NIDA Poll หนี้ “กยศ.” ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ?

ข่าวทั่วไป Monday August 6, 2018 10:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ส.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง หนี้ "กยศ." ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ? ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,269 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากรณี ไม่ยอมชำระหนี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน ในกรณีที่มีผู้กู้ยืมเงิน "กยศ." ไม่ชำระหนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.06 ระบุว่า ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ ผู้ค้ำยินยอมตามสัญญาที่กำหนดไว้ควรเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงต้องรับผิดชอบร่วมกัน รองลงมา ร้อยละ 43.58 ระบุว่า ไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะ ผู้ค้ำไม่ได้รับประโยชน์จากการกู้เลยและมีส่วนเกี่ยวข้องแค่บางส่วนเท่านั้น ผู้กู้ยืมจึงควรรับผิดชอบทั้งหมด และร้อยละ 2.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับบทลงโทษของผู้กู้ยืมเงิน "กยศ." ที่ไม่ชำระหนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.57 ระบุว่า หักหนี้จากบัญชีเงินเดือนโดยอัตโนมัติ รองลงมา ร้อยละ 31.84 ระบุว่า หักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง ร้อยละ 17.26 ระบุว่า จับ/ปรับ และดำเนินคดีตามกฎหมายขั้นสูงสุด ร้อยละ 14.42 ระบุว่า แบล็คลิสต์ธุรกรรมทางการเงิน ร้อยละ 9.30 ระบุว่า ยึดทรัพย์สิน และร้อยละ 2.13 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความเชื่อมั่นต่อ "กยศ." ว่าจะสามารถติดตามการชำระหนี้กับผู้กู้ยืมได้เงินสำเร็จหรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 8.59 ระบุว่า เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 55.40 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 27.19 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 3.62 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ระบุว่า มีความเชื่อมั่นมาก – มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า มาตรการต่าง ๆ ในการติดตามทวงหนี้ของ กยศ. มีหลากหลายช่องทาง และมีประสิทธิภาพในการนำมาใช้ในการทำงาน ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่น – ไม่มีความเชื่อมั่นเลย ให้เหตุผลว่า กยศ.ไม่มีมาตรการที่ดีพอในการติดตามการชำระหนี้และหลักเกณฑ์ในการดำเนินการต่างๆยังไม่ครอบคลุม ขณะที่บางส่วนระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องนี้ยังไม่เด็ดขาดพอ เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของระบบการติดตามการชำระหนี้ "กยศ." ในปัจจุบัน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 5.28 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด ร้อยละ 41.37 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก ร้อยละ 37.98 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.46 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 5.91 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยผู้ที่ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก – มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า มีระบบการติดตามการชำระหนี้ที่เข้มงวดและเด็ดขาดพอสมควร ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ – ไม่มีประสิทธิภาพเลย ให้เหตุผลว่า มีมาตรการจัดการที่ไม่เด็ดขาด และไม่ต่อเนื่องในการติดตามการชำระหนี้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการให้กู้ยืมและการติดตามการชำระหนี้ของ "กยศ." พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.03 ระบุว่า คัดกรอง ผู้กู้ยืมอย่างละเอียดก่อนให้กู้ยืมเงินว่าต้องมีฐานะยากจนจริง รองลงมา ร้อยละ 37.59 ระบุว่า กำหนดผู้ค้ำประกันให้เป็นบิดา มารดา หรือ ญาติของผู้กู้ยืมเงิน ร้อยละ 30.34 ระบุว่า ติดตาม/ตรวจสอบสถานะประวัติผู้กู้เงิน "กยศ." ตลอดเวลา ร้อยละ 13.00 ระบุว่า ออกกฎหมาย/บทลงโทษขั้นรุนแรง กับผู้ค้างชำระหนี้ "กยศ." ร้อยละ 11.82 ระบุว่า ควบคุมจำนวนเงินกู้กับผู้กู้ยืมเงิน "กยศ." ร้อยละ 11.35 ระบุว่า ยกเลิกการให้มีผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน "กยศ." ที่มิใช่บุคคลในครอบครัว หรือ ญาติ ร้อยละ 0.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก มีงานรองรับกรณีที่ผู้กู้ไม่มีเงินชำระหนี้ หรือยากจนจริง ๆ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ควรยกเลิกการให้กู้เงิน กยศ. ไปเลย และร้อยละ 5.99 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.14 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 27.50 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 16.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 31.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.74 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 51.38 เป็นเพศชาย และร้อยละ 48.62 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 5.67 มีอายุ 16 – 25 ปี ร้อยละ 15.53 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.30 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.46 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.87 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 91.73 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.18 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.94 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 3.15 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 22.70 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.05 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.02 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.23 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 27.27 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.42 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.64 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.21 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.91 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.55 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 13.16 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.42 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.99 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.32 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.37 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.83 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.21 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 3.70 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.14 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.77 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