กรุงเทพฯ--7 ส.ค.--วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส
สภาวะตลาดวันที่ 06 สิงหาคม 2561 ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,211.10-1,217.89 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ราคาทองคำแท่ง 96.5% ภายในประเทศขายออกอยู่ที่ 19,150 บาทต่อบาททองคำ โดยราคาปรับตัวลดลง 50 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,200 บาทต่อบาททองคำ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFQ18 อยู่ที่ 19,210 บาท โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 40 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 19,170 บาท
(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 16.03 น. ของวันที่ 06/08/61)
แนวโน้มวันที่ 07 สิงหาคม 2561
ผลกระทบเชิงลบต่อตลาดจากการตอบโต้ภาษีระหว่างสหรัฐและจีนไม่รุนแรงเท่าที่เคยเป็นก่อนหน้านี้ หลังจากจีนออกมาตรการตอบโต้ทางการค้าครั้งล่าสุดด้วยการเปิดตัวภาษีใหม่ต่อสินค้านำเข้า เพิ่มอีก 60,000 ล้านดอลลาร์ รวม 5,207 ประเภทจากสหรัฐ รวมถึง ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และเครื่องบินบางส่วน ประกอบกับ นายแลร์รีย์ คัดโลว์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจทำเนียบขาวระบุว่า สหรัฐและสหภาพยุโรป (EU) มีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการเจรจาการค้า และอาจจะประกาศข้อตกลงบางส่วนภายในช่วง 30 วันข้างหน้า แนวโน้มความตึงเครียดทางการค้าที่ลดลงได้ลดความน่าสนใจในการเข้าถือครองดอลลาร์สหรัฐลงซึ่งเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ นอกจากนี้ทองคำได้รับแรงหนุนเพิ่ม เมื่อหยวนฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดรอบ 15 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันศุกร์ หลังจากที่ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า จะกำหนดให้ธนาคารต่างๆคงเงินสำรองไว้เทียบเท่ากับ 20% ของโพสิชั่นฟอร์เวิร์ดปริวรรตเงินตราของลูกค้าตั้งแต่วันจันทร์นี้ อย่างไรก็ตามราคาทองคำขยับขึ้นได้ไม่มากนัก เมื่อราคาขยับขึ้นยังคงมีแรงขายสลับออกมาอย่างชัดเจน สอดคล้องกับสภาทองคำโลก(WGC) ระบุว่า อุปสงค์สำหรับทองคำทั่วโลกไตรมาส 2/2561 ลดลง 4% เมื่อเทียบแบบปีต่อปี อยู่ที่ 964.3 ตัน ขณะที่ยอดซื้อทองคำเพื่อการลงทุนร่วง 9% โดยการซื้อของกองทุน ETF ที่ลดลง 46% ขณะที่ปริมาณการซื้อของธนาคารกลางร่วง 7% ในช่วงเดือนเม.ย. – มิ.ย. รวมทั้งความอ่อนแอของตลาดอินเดียส่งผลให้การใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับลดลง 2% ด้านอุปสงค์สำหรับทองคำทั่วโลกร่วง 6% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อยู่ที่ 1,959.9 ตัน ลดลงจาก 2,086.5 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเป็นระดับต่ำสุดรอบ9 ปี ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบ หากราคาทองคำไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านด้านบนที่ 1,222 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจเห็นการย่อตัวของราคาลงมาบริเวณโซน 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ หลายครั้งที่ราคาทองคำอ่อนตัวลงก็มีแรงซื้อกลับเข้ามา แต่หากราคาสามารถทะลุผ่านกรอบบนไปได้มีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญที่ 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน ทางวายแอลจีมีมุมมองว่า ให้รอเข้าซื้อหากราคาย่อตัวลงมาและไม่หลุดบริเวณแนวรับเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นจากการดีดตัว ประเมินแนวรับไว้ที่ 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำยังมีโอกาสทดสอบแนวต้านที่ 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากหลุดให้รอเข้าซื้อที่แนวรับถัดไปบริเวณ 1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับการทำกำไรให้ดูว่าราคาจะผ่านแนวต้านได้หรือไม่ ถ้าราคาทองคำสามารถทะลุผ่านแนวต้านแรกได้ และรักษาระดับยืนเหนือกรอบราคาได้ แนะนำนักลงทุนที่ถือทองคำอยู่ให้ถือต่อไป ซึ่งราคาทองคำน่าจะสามารถขยับตัวขึ้นต่อไปได้
ทองคำแท่ง (96.50%)
แนวรับ 1,200 (18,850บาท) 1,193 (18,750บาท) 1,186 (18,650บาท)
แนวต้าน 1,222 (19,250บาท) 1,237 (19,500บาท) 1,248 (19,650บาท)
GOLD FUTURES (GFQ18)
แนวรับ 1,200 (19,010บาท) 1,193 (18,900บาท) 1,186 (18,790บาท)
แนวต้าน 1,222 (19,370บาท) 1,237 (19,600บาท) 1,248 (19,780บาท)
หากต้องการทราบทิศทางราคาทองคำและแนวทางลงทุนทองคำ ขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากทีมที่ปรึกษาการลงทุนด้านโกล์ดฟิวเจอร์ส โทร.02-687-9999