NIDA Poll “ครู/อาจารย์และการศึกษาไทยในปัจจุบัน”

ข่าวทั่วไป Monday October 8, 2018 10:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ครู/อาจารย์ และ การศึกษาไทยในปัจจุบัน" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 4 ตุลาคม 2561 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชน ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ ครู/อาจารย์ และการศึกษาไทยในปัจจุบัน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับข่าว ครูตรวจการบ้านผิด ครูปล่อยปละนักเรียนจนถูกรุ่นพี่ล่วงละเมิดทางเพศ อาจารย์ให้นักศึกษาแก้เกรดด้วย SEX แลก ฯลฯ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.38 ระบุว่า ไม่มีจรรยาบรรณในการเป็นครู/อาจารย์ รองลง ร้อยละ 33.94 ระบุว่า ไม่มีคุณธรรม (เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์ สุจริต) ร้อยละ 27.42 ระบุว่า ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และวิชาชีพครู ร้อยละ 19.87 ระบุว่า ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ ร้อยละ 17.73 ระบุว่า ไม่เอาใจใส่ศิษย์ ไม่ใส่ใจการสอน ร้อยละ 6.36 ระบุว่า เป็นการกลั่นแกล้ง ดูถูกเหยียดหยามศิษย์ ร้อยละ 2.86 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ รู้สึกเฉย ๆ อยู่ที่ตัวครู/อาจารย์ และเด็ก และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ ด้านคุณสมบัติที่ดีของ "ครู/อาจารย์" พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.94 ระบุว่า เป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหาของนักเรียน ในเรื่องต่าง ๆ รองลง ร้อยละ 23.13 ระบุว่า มีทักษะในการสอน ถ่ายทอดความรู้ได้ดี ร้อยละ 18.36 ระบุว่า มีระเบียบวินัย ร้อยละ 14.87 ระบุว่า เก่ง มีความรู้ความสามารถ พัฒนาตัวเองหาความรู้อยู่เสมอ ร้อยละ 4.85 ระบุว่า ใจดีไม่ดุ ไม่ลงโทษเด็ก ร้อยละ 4.77 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับจรรยาบรรณ "ครู/อาจารย์" ที่ควรมีมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.72 ระบุว่า อบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์เต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ รองลงมา ร้อยละ 27.82 ระบุว่า รักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์เสมอ ร้อยละ 25.68 ระบุว่า รักและศรัทธาในวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู ร้อยละ 8.35 ระบุว่า ไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร้อยละ 3.81 ระบุว่า ไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ ร้อยละ 2.46 ระบุว่า ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงความคาดหวังของประชาชนต่อ "ครู/อาจารย์" ไทยในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.54 ระบุว่า ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ตรงต่อเวลา พูดจาชัดเจน แสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 34.42 ระบุว่า ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ ร้อยละ 31.80 ระบุว่า ซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ร้อยละ 28.06 ระบุว่า รักและเข้าใจศิษย์เพื่อที่ศิษย์จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่าง ๆ ร้อยละ 24.09 ระบุว่า ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ร้อยละ 18.84 ระบุว่า ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน ร้อยละ 16.06 ระบุว่า ช่วยเหลือศิษย์โดยสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ร้อยละ 0.87 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่คาดหวังอะไรกับ "ครู/อาจารย์" ไทยในปัจจุบัน และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ควรปฏิรูปมากที่สุดด้านการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.55 ระบุว่า ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รองลงมา ร้อยละ 24.48 ระบุว่า กลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนา ผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ปรับโครงสร้างของหน่วยงานในสถานการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ร้อยละ 12.48 ระบุว่า การบริหารจัดการกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 11.37 ระบุว่า การจัดการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21 ร้อยละ 4.69 ระบุว่า การศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล และร้อยละ 1.27 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.06 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 27.11 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.38 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.62 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 5.64 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 15.02 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.29 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.26 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.35 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.43 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 93.08 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.58 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.79 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 2.54 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 19.79 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 73.93 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.66 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.62 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 29.65 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.82 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.95 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.92 จบการศึกษาสูงกว่า ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.10 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.92 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.43 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.86 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.63 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.53 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.38 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 3.10 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.16 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.45 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 12.96 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 7.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.41 ไม่ระบุรายได้
แท็ก นิด้า  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