กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วันนี้แวะมาพูดคุยกับหนุ่ม "ภัทร" นาย เดชาพล ชัยยะ เพื่อนๆ เรียกผมว่า "ภัทร" ครับ ซึ่งในเดือน พฤศจิกายน 2561 นี้ ผมก็จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรแล้วครับ ในสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) วิทยาเขตปราจีนบุรี เช่นเคยค่ะ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ มจพ. ก็ลงพื้นที่รอบๆ มจพ. เป็นแมวมอง มองหากลุ่มมักศึกษาเพื่อพูดคุยกับน้องศึกษาในประเด็นที่ว่า ประชาคมอาเซียน (ASEAN) สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง มาฟังความคิดเห็น หนุ่ม "ภัทร" เล่ากันค่ะ
ก่อนที่ผมจะได้มาเรียนอยู่ที่คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.วิทยาเขตปราจีนบุรี ผมจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียน เสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จ.สระบุรี และเหตุผลง่ายๆ สำหรับผมที่เลือกเรียนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพราะผมมองว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของวงการการศึกษา และเลือกที่จะเรียนคณะอุตสาหกรรมเกษตร เพราะทางด้านสายอาหารเป็นสายที่น่าสนใจ และทุกวันนี้มนุษย์ให้ความสำคัญและอยู่ใกล้ชิดกับอาหารมากๆ และน่าจะหางานทำได้ไม่ยาก
มหาวิทยาลัยไม่เพียงแต่ให้ความรู้กับผม แต่ยังมีกิจกรรมมากมายให้ผมได้เลือกทำมากกว่าการนั่งเรียนในห้องเรียน ซึ่งผมได้ร่วมกิจกรรมและมีผลงาน ได้แก่
ระดับมัธยมศึกษา : - เป็นนักกีฬาแบดมินตันของจังหวัดสระบุรี ซึ่งผ่านการแข่งขันและได้รับรางวัลแต่ตั้งระดับจังหวัด เขต จนถึงระดับประเทศ และได้ร่วมทีมไปแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น
ปีการศึกษา 2557 : - เดือนคณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.วิทยาเขตปราจีนบุรี
ปีการศึกษา 2559 : - ในปีการศึกษานี้ได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้อัญเชิญพระมหามงกุฎ จาก "การคัดเลือกตัวแทนผู้อัญเชิญพระมหามงกุฎ ประจำปีการศึกษา 2559" ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองจากการแข่งขัน "การตอบปัญหาทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร" ระดับภายในคณะ
ทัศนคติต่ออาเซียน ในมุมมองของผม "ผมมองว่ามันเป็นการเปิดโลกใหม่ ทำให้คนสนใจในการสื่อสารโดยใช้ภาษาอื่นมากขึ้น มีมุมมองใหม่ๆที่มากขึ้น ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นการเพิ่มคู่แข่งทางด้านการทำงาน แต่ถ้ามองอีกแบบผมว่ามันจะทำให้เราต้องกระตุ้นตัวเอง ใส่ใจที่จะหาความรู้ให้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เรากลายเป็นคนที่ศักยภาพที่มากขึ้นด้วย" ซึ่งโดยส่วนตัวผมเองก็เป็นคนที่ชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศน้อย จึงทำให้ผมไม่ค่อยได้มีโอกาสในการพูดภาษาอังกฤษ และการที่มหาวิทยาลัยตอบรับการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN) และมีชาวต่างชาติเข้ามาเพื่อการศึกษาหรือประกอบธุรกิจมากขึ้น ผมคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับชาว มจพ. ที่จะใช้ภาษาอังกฤษที่เคยเรียนมาตั้งแต่อนุบาลในการสื่อสารมากขึ้น ซึ่งผมก็จะเป็นหนึ่งคนไทยรุ่นใหม่ที่กล้าจะใช้ภาษาที่สองมากขึ้นเช่นกัน และผมยังได้ให้ความสำคัญและมองว่า "กระแสการเข้าสู่การเป็น AEC จากหลายๆ ภาคส่วนมีจำนวนมาก รวมถึงสถาบันทางการศึกษา ก็ได้มีการปรับกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงานให้สอดรับกับทิศทางดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นโอกาส และความท้ายทายของเยาวชนที่ต้องเรียนรู้ข้อเท็งจริงเกี่ยวการศึกษา เช่น ด้านวิชาชีพ เมื่ออยู่ภายใต้วิชาชีพอาเซียน ต้องปฏิบัติเช่นไร และต้องพัฒนาหรือเสริมสร้างอะไรเข้าไป การเรียนรู้ที่ต้องพัฒนาตนเองให้มากขึ้นในการทำงาน การมีมาตรฐาน และเทคนิควิชาชีพในการประกอบอาชีพอย่างรอบด้าน เพราะแรงงานทุกประเภทจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี"
อยากให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนในเรื่องของภาษานะครับ พัฒนาโดยการเปิดสอนภาษาของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน หรือภาษาอังกฤษที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นภาษากลาง หรืออาจจะจัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้นักศึกษาของ มจพ. เปิดใจและกล้าที่จะใช้ภาษาที่สองมากขึ้น
สุดท้ายผมเชิญชวนทุกๆ คนนะครับ อยากให้สนใจในเรื่องของอาเซียนให้มากขึ้น อย่ามองข้ามเพียงเพราะเราไม่ชอบภาษาที่สอง และพัฒนาตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและศักยภาพของตนเองให้พร้อมในวันข้างหน้าครับ