กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--กทม.
(5 ส.ค.50) ตามที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2550 โดยมี ส.ส.ทั่วประเทศทั้งหมด 480 คน แบ่งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน 80 คนใน 8 กลุ่มจังหวัด และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน โดยในส่วนของ ส.ส.แบบสัดส่วน กรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ 6 (กทม. นนทบุรี สมุทราปราการ) มี ส.ส.แบบสัดส่วนได้รวม 10 คน และ มี ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รวม 36 คน
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2550 กรุงเทพมหานครมีหน่วยเลือกตั้ง 6,323 หน่วย จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวม 4,139,894 คน ไปใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 69.23 ซึ่งที่ผ่านมาในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2549 คนกรุงเทพฯ ไปใช้สิทธิร้อยละ 63.47 และ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2548 ร้อยละ 72.06
ทั้งนี้ การเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน เป็นบัตรดี 2,664,987 บัตร คิดเป็นร้อยละ 92.99 บัตรเสีย 83,495 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.91 และไม่ประสงค์ลงคะแนน 117,507 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.10 ในส่วนของการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นบัตรดี 2,642,104 บัตร คิดเป็นร้อยละ 92.19 บัตรเสีย 39,882 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.39 และไม่ประสงค์ลงคะแนน 184,042 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6.42 โดยพรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส 27 ที่นั่ง พรรคพลังประชาชน ได้ ส.ส.9 ที่นั่ง
เขตเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 6 คลองสามวา คันนายาว บึงกุ่ม หนองจอก คิดเป็นร้อยละ 72.7 ส่วนเขตเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 9 คลองสาน จอมทอง ธนบุรี บางกอกใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 63.10
ผลคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตอย่างไม่เป็นทางการ
ในส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กรุงเทพมหานครแบ่งพื้นที่เป็น 12 เขตเลือกตั้ง มี ส.ส.ได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน รวมเป็น 36 คน โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งสิ้น 387 คน เป็นชาย 331 คน หญิง 56 คน ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต อย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 สัมพันธวงศ์ ดุสิต พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก ปทุมวัน ราชเทวี ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ได้แก่
หมายเลข 4 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 116,707 คะแนน
หมายเลข 5 น.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 112,270 คะแนน
หมายเลข 6 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 109,974 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 2 บางคอแหลมสาทร ยานนาวา คลองเตย วัฒนา ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 13 นายกรณ์ จาติกวณิช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 126,566 คะแนน
หมายเลข 14 นายสมเกียรติ ฉันทวานิช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 124,808 คะแนน
หมายเลข 15 นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 122,534 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 3 ลาดพร้าว ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 7 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 113,146 คะแนน
หมายเลข 8 นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 111,866 คะแนน
หมายเลข 9 นายสรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 108,492 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 4 พญาไท บางซื่อ หลักสี่ จตุจักร ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 10 นายบุญยอด สุขถิ่นไทย พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 113,280 คะแนน
หมายเลข 11 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 111,720 คะแนน
หมายเลข 12 นายสกลธี ภัททิยกุล พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 110,413 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 5 บางเขน สายไหม ดอนเมือง ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคพลังประชาชน ได้ 112,876 คะแนน
หมายเลข 13 นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคพลังประชาชน ได้ 110,963 คะแนน
