NIDA Poll “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย”

ข่าวทั่วไป Monday September 17, 2018 10:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ? " ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 กันยายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ทางรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นรายละ 100 – 200 บาท และสามารถเบิกเงินสดไปใช้ได้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสิทธิจาก "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ของรัฐบาล พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.60 ระบุว่า ไม่ได้ลงทะเบียน และร้อยละ 34.40 ระบุว่า ลงทะเบียน ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" โดยสามารถเบิกเป็นเงินสดเพื่อนำไปชำระค่าบริการอื่น ๆ ได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะได้นำเงินมาใช้จ่ายใน ส่วนอื่นที่ไม่สามารถใช้บัตรสวัสดิการซื้อได้ และยังมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 17.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด สามารถแก้ได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในระดับใด พบว่า ประชาชน ร้อยละ 12.53 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มาก ร้อยละ 32.08 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.30 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 14.92 ระบุว่า สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้น้อย ร้อยละ 13.73 ระบุว่า ไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้เลย และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" จะสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ระหว่างคนรวย/คนจน ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ได้หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.08 ระบุว่า ไม่สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ช่วยเหลือได้เพียงเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่มีแนวทางใดที่จะสามารถมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ลงได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้ลงทะเบียนบางส่วนไม่ใช่คนจนจริง ๆ รองลงมา ร้อยละ 28.89 ระบุว่า สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่คนจนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และทำให้ปัญหาความยากจนลดลง และร้อยละ 3.03 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงว่าอยากเสนอให้รัฐบาลเพิ่มสวัสดิการในด้านใดบ้าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.73 ระบุว่า ค่ารักษาพยาบาลรองลงมา ร้อยละ 38.71 ระบุว่า การช่วยเหลืออาชีพด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 36.31 ระบุว่า เงินส่งเสริมผู้สูงอายุ/ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 25.94 ระบุว่า ช่วยเหลือการสร้างอาชีพ ร้อยละ 23.78 ระบุว่า ค่าการศึกษา/ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษาบุตร ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ค่าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งมวลชน ร้อยละ 10.77 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับผู้พิการ ร้อยละ 9.02 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับลูกจ้างรายวัน/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 4.71 ระบุว่า จ่ายคืนหนี้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นต้น ร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากจน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีข้อเสนอให้รัฐบาล เพิ่มสวัสดิการ และร้อยละ 2.71 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" แตกต่างจาก "นโยบายประชานิยม" หรือไม่ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.00 ระบุว่า ไม่แตกต่าง เพราะ มีแนวทางในการแก้ไข ช่วยเหลือ ปัญหาความยากจนเหมือนกัน แค่ใช้ชื่อเรียกที่ต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 24.02 ระบุว่า แตกต่าง เพราะ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยเพียงอย่างเดียว และร้อยละ 9.98 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.10 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.33 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.72 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.40 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.45 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 50.12 เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.64 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.24 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 5.03 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.29 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.22 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.64 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 23.54 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.28 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 92.98 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.04 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 2.55 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 20.51 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.23 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.71 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.55 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 34.32 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 26.18 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.10 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.66 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.63 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.11 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 10.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.77 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.87 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.68 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.28 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.24 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 3.19 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.09 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 30.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.86 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.07 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.21 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