กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
โดย คุณเจษฏา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟท์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
ช่วงปลายปีนับเป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองที่น่ายินดี แต่ก็อาจจะวุ่นวายบ้าง เนื่องจากผู้บริโภคต่างก็มีภาระกิจต้องไปจับจ่ายซื้อของ แย่งชิงที่จอดรถในห้างสรรพสินค้า หรือใช้เวลาจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์อย่างเร่งรีบ ในขณะเดียวกัน ผู้ขายสินค้าก็ต้องวุ่นวายกับการบริหารจัดการและตรวจสอบดูแลสต็อกสินค้าอย่างระมัดระวัง รวมถึงประสานงานกับผู้จัดส่งสินค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจะถูกส่งไปยังร้านค้าและส่งถึงมือลูกค้าตามเวลาที่กำหนด
แน่นอนว่าสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นบริการ (Service Oriented Architecture — SOA) อาจช่วยให้ผู้ขายสินค้าเหล่านี้สามารถเพิ่มความคล่องตัว ผนวกรวม และบริหารจัดการแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management - CRM), การวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning - ERP) และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management - SCM) แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เหมาะสมก็คือ การผนวกรวมระบบต่าง ๆ โดยใช้สถาปัตยกรรม SOA กับแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจแล้ว ยังช่วยให้ผู้ค้าปลีกประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในช่วงเทศกาลนี้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ค้าปลีก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะควบคุมการผลิตและส่งมอบสินค้าตามกำหนดเวลา ในขณะที่ตลาดโดยทั่วไปเต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอยอย่างปีใหม่นี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง หลายคนที่พอจำเรื่องหรือภาพยนตร์เกี่ยวกับซานตาคสอสได้ คงจะเคยเห็นวิธีการจัดการโรงงานผลิตของขวัญของซานตาคลอส ที่ถือว่า เป็นกรณีศึกษาอย่างหนึ่ง ในการใช้ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม SOA เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการผลิตของขวัญ
ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 10 ข้อที่ทำให้สถาปัตยกรรม SOA ของซานตาคลอสถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดี:
1. ระดับโลก: โครงสร้างพื้นฐานทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งมอบสินค้าถึงมือเด็ก ๆ หรือลูกค้าทั่วโลกตามเวลาที่กำหนด
2. ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร: สถาปัตยกรรม SOA ช่วยลดช่องว่างระหว่างฝ่ายบริหาร (ซานตาคลอส) กับพนักงาน (ภูติจิ๋ว) ในการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. สนับสนุน BPM: ใช้ความสามารถในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Management - BPM) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและรักษาความสม่ำเสมอในการผลิตและการกระจายของขวัญ
4. ยืดหยุ่น: ช่วยให้โรงงานสามารถคาดการณ์และตอบสนองได้อย่างง่ายดายต่อกิจกรรมช่วงปลายปีที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยไม่ทำให้ระบบงานเกิดสะดุดหรือหยุดชะงัก
5. ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่: สถาปัตยกรรม SOA ใช้บริการที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นพนักงานจึงสามารถรับคำร้องขอทั่วไป (เช่น ตุ๊กตาเด็กผู้หญิง ตุ๊กตาหมี) รวมทั้งจัดการและผนวกรวมคำร้องขอใหม่ๆ (เช่น เครื่องเล่นเกม Wii เครื่องเล่นดีวีดี) โดยใช้แนวทางปฏิบัติเดียวกัน
6. การอ้างอิงมาตรฐาน: วิธีการดังกล่าวช่วยให้ซานตาคลอสสามารถปกป้องทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นเองสำหรับการจัดส่งและการกระจายสินค้า ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานก็สามารถรองรับเครื่องมือ CRM รุ่นล่าสุดสำหรับการจัดการฐานลูกค้าที่ติดต่อกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่าได้อีกด้วย
7. การสื่อสารแบบครบวงจร: ความสามารถในการรองรับการสื่อสารแบบครบวงจร (Unified Communications — UC) ด้วยการรวบรวมและคัดแยกคำร้องแต่ละฉบับที่ถูกส่งมาด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น อีเมล ไปรษณีย์ การพูดคุยโดยตรงกับผู้ช่วยของซานตาคลอส และตอบข้อซักถามที่ส่งผ่านเว็บไซต์ของซานตาคลอส นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐาน SOA จะสามารถรองรับความต้องการในอนาคตสำหรับระบบฝากข้อความ ระบบรับส่งข้อความแบบทันที (Instant Messaging) และการคลิกเพื่อโทรออก (Click-to-Call) ได้อีกด้วย
8. ความปลอดภัย: ความสามารถในการรองรับการปกป้องและใช้ข้อมูลลับร่วมกัน รวมถึงรายชื่อเด็กที่ซุกซนและเด็กที่ทำตัวน่ารัก
9. ความได้เปรียบด้านการแข่งขัน: การส่งมอบของขวัญตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอสร้างความพึงพอใจให้แก่เด็ก ๆ หรือลูกค้า และช่วยให้ซานตาคลอสรักษาความเป็นที่รักในดวงใจของเด็ก ๆ ได้อย่างเหนียวแน่น
10. ทุกคนทราบว่า SANTA ย่อมาจาก Strategic Architecture, Not Tactical Achievements (สถาปัตยกรรมในระดับกลยุทธ์ ไม่ใช่ความสำเร็จเพียงครั้งคราว) ซึ่งเป็นแนวทาง SOA จาก ถิ่นที่พำนักของซานตาคลอส นั่นเอง
นอกจากซานตาคลอสจะถือว่าเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการใช้สถาปัตยกรรม SOA ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังจัดว่าเป็นนักจัดการที่น่าชื่นชม เพราะนอกจากจะมีหน้าที่ในการจัดการดูแลงานกับลูกน้องทั้งหมดแล้ว ยังต้องทำงานทั้งหมดให้สำเร็จลุล่วงภายในเวลาที่กำหนดอีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม SOA สามารถเยี่ยมชมได้ที่ http://www.ibm.com/soa
แผนกประชาสัมพันธ์
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
วีระกิจ โล่ทองเพชร โทร. 02 273 4117 อีเมล์ werakit@th.ibm.com