กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--โฟร์ฮันเดรท
บริษัท เอซเก้ จำกัด ร่วมกับบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของไทย ทั้ง ไปรษณีย์ไทย, DHL, TNT, CJ Logistics ผนึกกับองค์กรธุรกิจแถวหน้า ร่วมลงนามในพิธีลงนามความร่วมมือการเปิดศูนย์บริการ Drop Point Plus (DPP) ศูนย์บริการครบวงจรแห่งแรกของไทย ผลักดันธุรกิจ E-Commerce ผ่านโมเดลธุรกิจ LPDE (Logistic Pay station Drop point E-Commerce) รวมทุกค่ายมาอยู่ที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้งาน พร้อมขยายศูนย์ DPP สร้างธุรกิจทางเลือกแก่ชุมชน มุ่งเป้าขยาย 600 สาขาทั่วประเทศในปี 2562
นายเทิดไท แก้วพิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซเก้ จำกัด เปิดเผยว่า เอซเก้ ได้ลงนามความร่วมมือการเปิดศูนย์บริการ Drop Point Plus (DPP) ร่วมกับ บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำอย่าง ไปรษณีย์ไทย, DHL, TNT, CJ Logistics รวมถึงยังได้ผนึกกับองค์กรธุรกิจแถวหน้าของประเทศอย่าง บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์,แอดวานซ์ เอ็มเปย์, บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย และแอดไวซ์ ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับธุรกิจ E-Commerce ไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยศูนย์บริการครบวงจรที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคครบทุกขั้นตอน ด้วยโมเดล LPDE (Logistic Pay station Drop point E-Commerce) ตั้งแต่บริการขนส่งสินค้าทั้งภายในและนอกประเทศ จุดบริการชำระเงินที่สะดวกครอบคลุม จุดรับสินค้าออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย อีกทั้งยังเป็น จุดบริการMicro Insurance ประกันความปลอดภัย Non Life สร้างความอุ่นใจ ปลอดภัยทุกการขนส่ง
"การโลดแล่นอยู่ในแวดวงธุรกิจไอทีมาร่วม 16 ปี ทำให้เรามองเห็นการเติบโตของตลาดออนไลน์อย่างใกล้ชิด รวมไปถึงโอกาสในการสร้างแพลตฟอร์มให้ผู้บริโภคได้เลือกช่องทางการขนส่งที่หลากหลายมากขึ้น อยู่ใกล้กับชุมชน ให้การบริการที่ครอบคลุม ซึ่งสิ่งที่สามารถตอบโจทย์แนวทางของเราได้คือแพลตฟอร์มDrop Point Plus (DPP) นายเทิดไท กล่าว
Drop Point Plus หรือ DPP เป็นศูนย์บริการครบวงจรแห่งแรกของไทย โดย บริษัท เอซเก้ จำกัด ก่อตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการยกระดับ E-Commerce ในไทย ซึ่งศูนย์บริการ DPP จะให้บริการภายใต้โมเดล LPDE (Logistic Pay station Drop point E-Commerce) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น L-Logistic ที่สามารถเลือกเซอร์วิส เลือกบริการขนส่งที่หลากหลาย ทั้งภายในและนอกประเทศ โดยทำการขนส่งร่วมกับบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำอย่าง ไปรษณีย์ไทย, DHL, TNT และ CJ Logistics ภายใต้ค่าบริการตามจริง ไม่มีการบวกราคาเพิ่ม สะดวก รวดเร็ว และประหยัดทั้งเงินและเวลา, P-Pay station จุดชำระเงินครบวงจร ทั้งบริการจ่ายบิล ชำระค่าสินค้า เติมเงินโทรศัพท์ ชำระค่าน้ำค่าไฟ จากผู้ให้บริการแถวหน้าของประเทศอย่าง mPAY, D-Drop pointกับบริการ Click and Collect สั่งสินค้าออนไลน์ แล้วสามารถไปรับสินค้าตามจุดต่างๆ ของศูนย์บริการ DPP และสุดท้ายกับบริการ E-Commerce ด้วยการประกันภัยออนไลน์รูปแบบ Micro Insuranc อาทิ ประกันอัคคีภัย ประกันการเดินทาง และประกันการขนส่ง
"DPP นอกจากจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ประกอบการสินค้าออนไลน์แล้ว เรายังมุ่งมั่นพัฒนาให้ศูนย์บริการนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของธุรกิจชุมชนด้วยงบลงทุนขั้นต่ำเพียง 29,900 บาท ทำให้ DPP เหมือนเป็น Social Enterprise แบบกลายๆ ที่ให้คนในชุมชนชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นายเทิดไท กล่าวเพิ่มเติม
ปัจจุบันนี้ศูนย์บริการ DPP มีทั้งสิ้น 170 สาขา โดยมีศูนย์บริการระดับภาค 15 แห่ง และภายในสิ้นปี 2561 นี้ เราวางเป้าขยาย DPP เพิ่มเป็น 200 สาขา และมุ่งให้ครบ 600 สาขา ภายในปี 2562 พร้อมมุ่งเป้าขยายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ 1,000 จุด ภายในระยะเวลา 5 ปี และจะมีการเพิ่มเติมบริการต่างๆ ที่สามารถทำได้ผ่านการพัฒนา Application ร่วมกับผู้ให้บริการทุกประเภท ให้สาขาสามารถเป็น "จุดสารพัดบริการในที่สุด"
นอกเหนือจากบริการโมเดล LPDE แล้ว DPP ยังวางแผนที่จะเปิดบริการเพิ่มเติมรวมถึงร่วมงานกับพาร์ทเนอร์อีกร่วม 20 รายในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกและตรงตามแนวคิดสารพัดบริการให้มากที่สุด อาทิ การร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ DeeMoney ผู้ให้บริการโอนเงินสู่ต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้ให้บริการสามารถขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังเป็นการผลักดันให้สินค้าสัญชาติไทยเป็นที่รู้จักในสากล
"ตลาดสินค้าออนไลน์และตลาดโลจิสติกส์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่หมุนให้เศรษฐกิจไทยเดินทางไปข้างหน้า ยุคนี้ได้กลายเป็นยุคของการขนส่งจากผู้ผลิต ส่งตรงถึงผู้ซื้อโดยตรง และต้องมีการบริการแบบครบวงจรในจุดที่ผู้บริโภคสะดวกสบายที่สุด ซึ่ง DPP จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่จะมาเสริมในจุดนี้ นายเทิดไท กล่าวทิ้งท้าย