กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--แฟรนคอม เอเชีย
GTI, Informa และหัวเว่ย ร่วมจัดประชุมด้านบรอดแบนด์ไร้สาย WTTx (Fixed Wireless Access) ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้ธีม 'Bring Affordable and Fast Fixed Wireless Broadband to Every Household' ตั้งเป้าเร่งการเข้าถึงบรอดแบนด์ไร้สายของครัวเรือนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เติบโต กำหนดนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่เอื้อต่อการเข้าถึง และผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมแบบครบวงจร
ในการประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านไอซีที ผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำ และองค์กรอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ประกาศข้อตกลงว่าด้วย "การลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล เร่งการเข้าถึงบรอดแบนด์ของครัวเรือน" เพื่อสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ยั่งยืน
ในงาน หน่วยงานกำกับดูแลด้าน ICT ได้พูดคุยเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงให้มากที่สุดเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม ผ่านนโยบายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อาทิ คลื่นความถี่ ภาษี และเงินอุดหนุน
ตามเป้าหมายด้านบรอดแบนด์ระดับประเทศที่กำหนดในการประชุม ITU 2018 การเข้าถึงบรอดแบนด์ระดับประเทศจะทะยานเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 50% ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความหลากหลายมากขึ้นในบ้าน การเข้าถึงบรอดแบนด์ไร้สายจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการให้ บริการบรอดแบนด์ด้วยสัญญาณที่ครอบคลุมบริเวณกว้างในราคาที่ไม่แพง
WTTx เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์บ้านที่ใช้เทคโนโลยี 4G / 4.5G ในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายผ่านไฟเบอร์ในราคาประหยัดสำหรับครัวเรือน โดยมีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นในด้านค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดำเนินงานต่ำ ในขณะเดียวกันก็เป็นบริการที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องของความเร็ว และในหลายประเทศ ผลการทดสอบของความเร็ว 4G กลับเร็วแซงหน้าเทคโนโลยีบรอดแบนด์ที่ให้บริการแบบอยู่กับที่ และมีจำนวนประเทศที่ใช้งานเพิ่มขึ้นทุกวัน
มร. ประทีป ดี อัลไมดา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ของไดอะล็อก กรุ๊ป ได้กล่าวถึงตัวอย่างโครงการ WTTx และนวัตกรรมทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการสร้างตลาดในศรีลังกาว่า "สมาชิกและการเติบโตของข้อมูลในปัจจุบันต้องการเครือข่ายที่มีความเร็วสูงขึ้นและราคาค่าบริการที่เหมาะสม เราได้เลือก WTTx ที่จะเป็นวิธีการตอบโจทย์ความต้องการนี้ให้ได้เร็วที่สุด และใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วในการให้บริการบรอดแบนด์ภายในบ้าน
"เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้เส้นทางการอัพเกรดง่ายขึ้นเมื่อต้องรับมือกับ Throughput และความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เราใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างจริงจังโดยคำนึงถึงเส้นทางการอัพเกรดไปจนถึงเครือข่ายที่ต้องรองรับความต้องการในอนาคต ขณะนี้ ไดอะล็อกได้ติดตั้งใช้งานเทคโนโลยี Carrier aggregation และ TDD Massive MIMO เพื่อให้บริการ WTTx สำหรับแบนด์วิธที่แตกต่างกัน และความหนาแน่นของลูกค้า Massive MIMO จะเป็นเส้นทางการอัพเกรดไปสู่ 5G ที่ง่ายดาย ถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ถูกต้อง"
มร. ไทด์ ซวี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ไร้สายของหัวเว่ย กล่าวในสุนทรพจน์เปิดงานของเขาว่า "หัวเว่ยยังคงเน้นการตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้า และจะรังสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การเชื่อมต่อในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดีขึ้นและมีความเป็นอัจฉริยะ ด้วยการมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าด้วยโซลูชั่นที่คุ้มค่า"
ในปี 2560 จำนวนผู้ใช้งาน WTTx ได้แตะถึง 50 ล้านรายแล้วทั่วโลก เทคโนโลยีนี้ทำให้การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายไปยังครัวเรือนต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในราคาที่ถูกลงถึง 75% และให้ความเร็วที่สูงกว่า 90% เมื่อเทียบกับอินเทอร์เน็ตแบบให้บริการอยู่กับที่ ทำให้ผู้ให้บริการได้ผลตอบแทนจากการลงทุนคืนในเวลาน้อยกว่า 3 ปี