สกู๊ปพิเศษ-สายสุขภาพไฟเซอร์กับเคล็ดลับฝ่าวิกฤติโรคเครียด

ข่าวเทคโนโลยี Friday October 14, 2005 16:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
เครียด เครี๊ยด เครียด
"ภาวะเครียด" เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการฆ่าตัวตายในสังคมปัจจุบันโดยกรสุขภาพจิตชี้ว่า ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนฆ่าตัวตายมีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 60% ซึ่งเป็นการสวนทางกันอย่างสุดขั้วระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความตกต่ำของภาวะจิตใจ "ภาวะเครียด" ถือเป็นปัญหาของคนเมืองที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ภาวการณ์ปรับตัวที่ผิดปกติ โดยตั้งแต่ช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก มีผู้โทรมาขอคำปรึกาแนะนำทางโทรศัพท์จากหน่วยงานให้บริการคำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์เป็นจำนวนมาก โดยประเด็นที่ทำให้โทรมามากที่สุดคือ "รู้สึกเครียด" และ ณ ปัจจุบันโรคเครียดได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนี้
จากงานสัมมนาพิเศษ "สายสุขภาพไฟเซอร์กับเคล็ดลับฝ่าวิกฤติโรคเครียด" จัดโดย "ไฟเซอร์" ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้าวิจัยเวชภัณฑ์ระดับโลก ร่วมกับ "สายสุขภาพไฟเซอร์ 0.2664-5888" ซึ่งเป็นบริการ รับปรึกษาปัญหาสุขภาพทางโทรศัพท์ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(Specialist) จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยนอกจากจะมีสุขภาพกายที่แข็งแรงแล้ว ต้องมีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรงควบคู่ไปด้วยโดยได้รับเกียรติจาก นพ.พนมทวน ชูแสงทอง จิตแพทย์ และอาจารย์แพทย์ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล กล่าวว่า "ภาวะเครียด" เป็นเรื่องของจิตใจที่เกิดจากความตื่นตัว เตรียมเผชิญกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่น่าพึงพอใจ หรือคาดไม่ถึง เป็นเรื่องที่เราเองคิดว่าหนักหนาสาหัสเกินกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้เกิดความรู้สึกหนักใจ กังวล ไม่สบายใจ หรือแม้แต่คับข้องใจ และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น หากว่าความเครียดนั้นมีมากและคงอยู่เป็นระยะเวลานาน แต่ทว่าความเครียดที่ไม่มากนัก จะเป็นแรงกระตุ้นที่ดี ช่วยให้คนเราเกิดแรงฮึก มุมานะที่จะเอาชนะปัญหาความผิดปกติงร่างกายและจิตใจได้ดังหวัง หลัวจะไม่ประสบความสำเร็จ หนักใจกัลวลใจในงานที่ได้รับมอบหมาย หรือแม้แต่กลัว กังวลสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สาเหตุที่จากเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การเปลี่ยนช่วงวัย แต่งงาน การตั้งครรภ์ การเริ่มเข้าทำงานหรือการเปลี่ยนที่เรียน สุดท้ายคือสาเหตุจากการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น การเจ็บไข้ต่างๆ โครที่รุนแรง และเรื้อรัง หรือโรคที่คาดว่าถึงแก่ชีวิตในที่สุด
นอกจากนี้มีผลการวิจัยจากต่างประเทศ โดยจัดอันดับเหตุการณ์ที่สร้างความเครียดแก่คนเราที่รุนแรงมากสุด 10 อันดับแรก โดยเริ่มจากมากที่สุดแล้วลดลงไปตามลำดับ ดังนี้ สามีหรือภรรยาที่อยู่กันมานานแล้วเสียชีวิตไปก่อน,เรื่องการหย่าร้าง,การเสียชีวิตของญาติสนิทคนใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกหลาน,ชีวิตคู่แตกร้าวหรือแยกกันอยู่,การป่วยเป็นโรคทางร่างกาย หรือได้รับบาดเจ็บที่ร้ายแรง, ถูกปลดออกจากงาน, ได้รับคำสั่งศาลให้ต้องโทษหรือติดคุก, ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ถูกฟ้องล้มละลาย, ตั้งครรภ์, ปัญหาทางธุรกิจ และการขาดทุน เป็นต้น
