กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--ธนาคารเกียรตินาคิน
ภาพรวมผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2561 ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (ธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อย) มีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,551ล้านบาท โดยอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2561 ที่มีจำนวน 1,551 ล้านบาท และหากเทียบกับไตรมาส 3/2560 ลดลงร้อยละ 10.0
สำหรับผลกำรดำเนินงำนงวดเก้าเดือนปี 2561 เปรียบเทียบกับงวดเก้าเดือนปี 2560 มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 4,615 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากงวดเดียวกันของปี 2560
สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 มีจำนวน 295,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากสิ้นปี 2560
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ไตรมาส 3/2561 สินเชื่อของธนาคารมียอดรวมอยู่ที่ 220,141 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 2/2561 ส่งผลใหสินเชื่อโดยรวมของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 จากสิ้นปี 2560 โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท ด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลงต่อเนื่องโดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.2
ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งเงินกองทุนทั้งสิ้นได้รวมกำไรถึงงวดครึ่งแรกของปี 2561 หลังหักเงินปันผลจ่าย อยู่ที่ร้อยละ 16.36 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.85 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 3/2561 จะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเท่ากับร้อยละ 17.03 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 13.52
ธุรกิจตลาดทุน
ธุรกิจนายหน้ำ (Brokerage Business)
บล.ภัทร ดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management ซึ่งในกลุ่มนี้บริษัทให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนและหุ้นกู้อนุพันธ์อีกด้วย สำหรับไตรมาส 3/2561 บล.ภัทร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.2 เป็นอันดับที่ 8 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่ง และบล.ภัทร มีรายได้ค่านายหน้า 312 ล้านบาท
ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business)
บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ ในไตรมาส 3/2561 บล.ภัทร มีรายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจรวม 86 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 40 ล้านบาท รายได้การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 12 ล้านบาท และรายได้อื่น 34 ล้านบาท
ธุรกิจกำรลงทุน (Investment Business)
ไตรมาส 3/2561 ฝ่ายลงทุนมีผลขาดทุนจากการลงทุนโดยรวมขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 91 ล้านบาท ในส่วนของธุรกิจเฮดจ์ฟันด์มีผลขาดทุน 44 ล้านบาท สำหรับฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถทำรายได้จานวน 76 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากการลงทุนอื่นในส่วนของการบริหารเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัท ทำให้ในไตรมาส 3/2561 บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนรวมจากธุรกิจลงทุนจำนวน 28 ล้านบาท
ธุรกิจจัดกำรกองทุน (Asset Management Business)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 บลจ.ภัทร มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุน 66,407 ล้านบาท มีกองทุนภายใต้การบริหารรวม 26 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) 23 กองและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 3 กอง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.3 สำหรับไตรมาส 3/2561 บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนรวมจานวน 125 ล้านบาท
สาหรับกองทุนส่วนบุคคล ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 27,841 ล้านบาท ทั้งนี้ บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 76 ล้านบาท
ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2561 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2561 โดยเป็นผลจากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นสาคัญ ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน โดยการบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างชัดเจนในสินค้าคงทน (โดยเฉพาะรถยนต์) สอดคล้องไปกับรายได้ของครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น
ในส่วนของการลงทุนของภาครัฐปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปีตามการเบิกจ่ายค่าก่อสร้างและเครื่องจักรของกรมชลประทานและกรมทางหลวงชนบทเป็นสาคัญ ขณะที่ภาคต่างประเทศขยายตัวชะลอลง ทั้งการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ที่หดตัวจากการขึ้นภาษีนาเข้าของสหรัฐและฐานสูงจากการเร่งส่งออกปีก่อน รวมถึงการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ก็เริ่มชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน ในส่วนของการท่องเที่ยวในไตรมาส 3 มีทิศทางชะลอตัวลงมากจากผลกระทบจากเหตุการณ์เรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสำคัญ สอดรับไปกับจำนวนนักท่องเที่ยวเดือนกรกฏาคมและสิงหาคมเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
แม้ว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจจะมีทิศทางที่ทยอยดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคเอกชนในประเทศ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า ได้แก่ หนึ่ง ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมถึงภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้การบริโภคของครัวเรือนยังขยายตัวได้ไม่ทั่วถึง สอง ความเสี่ยงจากนโยบายการค้าของสหรัฐและประเทศอื่นๆ ที่ตอบโต้สหรัฐ รวมถึงแนวโน้มความเสี่ยงของเศรษฐกิจจีนที่อาจอ่อนแอลง อาจส่งผลให้การขยายตัวของภาคส่งออก ต่อเนื่องมาถึงภาคการลงทุนชะลอตัวลง สาม ความผันผวนของราคาน้ำมันในทิศทางเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์โดยฉพาะแถบตะวันออกกลาง ซึ่งกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดให้ปรับตัวลดลง รวมถึงเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และสี่ ความตึงตัวทางการเงินที่เริ่มเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากสัญญาณของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เริ่มพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต และจากดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 จนถึงสิ้นปีนี้