กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
หลังจากผ่านพ้นวันหยุดยาวที่เป็นสัปดาห์เฉลิมฉลองวันชาติจีน (Golden Week) ตั้งแต่วันที่ 1-7 ตุลาคม ข้อมูลสถิติของอาลีเพย์มีความสนใจในช่วงวันหยุดยาวดังกล่าว เนื่องจากบริการของอาลีเพย์ยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นยอดใช้จ่ายในต่างประเทศผ่านแอพอาลีเพย์จึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
สำหรับช่วงวันหยุดยาวดังกล่าวในปีนี้ อาลีเพย์ได้จัดแคมเปญชิงโชค โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 3.1 ล้านคน และมียอดวิวกว่า 230 ล้านครั้งบนโซเชียลมีเดียของอาลีเพย์และผู้ค้าที่เป็นพันธมิตร ผู้โชคดีได้รับรางวัลและของกำนัลจากผู้ค้ากว่า 200 รายทั่วโลกที่เป็นพันธมิตรกับอาลีเพย์ และสามารถแลกสินค้าระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในปีหน้า
อาลีเพย์ (Alipay) แพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์และการชำระเงินผ่านมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดำเนินงานโดยกลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Ant Financial Services Group) เปิดเผยข้อมูลสรุปเกี่ยวกับธุรกรรมในต่างประเทศช่วงวันหยุดยาว Golden Week ของจีน (1 – 7 ตุลาคม) ในปีนี้ดังนี้:
- Alipay processed 2.2 times as many overseas in-store transactions during this year's holiday compared to last year.
- ธุรกรรมในร้านค้าต่างประเทศผ่านอาลีเพย์เพิ่มขึ้นถึง 2.2 เท่าในช่วงวันหยุดยาวของปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
- ภูมิภาคเอเชียยังคงครองแชมป์จุดหมายปลายทาง 10 อันดับสูงสุดในด้านปริมาณธุรกรรม (transaction volume) โดยฮ่องกงครองอันดับหนึ่ง ตามด้วยประเทศไทย ซึ่งยังคงรั้งตำแหน่งอันดับ 2 ขณะที่ญี่ปุ่นเลื่อนขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 ในปีนี้
10 อันดับประเทศที่ทำธุรกรรมมากที่สุดช่วง Golden Week
2561 2560
ฮ่องกง 1 ฮ่องกง
ไทย 2 ไทย
ญี่ปุ่น 3 ไต้หวัน
เกาหลีใต้ 4 ญี่ปุ่น
มาเก๊า 5 เกาหลีใต้
ไต้หวัน 6 มาเก๊า
สิงคโปร์ 7 สิงคโปร์
มาเลเซีย 8 มาเลเซีย
ออสเตรเลีย 9 ออสเตรเลีย
สหรัฐฯ 10 สหรัฐฯ
- สำหรับประเทศในแถบยุโรป ที่แม้จะมีไม่ใข่จุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่กลับมีการเติบโตเร็วที่สุดในด้านการใช้บริการอาลีเพย์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีการขยายบริการอาลีเพย์ไปสู่ผู้ค้าในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง โดยสวิตเซอร์แลนด์มีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้น 27 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2560
การเพิ่มขึ้นของปริมาณธุรกรรมอาลีเพย์ (Golden Week 2561 เทียบกับ Golden Week 2560)
สวิตเซอร์แลนด์ 27 เท่า
สเปน 14 เท่า
กัมพูชา 14 เท่า
รัสเซีย 12 เท่า
นอร์เวย์ 10 เท่า
เนเธอร์แลนด์ 8 เท่า
อิตาลี 7 เท่า
กรีซ 7 เท่า
ฝรั่งเศส 5 เท่า
- ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้น 30% เป็น 1,979 หยวน (ประมาณ 9,500 บาท) จาก 1,534 หยวน (ประมาณ 7,300 บาท) เมื่อปีที่แล้ว โดยประเทศที่มียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูงสุดคือ เดนมาร์ก ซึ่งอยู่ที่ 8,764 หยวน (ประมาณ 42,000 บาท) ตามมาด้วยฝรั่งเศสและอิตาลี ทั้งนี้ ประเทศในภูมิภาค EMEA ครองสัดส่วนมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่มียอดใช้จ่ายต่อคนสูงที่สุด 10 อันดับแรก
สำหรับแต่ละทวีป ยุโรปมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย: 3,630 หยวน (ประมาณ 17,000 บาท), สหรัฐฯ และแคนาดา: 1,888 หยวน (ประมาณ 9,000 บาท), ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์: 1,819 หยวน (ประมาณ 8,700 บาท), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: 1,527 หยวน (ประมาณ 50,000 บาท), เอเชียตะวันออก: 1,850 หยวน (ประมาณ 61,000 บาท)
ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูงสุดในยุโรป
1 เดนมาร์ก
2 ฝรั่งเศส
3 อิตาลี
4 เบลเยียม
5 สวิตเซอร์แลนด์
6 สเปน
7 UAE
8 เนเธอร์แลนด์
9 เกาหลีใต้
10 อิสราเอล
- ไอซ์แลนด์และมัลดีฟส์เริ่มเปิดให้บริการชำระเงินผ่านอาลีเพย์สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนก่อนถึงช่วงวันหยุดยาว Golden Week ในปีนี้ ปัจจุบันอาลีเพย์พร้อมใช้งานสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในมากกว่า 40 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