ภาวะเครียดนั้นก่อให้เกิดการตอบสนองของร่างกายในระบบต่างๆ เช่น ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบการทำงานของหัวใจ ระบบการทำงานของการย่อยอาหาร ซึ่ง Hams Selye ได้อธิบายถึง General Adaptation Syndrome เมื่อบุคคลเผชิญต่อความเครียดแบบเรื้องรัง โดยแบ่งเป็นระยะของการปรับตัว 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่หนึ่งคือระยะเตรียมพร้อมสู้ (Alarm reaction stage) ร่างกายของเราจะพยายามป้องกันตัวเองต่ออันตรายที่เกิดขึ้นโดยการกระตุ้นระบบปรปะสาทอัตโนมัติชนิด sympathetic ให้มีการหลั่งสาร Epinephrine ซึ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วการหายใจและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มีการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดสู่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ต่อมหมวกไตมีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อม ระบบการย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ตับปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือดมากขึ้น และมีการหลั่งเหงื่อมากขึ้นเพื่อลดความร้อนในร่างกาย เป็นระยะที่ร่างกายพร้อมจะต่อสู้บุกตะลุยกระโจนเข้าใส่ หรือสิ่งหนีกระเจิงไปแล้วแต่การตัดสินใจระยะที่สอง คือ ระยะการปรับสมดุล(Resistance stage)หลังจากผ่านเหตุการณ์ไปแล้ว ต่อมาร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและระบบประสาทเพื่อการตอบสนองในระยะเตรียมพร้อมสู้ ผลที่ได้คือ มีการลดการทำงานของระบบการทำงานต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดภาวะสมดุลใหม่ในร่างกายและสุดท้ายคือระยะอ่อนฃ้า (Exhaustion stage) หากความเครียดยังคงอยู่อย่างเรื้อรังยาวนาน พลังงานในร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ มีการขยายตัวของระบบหลอดเลือดและน้ำเหลืองในร่างกาย อวัยวะต่างๆ อ่อนแอลงเกิดความเสื่อมขึ้นกับร่างกาย รวมถึงสภาพจิตใจที่จะซึมเศร้า หดหู่ ถดถอย และหมดแรงหมดสภาพหมดใจ จนหมดชีวิตที่สุด
อาการเครียดสามารถสังเกตได้ดังนี้ วิตกกังวล หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ควบคุมอารมณ์ตนเองยากขึ้น ปวดศรีษะ มึนงง ตื่นเต้น ตกใจง่าย หลับไม่สนิท เบื่ออาหาร ไม่อยากทานอะไร แต่บางคนอาจรับประทานมากขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ ท้องผูก หรือท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดต้นคอหรือไหล่ ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลียบ่อย ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม ประจำเดือนไม่ปกติ สมรรถภาพทางเพศลดลง และความเครียด อาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ เข่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคหัวใจและหลอดเลือดความดันโลหิตสูง หอบหืดและภูมิแพ้ ปวดหลัง เบาหวาน ข้ออักเสบ รวมทั้งภาวะติดสารเสพติดต่างๆ
กลยุทธ์การจัดการกับ"ความเครียด"มีทั้งหมด 10 ข้อดังนี้
1.ควรเครียดในเรื่องที่สมควรจะเครียด อย่านำเรื่องของคนอื่นมาเครียด
2.ให้รู้เท่าทันถึงอารมณ์ของตัวเองว่า กำลังเครียดอยู่หรือไม่
3.ยอมรับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน หากคุณยอมรับสภาพความเป็นจริงทั้งต่อตัวคุณเอง สภาพแวดล้อมครอบครัว หรือคนใกล้ชิดของคุณ คุณก็จะเข้าใจและพบทางแก้ไขได้ง่าย
4.เต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อแก้ปัญหารู้จักแก้ปัญหา โดยการหาที่มาของปัญหาและรวบรวมข้อมูลที่ก่อปัญหา เมื่อเข้าใจถึงรากของปัญหาจะได้มาหาทางออกได้ง่ายขึ้น
5.ตั้งสมมติฐานหาทางออก จากนั้นก็เขียนถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยอาจแบ่งมองเป็นช่วงเหตุการณ์เฉพาะหน้า และช่วงระยะยาว
6.ทดลองนำไปใช้ และหมั่นประเมินบ่อยๆ ว่า ควรเดินต่อไปตามทางที่เลือกนี้หรือจะปรับปรุงเปลี่ยน
7.รู้จักมองโลกในหลายๆ มุมมอง
