กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--คอร์แอนด์พีค
บริษัทต่างๆ กำลังต่อสู้กับราคา การจัดการและการแบ่งสรรทรัพยากรภายในโครงสร้างพื้นฐานของระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องดูแล เทคโนโลยีใหม่มีความพร้อมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ตามความคิดเห็นของนายฮิว โยชิดะ ซีทีโอ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้กล่าวว่า ปี 2551 จะเห็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดสรรข้อมูล และระบบการจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ ทำให้แผนกไอทีส่วนใหญ่ขององค์กร กำลังเผชิญกับการเติบโตที่รวดเร็วของข้อมูล การลดงบประมาณด้านไอทีและความคาดหวังที่สูงขึ้น
สำหรับแนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญ 10 ประการที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2551 มีดังต่อไปนี้
1. การควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์: เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ทำให้รัฐบาลหลายแห่งได้กำหนดแนวทางและออกกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ขณะที่องค์กรรายใหญ่ได้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เช่นกัน โดยแหล่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดอ๊อกไซด์หลักนั้นมาจากการผลิตไฟฟ้า และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านกำลังการประมวลผล เครือข่าย ช่องสัญญาณ และความจุของสตอเรจ ทำให้ศูนย์ข้อมูลมีความต้องการใช้ไฟและระบบปรับอากาศเพิ่มขึ้น รัฐบาลสหรัฐ ได้ทำการศึกษาและพบว่าแผนกไอทีใช้ไฟราว 61,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ในปี 2549 (1.5% ของการใช้ไฟทั้งหมดในสหรัฐ) โดยมีค่าไฟทั้งสิ้นประมาณ 4,500 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีกห้าปีข้างหน้า โดยในเมืองใหญ่ๆ บางเมือง เช่น ลอนดอนและนิวยอร์ค กำลังขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าและศูนย์ข้อมูลถูกบังคับให้ต้องย้ายไปอยู่ในเขตพื้นที่อื่นที่มีไฟฟ้าเพียงพอ ส่งผลให้เทคโนโลยีสีเขียวที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน ได้รับความต้องการและมีการลงทุนมากขึ้น ในเดือนกันยายน 2550 บริษัท ฮิตาชิ จำกัด ได้เปิดตัวโปรแกรมหนึ่งในญี่ปุ่น ชื่อว่า คูลเซ็นเตอร์50 (CoolCentre50) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลในเมืองโยโกฮามา และเมืองโอกายามาราว 50% ภายใน 5 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวจะครอบคลุมในทุกด้าน ได้แก่ ระบบปรับอากาศ การใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที และซอฟต์แวร์ด้านการจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นาโอยะ ทากฮาชิ ผู้จัดการทั่วไปส่วนบริหาร และรองประธานกลุ่มข้อมูลและโทรคมนาคม บริษัท ฮิตาชิ ได้เปิดตัวแผนรวมพลังสีเขียว (Harmonious Green) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ให้ได้ 330,000 ตันในอีก 5 ปีข้างหน้า ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูล (สตอเรจ) และเซิร์ฟเวอร์เสมือน
2. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ: จากภาวะล้มเหลวของตลาดที่พักอาศัยในสหรัฐฯ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และเงินดอลลาร์อ่อนตัวทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้องค์กรต่างๆ มีความรัดกุมด้านงบประมาณมากขึ้นและฝ่ายไอทีต้องทำงานมากขึ้นโดยใช้ค่าใช้จ่ายที่ลดลง สิ่งนี้ผลักดันให้มีการพิจารณาวิธีที่จะรวมทรัพยากรไอทีให้เป็นหนึ่งเดียวผ่านทางเทคโนโลยีเสมือนจริง เพิ่มการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เช่น เซิร์ฟเวอร์ และความจุสตอเรจ กำจัดความซ้ำซ้อนที่เป็นไปได้ผ่านทางการลดปริมาณข้อมูลซ้ำซ้อนที่จัดเก็บและเก็บตัวอย่างไว้ที่เดียว ตลอดจนลดกระบวนการผลิตข้อมูลโดยใช้ผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
