิบจากนอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2558
สินค้าประเภทต่างๆที่นำเข้าและส่งออกโดยผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิเอเชียแปซิฟิกมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดยการบริการและการออกแบบระดับมืออาชีพมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นว่าตลาดออนไลน์ที่ไร้พรมแดนมีการขยายตัวอย่างมากในปัจจุบัน
"ธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาบนเวทีระดับโลก" คาเรน เรดดิงตัน ประธานกรรมการบริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าว "มีการคาดการณ์ว่าพลังขับเคลื่อนสู่การเติบโตเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไป[4] เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าพวกเขาจะรักษาหรือเพิ่มการส่งออกและนำเข้านอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่อไปในอีก 12 เดือนข้างหน้า เรามีความยินดีที่ได้เห็นว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากขึ้นที่กำลังเติบโตไปสู่ตลาดระดับโลก พร้อมกับมีความต้องการโซลูชั่นส์ด้านโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ผลการศึกษาชี้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟูเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แท้จริงแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจในภูมิภาคนี้มีความกระตือรือร้นและมีความหวังเต็มเปี่ยมว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะให้ประโยชน์แก่ธุรกิจของพวกเขาถึงร้อยละ 61 มากกว่าการประเมินเศรษฐกิจในภาพรวมถึงร้อยละ 41 นอกจากนี้ มีการใช้โซเชียลและโมบายคอมเมิร์ซอย่างกว้างขวางมากขึ้นเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตเมื่อเทียบกับไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนธุรกิจที่มีความสำคัญ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อขยายธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมากมาย ภายใน 12 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มว่าธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกจะยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ก้าวหน้า และซอฟต์แวร์สำหรับระบบอัตโนมัติ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกร้อยละ 66 ระบุว่าแรงจูงใจหลักในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้คือ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานและช่องทางการจัดจำหน่ายซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ
ในขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากขึ้นกำลังมองหาลู่ทางการนำเข้าและส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ พวกเขายังต้องเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในรูปแบบของพิธีการศุลกากร อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และปัญหาด้านการขนส่งที่จะยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตสู่ระดับสากล ธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วทั้งภูมิภาคนี้เห็นพ้องตรงกันว่าผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์
สามารถยกระดับการให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีเนื่องจากส่วนใหญ่ตระหนักว่าการส่งออกและนำเข้ามีความยากลำบากมากขึ้น ธุรกิจเอสเอ็มอีระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าพวกเขากำลังมองหาทางเลือกอื่นในการขนส่งสินค้าซึ่งรวมถึงการขนส่งทางทะเลที่ช้ากว่า (ร้อยละ 70) นอกเหนือจากการขนส่งเร่งด่วนทางอากาศ (ร้อยละ 62)
"ในฐานะที่เป็นบริษัทที่มีความมุ่งมั่นช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตสู่ระดับโลก เราเล็งเห็นถึงโอกาสมากมายที่จะช่วยตอบสนองความต้องการและความจำเป็นต่างๆ รวมถึงตอบโจทย์ความท้าทายที่ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเผชิญในภูมิภาคนี้" เรดดิงตันกล่าวเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย
แฮริส อินเตอร์แอคทีฟ (Harris Interactive) ในฐานะตัวแทนของเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรสจัดทำการศึกษาอย่างเป็นอิสระหัวข้อ "จากตลาดภูมิภาคสู่ตลาดโลก: รูปแบบการค้าระหว่างประเทศของธุรกิจขนาดเล็กในเอเชียแปซิฟิกที่กำลังเปลี่ยนแปลง" (Global is the New Local: The Changing International Trade Patterns of Small Businesses in Asia Pacific) เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายด้านการนำเข้าและการส่งออกที่ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเผชิญ ผลการศึกษาได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเอสเอ็มอีทางออนไลน์และทางโทรศัพท์จำนวน 4,543 คนใน 9 ตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2561 การศึกษาวิจัยครั้งนี้ครอบคลุมตลาดจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม การสัมภาษณ์ถูกแบ่งสรรออกตามประเทศในจำนวนเท่ากัน โดยสอบถามตัวแทนในบริษัทที่มีขนาดแตกต่างกันออกไปได้แก่ขนาดย่อม (พนักงานประจำทำงานเต็มเวลา 1-9 คน) ขนาดเล็ก (พนักงานประจำทำงานเต็มเวลา 10-49 คน) และขนาดกลาง (พนักงานประจำทำงานเต็มเวลา 50-249 คน) ขนาดการสำรวจอยู่ที่ประมาณ 500 คนต่อตลาด
เกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส
เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งแบบด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยให้บริการรับส่งพัสดุที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ สู่ปลายทางกว่า 220 ประเทศทั่วโลก เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส มีเครือข่ายการขนส่งทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศทั่วโลก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจัดส่งพัสดุด่วนในเวลาจำกัด พร้อมทั้งรับประกันการคืนเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด[5]