กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--แฟรนคอม เอเชีย
จากงานวิจัยของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราทุกคนทราบดีว่าในปี 2564 หรืออีกสามปีข้างหน้า จำนวนประชากรผู้สูงวัย (ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ถึง 13.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยทั้งประเทศ และจะทำให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" อย่างสมบูรณ์ รัฐบาลไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เร่งออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับประเทศสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาความท้าทายที่บีบคั้นมากขึ้น ทำให้เรายังไม่สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า อนาคตของกลุ่มผู้สูงวัยของไทยมีความมั่นคงปลอดภัยและพร้อมเผชิญทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว
โดยทั่วไป โรคและปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความแก่ชรามักจะเกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อต่อ ระบบการย่อยอาหาร สายตาและการมองเห็น และหัวใจและหลอดเลือด ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจปัญหาสุขภาพดังกล่าวและหาวิธีป้องกันเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี
คนไทยคิดเห็นและเตรียมตัวอย่างไรบ้างกับการเป็นผู้สูงวัย
จากผลสำรวจล่าสุดของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เกี่ยวกับการ "สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี (healthy aging)" โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีทั้งสิ้น 5,510 คนจาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนไทยจำนวน 502 คนที่ร่วมทำแบบสำรวจออนไลน์นี้ พบว่าร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยตอบว่าการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีคือ "การไม่เป็นภาระให้ลูกหลานยามแก่เฒ่า" ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจากประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66) ตอบว่าคือ "การเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉงแม้จะแก่ตัวไปเรื่อย ๆ" จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าคนไทยมีมุมมองและความเข้าใจเรื่องการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีที่แตกต่างออกไป และทำให้มีการจัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตต่างจากคนในประเทศอื่นด้วย
นอกจากนั้น ร้อยละ 98 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยเห็นด้วยว่า พวกเขาสามารถเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้เช่นเดียวกับผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยร้อยละ 60 มองว่า ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีคือ ช่วงอายุ 40-50 ปี ในขณะที่สัดส่วนของผู้ตอบแบบสำรวจโดยรวมทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิกที่มองว่าช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมพร้อมอย่างจริงจังเพื่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีในช่วงอายุ 40-50 ปี มีมากถึงร้อยละ 71 นั่นหมายถึงคนไทยผู้ตอบแบบสำรวจอาจคิดถึงการเตรียมตัวที่ช้ากว่าผู้คนที่ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่แพทย์ทั่วโลกส่วนใหญ่มักจะสนับสนุนให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้นเมื่ออายุเข้าสู่เลข 40 เพราะวัยนี้เป็นต้นไปคือช่วงวัยที่เริ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและมีโรคภัยต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยยังหนุ่มสาว
หนทางสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี
หลักการ 3 ประการที่ช่วยให้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี มีดังนี้
- โภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ
การได้รับและเสริมโภชนาการที่สมดุลให้แก่ร่างกาย ก็จะช่วยลดโอกาสในการเจ็บป่วยได้แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและข้อต่อและลดโอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะหักหรือเปราะบางได้ง่ายเมื่อเราหกล้ม นอกจากนี้ การจะดูแลระบบย่อยอาหารให้ดี และเสริมด้วยอาหารที่มีเส้นใยอาหารและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสายตาและการมองเห็นก็จะลำบากขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลง ดังนั้นให้หมั่นตรวจเช็คสุขภาพสายตาและเสริมด้วยอาหารที่มีสารลูทีน ที่พบมากในข้าวโพดหวาน ฟักทอง แครอท ไข่แดง เป็นต้น
สำหรับระบบหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่จะส่งผลเสียต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เช่นกลุ่ม อาหารหวาน มัน เค็ม หมั่นออกกำลังกายและดูแลควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ และที่สำคัญที่สุด ต้องรักษาระดับความเครียดซึ่งเป็นภัยเงียบไม่ให้สูงเกินไป ด้วยการฝึกหายใจช้าๆ หัดสังเกตความรู้สึกของตนเองอย่างมีสติ ก็นับเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจของคุณด้วย
- การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
และจากคำตอบของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยส่วนใหญ่ที่ว่า "การไม่เป็นภาระให้ลูกหลานยามแก่เฒ่า" ทราบหรือไม่ว่า การออกกำลังกาย เคลื่อนไหว สม่ำเสมอ จะนำมาซึ่งการไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานในที่สุด อีกทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยให้เราสามารถรักษามวลกระดูกและมวลกล้ามเนื้อซึ่งส่งเสริมให้เรายังคงมีพละกำลัง มีความยืดหยุ่นของร่างกายซึ่งทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ
- หมั่นทำกิจกรรมที่ฝึกฝนและกระตุ้นให้สมองได้คิดอยู่เสมอ
หมั่นฝึกฝนให้สมองได้คิดอยู่เสมอ มองหากิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นสมองเช่น เกมส์ปริศนาปัญหาเชาว์ การอ่านหนังสือ การสร้างงานศิลปะ หรือแม้กระทั่งการทำสมาธิ เพื่อลับสมองให้มีความเฉียบคม ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาความจำและกระบวนการคิดที่จะเกิดขึ้นเมื่อสูงวัยได้
การลงมือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีนั้นจะสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่ชีวิตเราแน่นอน และเราโชคดีมากที่สังคมไทยเป็นสังคมที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารีและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดีนั้น การได้รับกำลังใจและการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ รอบตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะกำลังใจและความห่วงใยที่ได้รับจะช่วยให้ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างมีความสุขมากขึ้นได้ ตลอดจนมีไลฟ์สไตล์ที่สดใสแข็งแรง และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวได้อย่างยืนยาว
กดไลค์เราที่เฟซบุ๊ค พร้อมอีกหลากหลายเคล็ดลับดี ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ได้ที่
www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial