กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี การพัฒนาสู่การจัดการธุรกิจที่มีคุณภาพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน
เนื่องจากประเทศอาเซียนจะเป็นเสมือนตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกันโดยเสรี ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาศักยภาพของธุรกิจ
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง "รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธูรกิจส่งอออของประเทศไทยตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" โดย ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ อนันต์ สุนทราเมธากุล อัยรดา พรเจริญ และสรายุทธ พรเจริญ ที่ตีพิมพ์ในวารสารปัญญาภิวัฒน์ ฉบับพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2561 พบว่า รูปแบบการจัดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพของการส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและกฎหมาย นโยบายรัฐบาล เทคโนโลยี ส่วน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่มีผลต่อรูปแบบการจัดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ตามการขยายตัวของประชาคมอาเซียน
การเพิ่มศักยภาพในการส่งออกของผู้ประกอบการจึงเปรียบเสมือนการพัฒนาขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้า ดังนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐจจำเป็นต้องส่งเสริมการลงทุน ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพธุรกิจไทยก้าวสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานระดับโลก รวมทั้งการพัฒนาให้แรงงานมีระเบียนวินัยในการทำงานมากขึ้น เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ติดตามมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://journal.pim.ac.th/pages/the-change-management-pattern-to-enhance-potentiality
วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ เดือนกรกฎาคม 2561
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โทร. 02 855 1102, 1560