กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาคณบดีคณะสภาปัต-ยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยแถลงข่าวเปิดตัว "โครงการประกวดแบบบ้านเขียว ส.อ.ท." ขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา ภายใต้งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2561 "Eco Innovation Forum 2018" โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ เอสซีจี ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลด์สตาร์เมททอล จากัด บริษัท ไพร์มสตีล มิลล์ จากัด บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จากัด (มหาชน) บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จากัด (มหาชน) สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะและแปรรูปเหล็กแผ่น ไทยโอบายาชิ บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จากัด (มหาชน) บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จากัด บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จากัด บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้คลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "โครงการประกวดแบบบ้านเขียว ส.อ.ท." เป็นการจัดประกวดแบบบ้าน ราคาประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคัดเลือกผู้ประกวดจากนิสิต นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั่วประเทศกว่า 30 สถาบัน ที่จะต้องออกแบบบ้านในมิติต่างๆ ทั้งในแง่รูปแบบ ขนาด ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ตลอดจนการเลือกวัสดุ เทคโนโลยีกระบวนการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ เป็นราคาที่เป็นมิตรสำหรับประชาชนทั่วไป สามารถนำไปก่อสร้างได้จริง ภายใต้แนวคิด "บ้านเมืองไทย อยู่สบายแบบไทย ให้คุณค่าเรื่องการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม" จากนั้น คณะกรรมการคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง จะนำเสนอแบบบ้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดการรับรู้และนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยคลัสเตอร์ฯ เป็นผู้สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับภาครัฐในทุกมิติ เพื่อให้โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และแบบบ้านที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขโดยคณะทำงานจะมอบแบบบ้านแก่ประชาชน ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวเสริมว่า แนวคิดที่มาของโครงการในครั้งนี้ ได้แก่ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคการก่อสร้างอย่างครบวงจร เสริมสร้างการตระหนักรู้ภายในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศ ถึงฐานข้อมูลกลางของผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง เพื่อประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) ซึ่งเป็นระบบสร้างแบบจำลองดิจิทัลเสมือนจริงของอาคารที่แม่นยำ ผ่านการประกวดแบบบ้านในระดับผลักดันโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และสนับสนุนแนวนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย ในราคาประหยัด จับต้องได้ สามารถนำไปก่อสร้างได้จริง ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน อีกทั้งยังเป็นการออกแบบที่เน้นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Smart Building) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในอนาคต ภายใต้แนวคิด "บ้านเมืองไทย อยู่สบายแบบไทย ให้คุณค่าเรื่องการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชน ได้มีแบบบ้านที่สวยงาม ร่วมสมัย ออกแบบโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย อยู่สบายภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ราคาประหยัด พร้อมปลูกสร้างได้ทันที รวมทั้งส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างจากผู้ผลิตภายในประเทศ ผ่านการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ตามแผนดำเนินงานโครงการ รวมทั้งฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I. Building Material Data Base) เพื่อเชื่อมโยงเป็นคลังสินค้าในระบบดิจิทัล (Digital Catalog) ประยุกต์ใช้กับเทคโนโยลี BIM ในการออกแบบการก่อสร้างเสมือนจริงไปจนถึงขั้นตอนการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อเตรียมการก่อสร้างจริง โดยรางวัลการประกวดในครั้งนี้ สำหรับผู้ที่ชนะเลิศออกแบบบ้าน จะได้เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ มีจำนวน 3 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 รางวัล และรางวัลชมเชย รางวัลละ 10,000 พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 รางวัล รายละเอียดในการรับสมัคร และ การร่วมโครงการ สามารถติดต่อได้ที่ "ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" ต่อไป
ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี ประธานสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เอง ได้มีความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยในประเทศสิงคโปร์เพื่อดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยี BIM ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อการใช้งานในด้านการออกแบบของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งนี้ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ พร้อมสนับสนุนโครงการประกวดแบบบ้านเขียว ส.อ.ท. ที่ได้ร่วมดำเนินการกับคลัสเตอร์วัสดุก่อสร้าง ส.อ.ท. อย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาให้เทคโนโลยี BIM เป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ต่อไป