- จำนวนผู้ใช้บริการอาลีเพย์ที่เป็นผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชายสองเท่า
- ผู้ใช้บริการอาลีเพย์ที่เกิดในทศวรรษ 1970, 1980 และ 1990 คิดเป็นสัดส่วน 96% ของผู้ใช้บริการอาลีเพย์ในต่างประเทศทั้งหมด ส่วนจำนวนผู้ใช้ที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งใช้อาลีเพย์ในต่างประเทศในช่วงวันหยุด Golden Week เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
- ชาวจีนกว่า 3.1 ล้านคนเข้าร่วมในการจับรางวัลชิงโชค Golden Week ของอาลีเพย์ ด้วยการร่วมสนุกผ่านบัญชีของอาลีเพย์บน Weibo และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม มีการประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัล เป็นผู้หญิงอายุ 26 ปีจากปักกิ่ง ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ จากร้านค้ากว่า 200 รายใน 15 ประเทศทั่วโลก แคมเปญดังกล่าวมียอดวิวสูงกว่า 230 ล้านครั้ง และได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดียและสื่อในจีนในช่วง 7 วันของการแข่งขัน
- นักท่องเที่ยวในต่างประเทศใช้คูปองอิเล็กทรอนิกส์ของอาลีเพย์กว่า 3 ล้านใบ เพื่อรับส่วนลดในการซื้อสินค้า การรับประทานอาหาร และบริการรถแท็กซี่
ข้อมูลเชิงลึกที่ในประเทศไทย:
ปริมาณธุรกรรมผ่านอาลีเพย์ในประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 2 จากทั่วโลกขณะที่ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนของไทยอยู่ที่ 1,584 หยวน หรือ 7,500 บาท เพิ่มขึ้น 0.95 เท่าจากปีที่แล้ว คิดเป็นอันดับที่ 23 จากทั่วโลก
นักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้บริการอาลีเพย์เพื่อซื้อสินค้าจาก ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลอดภาษี และร้านขายยา
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ: ครองอันดับ 3 ในบรรดาสนามบินทั้งหมดทั่วโลกในด้านปริมาณธุรกรรมผ่านอาลีเพย์ตามหลังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และท่าอากาศยานชางงีของสิงคโปร์ โดยปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้น 1.3 เท่าจากปีที่แล้ว ขณะที่ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 1,091 หยวน หรือ 5,200 บาท เพิ่มขึ้น 1.3 เท่าจากปีที่แล้ว
ก่อนช่วงวันหยุดยาว Golden Week แท็กซี่ที่ให้บริการในสนามบินราว 3,000 คันเริ่มเปิดรับชำระเงินผ่านอาลีเพย์ และในช่วง Golden Week มีการชำระค่าโดยสารผ่านอาลีเพย์หลายร้อยครั้ง นับเป็นแนวโน้มที่สำคัญในประเทศไทยสำหรับการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวจีนชำระค่าโดยสารแท็กซี่ผ่านอาลีเพย์
เกี่ยวกับ แอนท์ ไฟแนนเชียล
กลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส (Ant Financial Services Group) มุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ผู้คนทั่วโลก เทคโนโลยีต่างๆ ของเรา เช่น บล็อกเชน (Blockchain), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), ระบบรักษาความปลอดภัย, Internet of Things และระบบประมวลผล ช่วยให้เราและพาร์ทเนอร์อิโคซิสเต็มส์ของเราสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Unbanked) หรือกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้บ้าง (Underbanked) โดยนำเสนอบริการด้านการเงินที่ปลอดภัย โปร่งใส ประหยัดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงได้ง่ายสำหรับบุคคลทั่วไปและธุรกิจเอสเอ็มอีทั่วโลก
แอนท์ ไฟแนนเชียล ได้มีความร่วมมือระหว่างประเทศกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลก เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในตลาดดังกล่าว และเราให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนในต่างประเทศ ด้วยการเชื่อมโยงอาลีเพย์กับผู้ค้าออนไลน์และออฟไลน์ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 แอนท์ ไฟแนนเชียล และพาร์ทเนอร์ธุรกิจร่วมทุน ให้บริการแก่ผู้ใช้กว่า 870 ล้านคนทั่วโลก แบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่มบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส ได้แก่ Alipay, Ant Fortune, Zhima Credit, MYbank และ Ant Financial Cloud
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอนท์ ไฟแนนเชียล โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.antfin.com หรือติดตามเราบน Twitter @AntFinancial