กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
อ็อกซ์ฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (Oxford Business Group หรือ โอบีจี) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงกว่า 80% ในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2561 ว่าบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางบวก แม้ว่าจะยังคงมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระยะเริ่มต้น
การสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทจัดทำรายงานการวิจัยและที่ปรึกษาระดับโลก โดยได้สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับผู้บริหารระดับสูงกว่า 100 คนจากอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศ โดยใช้ชุดคำถามที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เพื่อวัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจ สามารถดูผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่บล็อกของบรรณาธิการโอบีจีที่ https://oxfordbusinessgroup.com/blog/patrick-cooke/obg-business-barometer/does-thailand-have-workforce-40-meet-long-.
จากการสอบถามพบว่า ผู้บริหาร 81% เชื่อว่าบริษัทของตนมีแนวโน้มหรือมีแนวโน้มอย่างยิ่งที่จะลงทุนเป็นเงินจำนวนมากในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวของรัฐบาล และนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ อีอีซี) ที่มีจุดประสงค์เพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศยังคงสร้างความมั่นใจให้กับผู้นำทางธุรกิจอยู่
ผลการสำรวจของโอบีจียังระบุว่า ผู้บริหารยอมรับว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาช่องว่างของทักษะในตลาดแรงงาน ในขณะที่มีความพยายามที่จะผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศกลุ่มรายได้สูงและมีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-based Economy) เกือบหนึ่งในห้า (19%) ของผู้นำทางธุรกิจที่ให้สัมภาษณ์เลือกสาขาวิศวกรรมเป็นทักษะที่พวกเขารู้สึกว่าเป็นที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งนำหน้าทักษะความเป็นผู้นำซึ่งผู้บริหาร 18% เลือก ตามด้วยการวิจัยและพัฒนา (16%) และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (13%)
สำหรับคำถามถัดไป ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความมั่นใจในระดับความโปร่งใสของการประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยผู้บริหารมากกว่าสามในสี่ส่วน (76%) ที่ให้สัมภาษณ์มองว่าเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับระดับในภูมิภาคสูงหรือสูงมาก
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากมองสถานการณ์ด้านภาษีในประเทศ (ภาษีธุรกิจและบุคคล) อย่างน่าพอใจ ภาษีเป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศให้ความสำคัญในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อภาษีที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระหว่างดำเนินการ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็กำลังมองหาความสมดุลระหว่างการส่งเสริมเงินกองทุนสาธารณะและการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้นำธุรกิจน้อยกว่าสองในสาม (63%) ที่สำรวจความคิดเห็นบอกกับโอบีจีว่า พวกเขาเชื่อว่าบรรยากาศด้านภาษีในปัจจุบันยังสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ 66% กล่าวว่ามีความพึงพอใจต่อผู้จัดส่งสินค้าและผู้ให้บริการในท้องถิ่นในระดับสูงหรือสูงมาก ซึ่งเป็นข่าวดีต่อประเทศ เพราะมองว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ทันสมัยจะต้องอาศัยห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแรง
ไม่น่าประหลาดใจเลยเมื่อถามถึงเหตุการณ์ภายนอกที่พวกเขารู้สึกว่าจะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะสั้นถึงระยะกลาง ผู้บริหารเกือบครึ่งหนึ่ง (44.4%) ที่ให้สัมภาษณ์ กล่าวว่าเป็นความผันผวนของอุปสงค์ในประเทศจีน รองลงมาเป็นการปกป้องทางการค้า มูลค่าการส่งออกกว่า 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของประเทศไทยเป็นสัดส่วนการนำเข้าของจีนสูงที่สุด (12.4%)
นายแพททริก คุ้ก บรรณาธิการประจำภูมิภาคเอเชียของโอบีจี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจในบล็อกของเขาว่า การสำรวจความคิดเห็นครั้งที่สองในประเทศไทยของโอบีจีแสดงให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่สนับสนุนความพยายามให้ประเทศพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการผลิตที่ทันสมัยและบริการด้านเทคโนโลยีขั้นสูง แต่นั่นก็แสดงให้เห็นความกังวลบางอย่างของพวกเขาด้วยเช่นกัน
"หัวข้อที่กลับมาอีกจากการวิจัยในพื้นที่ของอ็อกซ์ฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาก็คือ ความต้องการอย่างเร่งด่วนให้ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานมีความพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจที่วิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว" เขากล่าว
นายคุ้กเสริมว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นสงครามการค้าเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจรู้สึกกังวลอย่างเห็นได้ชัด
"นอกจากผลด้านลบจากความไม่แน่นอนของกระแสการค้าโลกแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยยังแสดงความกังวลว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์และผลผลิตของจีนที่เคยส่งไปยังสหรัฐฯ จะไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างท่วมท้น ทำให้เกิดการกดราคา และบีบคั้นผู้ผลิตในประเทศ" เขาอธิบาย
เขายังกล่าวว่า ในขณะที่ความเชื่อมั่นในการลงทุนของผู้บริหารในประเทศยังดีอยู่อย่างเห็นได้ชัด แต่ข้อมูลการสำรวจก็ไม่ระบุชัดเจนว่าธุรกิจต่างๆ วางแผนจะลงทุนที่ไหน
