กรุงเทพฯ--19 ก.ย.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 1,127 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 31.7, 37.6, 30.7 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 34.2, 18.5, 17.4, 16.0 และ 13.9 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 79.7 และ 20.3 ตามลำดับ
โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 92.5ปรับตัวลดลงจากระดับ 93.2 ในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
จากการสำรวจ พบว่า ในเดือนสิงหาคม ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากปัจจัยด้านฤดูกาล เนื่องจากในช่วงเดือนสิงหาคมมีฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้กระทบต่อกำลังซื้อในส่วนภูมิภาคส่งผลให้ยอดขายชะลอตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าไม่คงทนและกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ขณะที่ต้นทุนประกอบการเพิ่มขึ้นตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและวัตถุดิบ รวมทั้งความกังวลของผู้ส่งออกที่มีต่อมาตรการภาษีนำเข้าของประเทศสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าดัชนีฯ มีค่าเกิน 100
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.5 ในเดือนกรกฎาคม สะท้อนว่าผู้ประกอบการมีมุมมองต่อการดำเนินกิจการใน 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากคำสั่งซื้อและการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบในช่วงปลายปี
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนสิงหาคม 2561 จากการสำรวจ จุมภาพันธ์พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคม ขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 5)
อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 75.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 76.8 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน,อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บาง และวัสดุแผ่น เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 96.5 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 93.4 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์,อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 108.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ107.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 110.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 109.0 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม, อุตสาหกรรมอลูมิเนียม, อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.6 ในเดือนกรกฎาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนสิงหาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลางและภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคม โดยมีรายละเอียดมีดังนี้ (ตารางที่ 6)
ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 98.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 96.6 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมพลาสติก (ถุงพลาสติกและฟิล์มพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ในครัวเรือน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอาเซียน)
อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่ง รถกระบะเชิงพาณิชย์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และทำกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง การส่งออกมีคำสั่งซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นจากตลาดเอเชียและยุโรป)
อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากยุโรป)
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมรองเท้า (รองเท้าสำเร็จรูป รองเท้ากีฬา และรองเท้านักเรียน มียอดขายในประเทศลดลง)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 108.6 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 81.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ83.9 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเซรามิก (สินค้าเซรามิก ประเภทจานชามบนโต๊ะอาหาร Tableware มียอดขายในประเทศลดลงและส่งออกไปยังตลาด CLMV ลดลง)
อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษคราฟต์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าปริมาณสูง ผลิตภัณฑ์กระดาษสามีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)
อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (หลังคาเมทัลชีท กระเบื้องมุงหลังคา มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ภาคก่อสร้างชะลอตัวลง)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวก ต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร (ยาสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกมีคำสั่งซื้อสมุนไพรสำหรับทำสปาจากตลาด CLMV เพิ่มขึ้น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 95.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 93.3 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 88.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 91.9 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบ ต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (อิฐมวลเบาและอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างและหินอ่อน มียอดขายในประเทศลดลง)
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ด้านการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และชุดชั้นในมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศสหรัฐ อาเซียน และยุโรป)
อุตสาหกรรมน้ำตาล (น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาด CLMV เนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอการสั่งซื้อ)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลก ขณะที่โทรศัพท์มือถือมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 101.8 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 109.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ108.4 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (ชิ้นส่วนยานยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซียและเวียดนาม อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (เม็ดพลาสติก Polyethylene resin PE มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน สารพอลิเมอร์ เมทิลเมทาคริเลต มีคำสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมเหล็ก (เหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐและอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศลดลง สินค้าประเภทแผ่นกระจายความเย็นมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 112.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 111.3 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 79.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ80.0 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยางทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม มีคำสั่งซื้อภายในประเทศลดลง ยางผสม (คอมปาวด์) ส่งออกไปประเทศจีนลดลง)
อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง จากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ด้านการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน เนื่องจากจีนมีมาตรการคุมเข้มเรื่องมาตรฐานการผลิตสินค้าภายในประเทศ ส่งผลให้คู่ค้าลดการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)
อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ หลอดฉีดยา มีคำสั่งซื้อลดลงจากโรงพยาบาลเนื่องจากยังมีสต๊อกสินค้าสูง)
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มดิบมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกับผู้ประกอบการ มีต้นทุนการผลิตลดลง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.1 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนสิงหาคม 2561 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคม ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 7)
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 88.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 90.3 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบ ดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมรองเท้า เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.8 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 107.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 106.6 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง,อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 108.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 107.9 ในเดือนกรกฎาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าของกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ากลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ อยู่ที่ระดับ 104.4 และ 108.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 103.8 และ 107.9 ในเดือนกรกฎาคม เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2561 พบว่า ปัจจัยทีผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมันอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองในประเทศ
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
ขอให้ภาครัฐดูแลค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก