กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "เบบินคา" และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม – 4 กันยายน 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์ภัย ใน 18 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 8 จังหวัด ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ สกลนคร เพชรบุรี นครนายก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และชัยภูมิ ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อน "เบบินคา" และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม – 4 กันยายน 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม ในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน หนองคาย นครพนม บึงกาฬ เพชรบุรี สกลนคร ลพบุรี นครนายก ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ พิจิตร กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี รวม 94 อำเภอ 409 ตำบล 2,324 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 55,386 ครัวเรือน 162,842 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ น่าน ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน หนองคาย เพชรบูรณ์ เชียงราย ลพบุรี และพิจิตร ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 8 จังหวัด รวม 34 อำเภอ 161 ตำบล 1,127 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,928 ครัวเรือน 70,548 คน แยกเป็น ลุ่มน้ำโขง 2 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด อำเภอศรีวิไล อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา และอำเภอพรเจริญ รวม 44 ตำบล 371 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,038 ครัวเรือน 29,439 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และนครพนม น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า อำเภอนาทม อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม และอำเภอเมืองนครพนม รวม 55 ตำบล 517 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,500 ครัวเรือน 22,422 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ได้แก่ สกลนคร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย และอำเภอบ้านม่วง รวม 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 177 ครัวเรือน 477 คน ปัจจุบันระดับน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ลุ่มน้ำชี 2 จังหวัด ได้แก่ กาฬ์สินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย และอำเภอฆ้องซัย รวม 18 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 961 ครัวเรือน 1,873 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง และอุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขื่องใน และอำเภอเมืองอุบลราชธานี รวม 11 ตำบล 57 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,161 ครัวเรือน 2,192 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ได้แก่ นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 14 ตำบล 69 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,251 ครัวเรือน 11,052 คน ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ลุ่มน้ำเพชรบุรี ได้แก่ เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอบ้านแหลม รวม 20 ตำบล 76 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 497 ครัวเรือน 2,048 คน ปัจจุบันระดับน้ำ มีแนวโน้มลดลง ส่วนจังหวัดชัยภูมิ น้ำในอ่างเก็บน้ำลำคันฉูล้นทางระบายน้ำ ทำให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ และอำเภอจัตุรัส รวม 5 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 343 ครัวเรือน 1,045 คน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป