กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผลงานวิจัย เรื่อง การปรับปรุงขั้นตอนการออกแบบฟอร์มภาษีศุลกากรโดยการลดขั้นตอนการวางรหัสศุลกากร ผลงานของ MR. Bunne Chann นักศึกษาต่างชาติ จากประเทศกัมพูชา เข้ามาศึกษาต่อในสาขาวิชา การค้าระหว่างประเทศและธุรกิจโลจิสติกส์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) มีอาจารย์ อัจฉรียา รอบกิจ เป็นที่ปรึกษา การันตรีรับรางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรม การประกวดผลงานสหกิจศึกษาดีเด่น มจพ. ประจำปี 2561 จัดโดยสถาบันสหกิจศึกษาและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไทย-เยอรมัน (TGDE) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาสำหรับคำถามว่า เราจะทำให้กระบวนการนี้ง่ายและรวดเร็วขึ้นได้อย่างไร งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อลดขั้นตอนในการทำงานและเวลาโดยการเชื่อมโยง ระหว่าง SAP และ Microsoft Access โดยแฟ้มข้อความ notepad โดยอัตโนมัติ
ลักษณะเด่นเป็นการพัฒนาระบบโปรแกรมทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) และสามารถพัฒนาเพื่อทำภารกิจระหว่าง SAP และ Microsoft access ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำเข้าและออกของไฟล์ด้วยข้อความโดยอัตโนมัติ กระบวนการที่ได้พัฒนามีความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนเหมือนวิธีเดิม ผู้ใช้งานสามารถประหยัดเวลาได้มากกว่าระบบเดิม
แนวคิดและความเป็นมาของงานวิจัยชิ้นนี้ เมื่อช่วงต้นปี พ. ศ. 2560 มีผู้ทำวิจัยที่เป็นอดีตนักศึกษาสหกิจศึกษาได้เขียนและนำโครงการที่สามารถแก้ปัญหาในการจับคู่รหัสศุลกากรได้โดยใช้ Microsoft เพื่อเข้าถึง SAP ฐานข้อมูลทางด้านเทคนิคของบริษัท และ Iximple ฐานข้อมูลศุลกากรไทย กระบวนการดังกล่าวเริ่มจากการส่งข้อมูลการจัดส่ง ออกไปยัง text ไฟล์ แล้วนำเข้าไฟล์ดังกล่าวเพื่อใช้งานใน Microsoft Access เพื่อแทรกโค้ดศุลกากรเข้าไป หลังจากนั้นไฟล์จะถูกนำออกและใช้ในโปรแกรม เมื่อได้ศึกษาข้อมูลจึงได้ดำเนินการพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้กระบวนการทำงานนั้นสะดวก เรียบง่ายและไม่ซับซ้อนเหมือนวิธีเดิม ผู้ใช้งานสามารถประหยัดเวลาเมื่อนำกระบวนการใหม่มาใช้ นอกจากนี้ยังสามารถลดปัญหาเกิดจากความผิดพลาดของคน (Human Error) อันเนื่องมาจากขั้นตอนที่น้อยลงในกระบวนการนี้ หลังจากเปรียบเทียบขั้นตอนก่อนหน้าและขั้นตอนใหม่เราพบว่าขั้นตอน 5 ขั้นตอน จะช่วยลดขั้นตอนต่อการจัดส่ง ในการปฏิบัติงานประมาณ 10 วินาที มีส่วนช่วยให้บริษัทที่นำกระบวนการและนำการปรับปรุงขั้นตอนการออกแบบฟอร์มภาษีศุลกากร มาใช้นั้น ลดขั้นตอนการวางรหัสศุลกากรแล้วยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้
วิธีการดำเนินงานและการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้พัฒนาดำเนินพัฒนาและออกแบบ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) รวมถึงทดสอบประสิทธิภาพเครื่อง นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์และเทคนิคที่ใช้ในโปรแกรมกระบวนการมีดังต่อไปนี้ โปรแกรม SAP Microsoft Access และMicrosoft Notepad รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากทีมสนับสนุนด้านไอที จากทางบริษัทที่ทำให้การพัฒนาระบบสามารถทำได้จริง และวัดผลเชิงเทคนิคในระยะเวลาของการทำงานกับโครงการใหม่ได้
ประโยชน์การใช้งานวิจัย คือกระบวนการที่เรียบง่ายและซับซ้อนน้อยกว่าวิธีเดิม ประหยัดเวลา ในระยะสั้นโครงการมีส่วนช่วยให้บริษัท ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน งานวิจัยนี้เป็นแนวคิดหรือความคิดในการใช้ฟังก์ชันคู่กับเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินงานแบบลีน (Lean) ทางธุรกิจและการปรับปรุงประสิทธิภาพ ประกอบกับการใช้นวัตกรรมเข้ามาพัฒนาระบบต่างๆ เช่นการผลิต และนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นเดียวกับการเรียนรู้การจัดการแบบลีน เริ่มจากการเรียนรู้ การสร้างคุณค่าจากงานแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) เพื่อเน้นการสร้างคุณค่า และขจัดความสูญเปล่า (Wastes) ได้เป็นอย่างดีพร้อม ๆ กับการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องจะทำให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 2811, 2812