กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
12 ตุลาคม 2561 : รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปวท.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมให้การต้อนรับ Dr.Christopher Ford,Assistant Secretary,Bureau of International Security and Nonproliferation, U.S. Department of State และคณะ ในโอกาสเข้าพบผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อหารือความร่วมมือระหว่างประเทศ ณ ห้องพระจอมเกล้า ชั้น 4 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยการเข้าพบในครั้งนี้ รศ.นพ.สรนิตฯ ปวท. พร้อมด้วย Dr.Christopher Ford,Assistant Secretary ได้ร่วมกันหารือประเด็นสำคัญในเรื่องของรูปแบบการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้นิวเคลียร์ในประเทศทางสันติ (Forms of international, peaceful civilian nuclear cooperation), การต่ออายุข้อตกลง 123 Agreement (New 123 Agreement-questions, next steps) และพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติและแผนพัฒนาพลังงาน (Nuclear Energy Act and Power Development Plan)
ที่ผ่านมานั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสหรัฐอเมริกามีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้นิวเคลียร์ในทางสันติ (International, peaceful civilian nuclear cooperation) โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) มีกิจกรรมร่วมกับ NNSA, USDOE เพื่อปรับปรุงระบบ Nuclear Security ภายใต้โครงการ National Security Enterprise (NSE) ซึ่งดำเนินการระหว่าง Pacific Northwest National Lab (PNNL) NNSA, USDOE สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Department of Foreign Affairs, Trade and Development Canada (DFATD) ประเทศแคนาดา และอีกหนึ่งความร่วมมือที่สำคัญนั่นการ การต่ออายุ 123Agreement โดยไทยได้ลงนามใน Agreement for Cooperation between the Government of the United states of America and the Government of the kingdom of Thailand concerning civil uses of atomic energy เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2517 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 ซึ่ง สทน. ดำเนินกิจกรรมทางนิวเคลียร์โดยยึดถือเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ หากการต่ออายุ 123Agreement ตาม Section 123 ดังกล่าว ไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทย สทน. สามารถต่ออายุได้ทันที โดยการต่ออายุความตกลงดังกล่าวจะทำให้สหรัฐฯ สามารถส่งเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย มายังได้ประเทศไทยตามที่ต้องการได้ และประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องปฏิกรณ์ฯ ได้อย่างเต็มความสามารถได้ต่อไป