หมายเลข 15 นายการุณ โหสกุล พรรคพลังประชาชน ได้ 105,367 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 6 คลองสามวา หนองจอก คันนายาว บึงกุ่ม ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 2 นายสมัย เจริญช่าง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 108,944 คะแนน
หมายเลข 1 นายทิวา เงินยวง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 107,058 คะแนน
หมายเลข 12 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคพลังประชาชน ได้ 102,126 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 7 มีนบุรี บางกะปิ สะพานสูง ลาดกระบัง ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 20 นายดนุพร ปุณณกันต์ พรรคพลังประชาชน ได้ 108,613 คะแนน
หมายเลข 19 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคพลังประชาชน ได้ 102,247 คะแนน
หมายเลข 8 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 101,007 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 8 ประเวศ สวนหลวง บางนา พระโขนง ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 7 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 105,457 คะแนน
หมายเลข 8 นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 104,236 คะแนน
หมายเลข 9 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 98,111 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 9 ธนบุรี คลองสาน บางกอกใหญ่ จอมทอง ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 14 นายนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 111,134 คะแนน
หมายเลข 13 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 108,440 คะแนน
หมายเลข 15 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 107,762 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 10 บางขุนเทียน ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางบอน ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 4 นายถวิล ไพรสณฑ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 92,401 คะแนน
หมายเลข 15 นายสากล ม่วงศิริ พรรคพลังประชาชน ได้ 87,019 คะแนน
หมายเลข 13 นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล พรรคพลังประชาชน ได้ 86,359 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 11 ภาษีเจริญ บางแค หนองแขม ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 8 นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 99,745 คะแนน
หมายเลข 7 นายโกวิทย์ ธารณา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 98,561 คะแนน
หมายเลข 1 นายสุธา ชันแสง พรรคพลังประชาชน ได้ 94,946 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 12 ทวีวัฒนา บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ได้แก่
หมายเลข 10 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 110,636 คะแนน
หมายเลข 12 นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 109,992 คะแนน
หมายเลข 11 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 107,901 คะแนน
ผลคะแนน ส.ส.แบบสัดส่วน กทม.
ในส่วนของ ส.ส.แบบสัดส่วน กรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ 6 (กทม. นนทบุรี สมุทราปราการ) มี ส.ส.แบบสัดส่วนได้รวม 10 คน มีพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 24 พรรคการเมือง รวมผู้สมัคร 1,259 คน จาก 31 พรรคการเมืองทั่วประเทศ ทั้งนี้ผลคะแนนเฉพาะแบบสัดส่วน เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร เป็นดังนี้
หมายเลข 1 พรรคเพื่อแผ่นดิน 35,298 คะแนน หมายเลข 2 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 15,824 คะแนน
หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์ 1,413,520 คะแนน หมายเลข 5 พรรคพลังเกษตรกร 2,124 คะแนน
หมายเลข 6 พรรครักเมืองไทย 1,669 คะแนน หมายเลข 7 พรรคแรงงาน 1,996 คะแนน
หมายเลข 8 พรรคเกษตรกรไทย 2,334 คะแนน หมายเลข 9 พรรคประชาราช 9,254 คะแนน
หมายเลข 10 พรรคนิติศาสตร์ไทย 3,125 คะแนน หมายเลข 12 พรรคพลังประชาชน 1,080,643 คะแนน
หมายเลข 13 พรรคชาติไทย 40,840 คะแนน หมายเลข 15 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 35,793 คะแนน
หมายเลข 17 พรรคความหวังใหม่ 2,970 คะแนน หมายเลข 18 พรรคประชากรไทย 5,219 คะแนน
หมายเลข 19 พรรคประชามติ 2,773 คะแนน หมายเลข 20 พรรคไทเป็นไท 1,971 คะแนน
หมายเลข 21 พรรคพลังแผ่นดินไท 2,615 คะแนน หมายเลข 22 พรรคมหาชน 1,195 คะแนน
หมายเลข 23 พรรคคุณธรรม 705 คะแนน หมายเลข 25 พรรคกฤษไทยมั่นคง 354 คะแนน
หมายเลข 26 พรรคอยู่ดีมีสุข 601 คะแนน หมายเลข 27 พรรคไทยร่ำรวย 2,275 คะแนน
หมายเลข 30 พรรคสังคมธิปไตย 810 คะแนน หมายเลข 27 พรรคนำวิถี 1,079 คะแนน
ทั้งนี้ผลคะแนน ส.ส.แบบสัดส่วน ของกรุงเทพมหานคร จะนำไปรวมกับจังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ 6 และคำนวณสัดส่วนของผลคะแนนเลือกตั้งจึงจะทราบบัญชีรายชื่อ ส.ส.แบบสัดส่วนที่ได้รับการเลือกตั้ง