3. การใช้ระบบจัดเก็บถาวรเพิ่มขึ้น : ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ฐานข้อมูล กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นและต้องมีการจัดเก็บไว้ในระยะยาวตามกฎข้อบังคับ ข้อมูลที่มีประโยชน์ อย่าง อีเมล์ หน้าเว็บไซต์ และข้อมูลการจัดเก็บเอกสารกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก โควต้าของอีเมล์องค์กรจะเพิ่มจากไม่ถึง 200 เมกะไบต์ ไปเป็น 2 กิกะไบต์ และเกิดการแข่งขันในบริการให้ใช้พื้นที่อีเมล์ฟรีจากกูเกิล และเอโอแอล ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์จำนวนมากเกิดขึ้นมาจากความนิยมในการใช้แท็กอาร์เอฟไอดี สมาร์ทการ์ด และเซ็นเซอร์ที่จะตรวจสอบทุกสิ่งตั้งแต่การเต้นของหัวใจไปจนถึงการข้ามเขตแดน โดยเครื่องบินแอร์บัส และโบอิ้ง ดรีม ไลเนอร์ส จะสร้างข้อมูลที่ระดับเทราไบต์ ในแต่ละเที่ยวบิน แรงกดดันทั้งหมดเหล่านี้จะก่อให้เกิดความต้องการในด้านการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้นและจะต้องการระบบจัดเก็บถาวรประเภทใหม่ที่สามารถปรับขนาดได้เป็นระดับเพตาไบต์ รวมทั้งให้ความสามารถในการค้นหาเนื้อหาในข้อมูลต่างชนิดกันได้ การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรแยกต่างหากสำหรับข้อมูลแต่ละประเภทไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด
4. การตระหนักถึงความไม่เพียงพอของระบบจัดเก็บข้อมูล: การตื่นตัวในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลหรือสตอเรจ ที่ไร้ประสิทธิภาพมีเพิ่มมากขึ้น เพราะสตอเรจมีการใช้ประโยชน์น้อย มีการคัดลอกข้อมูลซ้ำมากเกินไป เข้าถึงข้อมูลได้ช้า การค้นหาไม่มีประสิทธิภาพ และการเคลื่อนย้ายและการโยกย้ายข้อมูลไม่ราบรื่น ซึ่งการซื้อสถาปัตยกรรมของสตอเรจแบบเก่ามาใช้งานเพิ่มขึ้นนั้นจะไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้องอีกต่อไป การซื้อตัวประมวลผลสตอเรจที่เร็วขึ้นพร้อมดิสก์ที่มีความจุมากขึ้นในสถาปัตยกรรมที่มีอายุ 20 ปีแบบเดิมก็จะไม่สามารถใช้การได้อีก สถาปัตยกรรมสตอเรจแบบใหม่จะต้องตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่สามารถปรับขนาดสมรรถนะ การเชื่อมต่อ และความจุ สามารถทำงานได้โดยไม่มีสะดุดในระดับหลายเพตาไบต์จะเป็นที่ต้องการ นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวจะต้องสามารถให้บริการสตอเรจและข้อมูลใหม่ อย่างการรวมโปรโตคอลจำนวนมาก และการค้นหาข้อมูลข้ามกลุ่มจากสตอเรจต่างระบบกัน โดยมีการจัดการด้านข้อมูลจากส่วนกลางและมีระบบป้องกันที่ปลอดภัย
5. การเคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ : จากความต้องการให้แอพพลิเคชั่นมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายไอทีต้องการความสามารถในการย้ายข้อมูลได้โดยไม่หยุดการทำงานของแอพพลิเคชั่น ขณะที่ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการโยกย้ายข้อมูลในอดีตจะแย่งกำลังการประมวลผลจากแอพพลิเคชั่น และจำกัดความเร็วในการเชื่อมต่อไอพีให้ช้าลง ด้วยปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดความไม่ราบรื่นมากขึ้นด้วย การย้ายข้อมูลจะต้องหันไปใช้ระบบสตอเรจที่สามารถย้ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงของการเชื่อมต่อแบบ Fibre Channel โดยไม่จำเป็นต้องแย่งกำลังการประมวลผลของแอพพลิเคชั่น สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับการย้ายข้อมูลในระหว่างการอัพเกรดสตอเรจ
6. ชุดที่ใช้การต่อเชื่อมระบบเสมือนจริงของสตอเรจ: ชุดที่ใช้การต่อเชื่อมระบบเสมือนจริงของสตอเรจได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดเดียวที่จะก่อให้เกิดระบบสตอเรจเสมือนจริงที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มสตอเรจที่มีอยู่ได้ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม อย่าง ดร.