กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี
ผศ.ดร.วรินธร พูลศรี นักวิจัยและอาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี คิดค้นกระดาษดูดซับเอทธีลีนจากเปลือกสับปะรดเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม ยืดอายุกล้วยไม้ส่งออก
ผศ.ดร.วรินธร พูลศรี เผยว่า เปลือกสับปะรดเป็นขยะเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะส่งแวดล้อมเป็นพิษ ในขณะที่ดอกกล้วยไม้ เป็น พืชเศรษฐกิจที่มีการส่งออกสูงสุดในโลก แต่จะมีอายุการเก็บรักษาสั้นเมื่อส่งถึงปลายทาง จึงได้วิจัยและคิดค้นกระดาษดูดซับเอทธีลีนจากเปลือกสับปะรดเหลือทิ้งขึ้นมา โดยใยสับปะรดเมื่อนำมาแยกแล้วมีรูพรุนมาก เหมาะสำหรับนำมาดัดแปลงทำเป็นกระดาษ และเมื่อใช้ร่วมกับสารเคมีในการดูดซับเอทธิลีนมีน้ำหนักเบาไม่เพิ่มมูลค่าในการขนส่ง และต้นทุนต่ำมากกว่ากรรมวิธีการอื่นที่ใช้อยู่ สำหรับขั้นตอนนำเปลือกสับปะรดที่เหลือทิ้งมาแยกให้เหลือเป็นใยสับปะรด จากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษ นำมาผสมสารเคมี แล้วพึ่งให้แห้ง นำกระดาษที่ได้ไปใส่ในกล่องบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้สำหรับส่งออกจากการทดลองการขนส่งดอกกล้วยไม้ยืดอายุในการเก็บรักษาได้ประมาณ 18 วัน ดังนั้นถ้าสามารถบรรจุกระดาษดูดซับเอทธีลีนลงไปในกล่องเพื่อการส่งออก จะสามารถช่วยรักษาอนุภาพของผลิตผลได้ดีกว่าการขนส่งปกติ และเป็นการเพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่เรียกว่าขยะ งานวิจัยนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพืชเศรษฐกิจได้อีกหลายชนิด เช่น มะม่วง ทุเรียน เนื่องจากพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีการผลิตเอทธีลีนสูง ส่งผลไม้ให้เกิดการเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นถ้าสามารถบรรจุกระดาษดูดซับเอทธีลีนลงไปในกล่องเพื่อการส่งออก จะสามารถช่วยรักษาคุณภาพของผลิตผลได้ดีกว่าการขนส่งปกติ โดยผลงานกระดาษดูดซับเอทธีลีน จากเปลือกสับปะรด ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ โครงการประกวดผลงานวิจัยนวัตกรรม (The 8tj Innovation Awards 2018) จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร โทร. 0-2592-1955 ต่อ 2029