"เมื่อเผชิญกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากบ้านที่ซบเซา สังคมผู้สูงอายุ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน ทำให้บริษัทในประเทศไทยหันไปลงทุนในต่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2559" เขากล่าว "จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะต้องจับตาดูว่าการกลับมาใช้การปกครองประชาธิปไตยซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 นี้จะสามารถกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ลงทุนในเศรษฐกิจในประเทศได้มากขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแผนพัฒนาต่างๆ ในอีอีซีกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว"
สามารถอ่านการประเมินผลการสำรวจเชิงลึกของคุ้กได้ในบล็อกของบรรณาธิการโอบีจี ซึ่งมีชื่อว่า 'Next Frontier' บรรณาธิการอำนวยการประจำภูมิภาคทั้งสี่คนของโอบีจีใช้แพลตฟอร์มนี้ในการแบ่งปันบทวิเคราะห์อย่างผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องการพัฒนาล่าสุดที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆ ในตลาดที่มีการเติบโตสูงกว่า 30 แห่งซึ่งบริษัทได้ทำการวิจัยไว้
เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจี: การสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอ เป็นหนึ่งในผลงานเครื่องมือวิจัยที่มีอยู่มากมายของบริษัท ผลการสำรวจความคิดเห็นในประเทศไทยฉบับเต็มจะมีทั้งรูปแบบออนไลน์และสิ่งตีพิมพ์ นอกจากนี้ การศึกษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในตลาดอื่นๆ ที่โอบีจีศึกษากำลังอยู่ระหว่างการจัดทำ
เกี่ยวกับเครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจี (OBG Business Barometer)
ลิขสิทธิ์เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจี: การสำรวจความคิดเห็นของซีอีโอในประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ
การสำรวจครั้งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความเชื่อมั่นทางธุรกิจของผู้นำธุรกิจ (ประธานบริหารหรือเทียบเท่า) และอนาคตที่คาดหวังในอีก 12 เดือนข้างหน้าของผู้นำเหล่านี้ เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจีนี้ต่างจากการสำรวจอื่นๆ เพราะพนักงานของโอบีจีจะสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆ บริษัทหลากหลายขนาด และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายสาขา โดยผลลัพธ์จะไม่ระบุชื่อผู้ตอบ
เครื่องมือชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจีใช้ข้อมูลจากบริษัทที่มีรายได้จากประเด็นต่อไปนี้:
88% ของบริษัทที่สำรวจเป็นเอกชน
30% ของบริษัทที่สำรวจเป็นบริษัทต่างชาติ
61% ของบริษัทที่สำรวจเป็นบริษัทในประเทศ
9% ของบริษัทที่สำรวจเป็นบริษัทในภูมิภาค
ข้อมูลที่สร้างขึ้นจะช่วยในการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นในแต่ละประเทศ รวมถึงในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย อีกทั้งยัง สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศต่างๆ และภูมิภาคได้ด้วย ผลสำรวจถูกนำเสนอในเชิงสถิติในรูปแบบอินโฟกราฟฟิค และอภิปรายในบทความซึ่งเขียนโดยบรรณาธิการอำนวยการของอ็อกซ์ฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป
อ็อกซ์ฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป จัดทำการสำรวจนี้ อินโฟกราฟฟิค และบทวิเคราะห์จากแหล่งที่เชื่อถือได้เพื่อเป็นข้อมูลความรู้เท่านั้น
โอบีจีจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียทางการเงินหรือสิ่งอื่นใดที่บุคคลหรือองค์กรที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของการสำรวจนี้ โปรดติดต่อ แพททริก คุ้ก บรรณาธิการประจำภูมิภาคเอเชีย ที่ pcooke@oxfordbusinessgroup หากท่านต้องการคัดลอกส่วนใดๆ ในการสำรวจนี้ อินโฟกราฟฟิค และบทวิเคราะห์ โปรดติดต่อ mdeblois@oxfordbusinessgroup.com
การคัดลอกที่ไม่ได้รับอนุญาตจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอบีจีและวิธีสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางธุรกิจที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางของเรา โปรดเยี่ยมชม www.oxfordbusinessgroup.com
เกี่ยวกับอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป
อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (โอบีจี) เป็นบริษัทจัดทำรายงานการวิจัยและที่ปรึกษาระดับโลกในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ทั้งในตะวันออกกลาง, แอฟริกา, เอเชีย และอเมริกา เป็นผู้ให้บริการข่าวสารที่แตกต่างและได้รับการยอมรับด้วยการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงเพื่อรายงานข่าวเกี่ยวกับตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วหลายแห่งทั่วโลก โอบีจีมีสำนักงานในลอนดอน เบอร์ลิน ดูไบ และอิสตันบูล รวมทั้งมีเครือข่ายสำนักข่าวท้องถิ่นในประเทศที่เราปฏิบัติงาน
โอบีจีนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมและแม่นยำทางเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาของภาคธุรกิต่างๆ ซึ่งรวมถึง การธนาคาร ตลาดทุน การท่องเที่ยว พลังงาน การขนส่ง อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โอบีจีเสนอข่าวสารด้านธุรกิจให้แก่สมาชิกผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่ ข่าวและมุมมองทางเศรษฐกิจ (Economic News and Views), ตัวชี้วัดทางธุรกิจของโอบีจี (OBG Business Barometer) – สำรวจความเห็นของซีอีโอ (CEO Survey), การสนทนาและการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Roundtables and Conferences), โกลบอล แพลตฟอร์ม ซึ่งนำเสนอวิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ, รายงานที่ตีพิมพ์ (The Report) และการให้คำปรึกษา (Consultancy)
คลิกที่นี่เพื่อสมัครรับข่าวสารล่าสุดของอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป: http://www.oxfordbusinessgroup.com/country-reports