กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
นายอาทร เตชะธาดา (ที่ 2 จากซ้าย) บรรณาธิการอำนวยการ/ผู้ก่อตั้ง นิตยสาร Elite+ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีลีท ครีเอทีฟ จำกัด จัดงานเลี้ยงฉลองครบรอบ ปีที่ 4 นิตยสารภาษาอังกฤษราย 2 เดือน เพื่อแสดงความขอบคุณแด่ผู้มีอุปการคุณ และระดมทุนมอบแด่ยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นวาระโอกาสที่จะได้มีการพบปะสังสรรค์ สานสัมพันธ์มิตรสหายฝ่ายต่างๆ อันได้แก่ นักการทูตต่างประเทศ สภาหอการค้านานาชาติ ผู้นำทางธุรกิจนานาชาติ สภาอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ผู้แทนสหประชาชาติ แหล่งข่าว ผู้สนับสนุนสมาชิกผู้อ่าน และบุคคลสำคัญในวงการ และธุรกิจการลงทุน ฯลฯ
ดร.พิสุทธิ์ เลิศวิไล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการบริหาร นิตยสาร Elite+ ขึ้นกล่าว "คำว่า "อีลีท" สำหรับเราไม่ได้หมายถึงดารานักแสดงหรือบุคคลในสังคมชั้นสูง กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นอีลีทของเรานั้น คือผู้ที่เป็นคนดี เผื่อแผ่ต่อผู้อื่น นี่คือที่มาของเครื่องหมายบวกในอีลีท พลัส ที่มากกว่าคำว่าอีลีท เราภาคภูมิใจในความเป็นนิตยสารฝีมือคนไทย จากแผ่นดินไทย ซึ่งจะก้าวไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับสากลก้าวสู่ปีที่ 5 นิตยสารอีลีท พลัส ได้เตรียมความพร้อมก้าวสู่ยุคดิจิตอล สามารถเข้าถึงผู้อ่านยุคใหม่ ผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น"
ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ (ขวาสุด) ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ขึ้นกล่าว "อนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของเยาวชน ธนาคารกรุงเทพฯ มุ่งมั่นลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้การสนับสนุนอาคารเรียน ทุนการศึกษา และโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน "CONNEXT ED" โดยเน้นสนับสนุนโรงเรียนไทยในชนบท"
ท่านอานันท์ ปันยารชุน (กลาง) ทูตสันถวไมตรี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ขึ้นบรรยายพิเศษเรื่อง The Desirable Education for the Future of Thailand (โอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย) เพื่อเตรียมประเทศไทยให้ พร้อมรับมือกับโลก ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตในด้านการศึกษา จากทั้งมุมมองของการเรียนรู้ และความเท่าเทียม
- การเรียนรู้ - ระบบการศึกษาของไทยมุ่งเน้นเพียงแค่การเรียนรู้แบบท่องจำมากกว่าการพัฒนาทักษะ ซึ่งหมายความว่า โรงเรียนไม่ได้เตรียมคนหนุ่มสาวให้พร้อมสำหรับโลกแห่งการทำงาน หนทางแก้ไขที่สามารถพัฒนาระบบการศึกษาของเราไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้
1.การลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นในบริการเกี่ยวกับ "การพัฒนาเด็กปฐมวัย" ที่มีคุณภาพสำหรับ เด็กทุกคน ตั้งแต่อาย 3 ถึง 5 ปี
2.ต้องมีการปฏิรูปคือหลักสูตรของโรงเรียน
3.การแก้ปัญหาคือ การพัฒนาคุณภาพครู
- วิกฤติด้านความเท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำมากมายในการเข้าถึงการศึกษาในประเทศไทย
เช่นถ้าคุณอาศัยอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ หรือมีฐานะยากจนหรือเป็นเด็กข้ามชาติ คุณจะมีโอกาสน้อยที่จะเข้าเรียนในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมัธยมศึกษา, คุณจะมีแนวโน้มที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนทรัพยากร และคุณจะอ่านเขียนไม่ค่อยได้ และทำคะแนนได้ไม่ดีในการประเมินผลการเรียนรู้
ขอให้พวกเรามาร่วมมือกันเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียมในชีวิตด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะเราทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างอนาคตที่เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นสำหรับประเทศไทย
โดยในงานมีนายโธมัส ดาวิน (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย, นายชาติศิริ โสภณพนิช (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร (ซ้ายสุด) นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมแสดงความยินดีด้วย