กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--มสช.
ชี้รัฐธรรมนูญปี 2550 ก้าวหน้าเรื่องสิทธิเด็กกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จี้ปรับระบบบริการสุขภาพแม่และเด็กใหม่ทั้งกระบวนการผ่านศูนย์เด็กเล็ก ย้ำหากไม่พัฒนาการเด็กปฐมวัย เศรษฐกิจประเทศชาติไม่พัฒนา เผยพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยรวมลดลงจากปี 2547 แนะศูนย์เด็กเล็กต้องเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน พร้อมผุดทุนปริญญาตรีปฐมวัยแก่ผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ฟันธงเด็กที่ผ่านศูนย์เด็กเล็กมีความพร้อมด้านพัฒนาการมากกว่าเด็กที่ไม่เคยเข้าศูนย์
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติที่กำลังจะมาถึงในวันเสาร์ที่ 12 มกราคม 2551 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนั กงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงจัดการประชุมรับวันเด็กแ! ห่งชาติว ่าด้วย ’ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยแบบองค์รวม’ ขึ้น โดยในช่วงการอภิปรายเรื่อง ‘นโยบายการสนับสนุนท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กไทย’ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ(มสช.) และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเด็กมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2540 จะมุ่งเน้นเรื่องเด็กที่ถูกรังแกหรือไม่มีผู้ปกครองดูแล แต่ในฉบับปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กที่กว้างกว่ามาก
มาตรา 52 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้การสนับสนุนสิทธิเด็กอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะที่ว่าเด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นการนำเอาสนธิสัญญาเด็กเข้ามาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ได้เปิดพื้นที่ให้เด็กได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีมาตราอื่นๆ อีก เช่น มาตรา 80 ว่าด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และมาตรา 87 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน
“รัฐธรรมนูญปี 2550 ก้าวไกลกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 โดยเฉพาะเรื่องเด็กปฐมวัย เนื่องจากได้มีการปูเส้นทางสำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวเป็นแม่ ทารกในครรภ์ กระทั่งเกิดและเติบโต รวมถึงแนะนำบทบาทของพ่อแม่ด้วยว่าควรทำอย่างให้ให้ลูกม ีพัฒนาการที่ดี”
นพ.ชูชัยกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามต้องมีการปรับระบบบริการสุขภาพแม่และเด็กใหม่ทั้งกระบวนการ เพราะจะต้องทำให้การพัฒนาเด็กปฐมวัยผ่านศูนย์เด็กเล็กที่เป็นรากฐานของประเทศในการสร้างสังคมเข้มแข็งมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการ และแผนงบประมาณที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
ด้าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากโครงสร้างประชากรไทยพบว่าเป็นเด็กปฐมวัยประมาณร้อยละ 7 อยู่ในวัยเรียนร้อยละ 27-28 และเป็นวัยผู้สูงอายุร้อยละ 10 ซึ่งวัยผู้สูงอายุนี้กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกระทั่งประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจุบันประเทศไทยจึงมีกลุ่มประชากรที่ต้องอาศัยการพึ่งพิงประมาณร้อยละ 45 ของประชากรทั้งประเทศ ฉะนั้นถ้าไม่มีการเตรียมคนตั้งแต่ระดับปฐมวัยดีเพียงพอแล้ว ก็จะไม่สามารถค้ำยันสังคมไทยและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติได้