8.มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี รู้จักที่จะหัวเราะ จะยิ้มให้กับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต
9.รู้จักให้อภัย
10.ไม่ท้อถอย
วิถีแห่งการคลายเครียดทั้ง 9 คือ
1.การออกกำลังกาย กีฬาจะทำให้เราได้ระบายออกซึ่งแรงขับของจิตใจในด้านต่างๆ เช่น ความคับข้องใจ ความโกรธ ความเสียใจ ไม่พอใจ
2.พูดระบายความเครียด โดยเลือกบุคคลที่ไว้วางใจได้ และมีความอดทนสูงในการฟัง แล้วเล่าปัญหา หรือความเครียดต่างๆ ให้ฟัง ถึงแม้เขาจะไม่สามารถช่วยหาทางออกให้ได้ แต่อย่างน้อยคุณก็ได้บรรเทาความกดดันและรู้สึกเครียดได้ หรือถ้าหาไม่ได้ สัตว์เลี้ยงก็สามารถใช้แทนได้เหมือนกัน
3.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
4.อาหารคลายเครียด ได้แก่
ทริปโตฟาน (1-2 กรัม ก่อนนอน) พบได้ในไข่ ถั่วเหลือง นมวัว เนื้อสัตว์
วิตามินบี 6(40 มิลลิกรัมต่อวัน) พบในธัญพืชต่างๆ ยีสต์ รำข้าว เครื่องใน เนื้อ ถั่ว ผัก
วิตามินบี 3(1,000 มิลลิกรัมต่อวัน) พบในตับ เครื่องใน เนื้อ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว ยีสต์
สารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม กระเทียม ดอกไม้จีน
5.ท่องเที่ยว การที่ได้ไปท่องเที่ยว เห็นบรรยากาศทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกหูแปลกตาใหม่ๆ ไปเจอผู้คนใหม่ก็ช่วยกระตุ้นมุมมองในชีวิตใหม่ๆ ได้เช่นกัน
6.ดนตรีคลายเครียดอาทิ บีโธเฟน ไซคอร์ฟสกี โมสาร์ท หรือจะฟังดนตรีไทยเดิมบ้านเราก็ได้เช่น ค้างคาวกินกล้วย อีกกลุ่มที่ดีมากได้แก่ กลุ่มเสียงธรรมชาติ เช่น น้ำตก นกร้อง เสียงคลื่นเบา เป็นต้น
7.กลิ่นบำบัด อะโรมาเธอราปี้ กลิ่นเป็นอีกสิ่งหนึ่งของการรับรู้ทางสัมผัสที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ดี คุณอาจลองจุดธูปหอมกลิ่นที่สดชื่น หรือหยดน้ำมันหอมระเหยแล้วนอนหรือทำงานผ่อนคลายไปด้วย ควบคู่ไปกับการแช่น้ำอุ่นๆ กลิ่นที่ช่วยผ่อนคลายได้ดีคือ กลิ่นไม้จันทน์หอม กลิ่นกำยาน สำหรับผ่อนคลาย กลิ่นการบูร กลิ่นส้ม กลิ่นมะนาว สำหรับสร้างความสดชื่น
8.ฝึกหายใจคลายเครียด การหายใจจะช่วยนำอากาศที่บริสุทธิ์เข้าสู่ปอดและเดินทางสู่สมองตลอดจนร่างกายโดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ สังเกตว่ากระบังลมขยายออก ท้องป่องออก จากนั้นค่อยๆ หายใจออกช้าๆ ไล่ลมให้ออกมากที่สุด ตอนนี้กระบังลมคุณจะหดสั้นลง ท้องจะแฟบ ถ้าช่วงแรกไม่ถนัดก็เอามือแต่ท้องเพื่อปรับและเข้าใจสภาพป่องแฟบของท้องอันเนื่องมาจากการหายใจก่อนก็ได้
9.เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยสามารถนำเอาหลักการฝึกหายใจมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เริ่มด้วยการนั่งหรือนอนในท่าที่สบายๆ จากนั้นค่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ขึ้นมาโดยอาจไล่จาก ปลายเท้า ข้อเท้า น่อง ต้นขา ลำตัว แขน มือ นิ้ว ไหล่ คอ ศรีษะ และใบหน้า เกร็งไว้สักอึดใจหนึ่ง จากนั้นค่อยๆ ผ่อนคลายย้อนกลับไป โดยเริ่ม ใบหน้า จนถึง ปลายเท้า คุณสามารถใช้การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อในยามที่คุณรู้สึกตึงเครียด อึดอัด หรือไม่สบายใจ
นอกจากวิถีแห่งการคลายเครียดทั้ง 9 แล้ว การฝึกฝนให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และการรู้จักปล่อยว่างเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คุณมองทะลุ เข้าใจถึงเหตุและผลของการเกิดอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และช่วยให้สามารถควบคุมความเครียดที่กำลังเกิด ณ ขณะนั้นอันจะส่งผลให้คุณไม่ต้องทุกข์ทรมานกับ "โรคเครียด" อีกต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เจ ดับบลิว ที พับบลิค รีเลชั่นส์
รสวันต์ ตวงสร้อยทอง (โอ๋)--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