เควิน แมคไอแซค บริษัท อินเทลลิเจนท์ บิสิเนส รีเสิร์ช เซอร์วิส พีทีวาย ในออสเตรเลีย ระบุว่า “แนวความคิดของการสร้างชั้นเสมือนจริง (ในเครือข่าย) ให้กับกลุ่มสตอเรจที่มีอยู่นั้นมีช่องโหว่สำคัญ” เขาระบุว่าสิ่งนี้ “ส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐาน จำกัดคุณลักษณะที่มีมูลค่าของกลุ่มสตอเรจ” ประเภทเสมือนจริงนี้จะเพิ่มความซับซ้อนอีกชั้นของปัญหาคอขวด กลายเป็นอีกสาเหตุของความล้มเหลว และการจำกัดเฉพาะตัวผู้ค้า แนวคิดที่ใช้การต่อเชื่อมสำหรับระบบเสมือนจริงจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นของชุดที่ใช้การต่อเชื่อมได้อย่างเต็มที่ ในการปรับปรุงฟังก์ชั่นการใช้งานด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และแนวคิดที่ใช้ชุดที่ใช้การต่อเชื่อมสำหรับระบบสตอเรจเสมือนจริงจะทำให้ระบบสตอเรจมีความสามารถในการใช้บริการมูลค่าเพิ่มที่ชุดที่ใช้การต่อเชื่อมมี เช่น ฟังก์ชั่นการเคลื่อนย้ายข้อมูล หรือความสามารถในการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการ (Services Oriented Storage) : ระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการจะกลายเป็นส่วนที่เข้ามาเติมเต็มสถาปัตยกรรมเชิงบริการ (Services Oriented Architecture: SOA) ในส่วนแอพพลิเคชั่นและส่วนโครงสร้างพื้นฐานเชิงบริการเพื่อให้เกิดศูนย์ข้อมูลแบบไดนามิกในอนาคต โดย SOA จะขึ้นอยู่กับชั้นเสมือนจริงที่จัดหาโดย XML ซึ่งทำให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และใช้บริการอย่าง ระบบชำระเงินร่วมกันได้ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานเชิงบริการจะขึ้นอยู่กับชั้นเสมือนจริงที่จัดเตรียมโดยผลิตภัณฑ์ อย่าง VMWare ซึ่งทำให้ระบบปฏิบัติการสามารถใช้ทรัพยากรของแพลตฟอร์มตัวประมวลผลร่วมกัน โดยระบบจัดเก็บข้อมูลเชิงบริการต้องการชั้นเสมือนจริงในชุดที่ใช้การต่อเชื่อมสตอเรจซึ่งทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลอื่นๆ สามารถใช้บริการ เช่น แคชส่วนกลางที่มีประสิทธิภาพสูง การจำลองแบบระยะไกล สตอเรจแบบชั้น และการจัดสรรพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. รวมบริการสตอเรจที่เป็นเนื้อหา ไฟล์ และกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกัน : แทนที่จะแยกระบบสตอเรจสำหรับเนื้อหา ระบบสตอเรจไฟล์ และกลุ่มข้อมูล เราจะเห็นการรวมสตอเรจประเภทเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มเสมือนจริง กลุ่มเซิร์ฟเวอร์เนื้อหาและไฟล์ที่พร้อมใช้งานสูงจะใช้แพลตฟอร์มบริการเสมือนจริงแบบกลุ่มภายใต้ชุดเครื่องมือการจัดการเดียว สิ่งนี้จะทำให้เซิร์ฟเวอร์เนื้อหาหรือเซิร์ฟเวอร์ไฟล์ใช้บริการแบบกลุ่ม เช่น การจำลองแบบระยะไกล การจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้บริการระบบเสมือนจริงของสตอเรจต่างชนิดกันได้
9. ความสามารถในการจัดสรรพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Thin Provisioning) : Thin provisioning จะให้ประโยชน์ที่ดีที่สุดในการเพิ่มการใช้งานสตอเรจ ด้วยการจัดสรรพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกไป สิ่งนี้ช่วยประหยัดได้หลายเท่า เช่น ในกรณีของการกำจัดความต้องการด้านการคัดลอกที่ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ไว้ทุกครั้งในการดำเนินการโดยที่ไม่ได้ใช้ความจุที่จัดสรรนั้น ซึ่งเป็นขั้นตอนของการสำรองข้อมูล การจำลองแบบ ดาต้ามายนิ่ง การทดสอบการพัฒนา และการกระจายข้อมูล โดยการนำ Thin Provisioning ไปใช้งาน ซึ่งควรได้รับการจัดหาเป็นบริการบนแพลตฟอร์มสตอเรจเสมือนจริง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ระบบสตอเรจที่มีอยู่ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยประโยชน์ของ Thin provisioning จะลดลงถ้ายังมีระบบสตอเรจแยกส่วนกัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเพิ่มการใช้ประโยชน์ของสตอเรจนี้ จะช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นวิธีที่ควบคุมค่าใช้จ่ายได้
10. การลดปริมาณข้อมูลที่ซ้ำซ้อน (Deduplication) : การลดปริมาณข้อมูลที่ซ้ำซ้อนจะได้รับการนำมาใช้โดยผู้ค้าระบบสำรองข้อมูลรายใหญ่ โดยการลดปริมาณข้อมูลที่ซ้ำซ้อนนี้มีประสิทธิภาพในการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนการสำรองข้อมูล ความสามารถที่จะช่วยลดข้อมูลจำนวนมากได้ราว 20-30 เท่าจะมีค่าอย่างมากในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลและทำให้การจัดเก็บข้อมูลสำรองลงในดิสก์ยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เทป ด้วยคุณลักษณะที่พร้อมใช้งานและน่าเชื่อถือมากกว่า สำหรับการลดปริมาณข้อมูลซ้ำซ้อนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่างเดียวไว้ในระบบจัดเก็บถาวร และการคัดลอกเมื่อเขียน (copy on write) สำหรับการทำสแน็ปช็อตจะได้รับความนิยมมากขึ้น