“จากการสำรวจเกี่ยวกับเด็กพบว่า การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กไทยยังประสบปัญหาหลายด้าน ในส่วนของน้ำหนักหรือโรคอ้วนนั้นพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น สวนทางกลับส่วนสูงที่มีอัตราการเพิ่มน้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น ส่วนการดื่มนมก็จะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น ต่างจากการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวานที่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเด็กอายุมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมด้านสุขภาพและความเสี่ยงที่เด็กจะออกก ำลังกายน้อยลงเมื่อโตขึ้น ขณะเดียวกันก็กลับสูบบุหรี่และดื่มเค! รื่องดื่ มแอลกอฮอล์มากขึ้นเมื่อโตขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการมีเพศสัมพันธ์ที่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย โดยทำการศึกษากลุ่มเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 1-3 ปี และ 4-5 ปี พบว่าพัฒนาการรวมปกติอยู่ที่ร้อยละ 67.7 โดยเด็กอายุ 4-5 ปีจะมีพัฒนาการเด็กเพียงร้อยละ 57.9 ขณะที่เด็กอายุ 1-3 ปีมีพัฒนาการรวมปกติร้อยละ 74.9 โดยสรุปจากการสำรวจครั้งนี้ทำให้พบว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการรวมปกติลดลงจากปี 2547 แต่พัฒนาการรายด้านปกติเพิ่มขึ้น และหากแยกพิจารณากลุ่มเด็กอาย ุ 1-3 ปี และกลุ่มอายุ 4-5 ปีจะพบว่ามีพัฒนาการรวมปกติลดลงทั้ง 2 กลุ่ม
“กรมอนามัยให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กตั้งแต่ก่อนปฏิสนธิอยู่ในท้องแม่ ปฏิสนธิแล้วก็ให้คำแนะนำเรื่องการตรวจโรค เช่น ธาลัสซีเมีย เป็นการดูแลทั้งก่อนและหลังคลอด เรื่อยมาจนเจริญเติบโตเป็นเด็กปฐมวัย กรมอนามัยตระหนักว่าเด็กปฐมวัยเหล่านี้เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต การเตรียมความพร้อมในเรื่องของการจัดบริการ โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็กจึงจำเป็นมาก เพราะศูนย์เด็กเล็กไม่ได้มีหน้าที่แค่ดูเด็กให้โต แต่ต้องเตรียมเด็กให้พร้อมเติบโตอย่างมีพัฒนาการ”
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเร่งพัฒนาให้ศูนย์เด็กเล็กเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน โดยการทำให้ศูนย์เด็กเล็กเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองที่ไม่ได้ส่งเด็กเข้าศูนย์เด็กเล็ก แต่ดูแลเด็กเองที่บ้าน เพื่อจะได้สร้างพัฒนาการเด็กที่ครอบคลุมทุกคนมากขึ้น
ส่วนนายสมพร ใช้บางยาง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จากการที่ท้องถิ่นมีความรับผิดชอบในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่แรกเกิดกระทั่งเสียชีวิตอันเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจึงหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากขึ้น เนื่องจากตระหนักว่าพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคน โดยปัจจุบันมีศูนย์เด็กเล็กอยู่ในความดูแลของท้องถิ่นประมาณ 17,000 แห่ง มีผู้ดูแลกว่า 40,000 คน และเด็กปฐมวัยกว่า 800,000 คน
“ในช่วงเวลาการถ่ายโอนสถานศึกษาไปยังท้องถิ่นนี้ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้พยายามทำความเข้าใจกับผู้บริหารท้องถิ่นถึงความสำคัญของศูนย์เด็กเล็กว่าศูนย์เหล่านี้จะเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนาคนที่สำคัญมาก เด็ก 3-5 ปี ทุกคนจะต้องเข้ามาสู่กระบวนการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้การพัฒนาไม่แตกต่างกันมาก เพราะที่ผ่านมาพบว่าเด็กที่ไม่ได้เข้าศูนย์เด็กเล็กจะมีความแตกต่างด้านพัฒนาการอย่างมากกับเด็กที่ได้เข้าศูนย์เด็กเล็ก”
นายสมพรกล่าวต่อว่า ท้องถิ่นมีความพร้อมที่จะทำศูนย์เด็กเล็กเพื่! อวางพื้น ฐานของการพัฒนาคนให้เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพียงแต่สิ่งที่ขาดหายไปคือคือองค์ความรู้เชิงระบบ ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ต้องอาศัยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักเพื่อที่ท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติการจะได้นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการพัฒนาผู้ดูแลเด็ก เพราะผู้ที่จะพัฒนาคนต้องมีความรู้ความสามารถ ทางท้องถิ่นจึงมีทุนให้ผู้ดูแลเด็กได้เรียนปริญญาตรีปฐมวัย ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้ว 4 รุ่น กว่า 14,000 คน อย่างน้อยในอนาคตศูนย์เด็กเล็กแต่ละแห่งจะมีผู้ดูแลเด็กที่จบปริญญาตรีปฐมวัยหนึ่งคน โดยจะมีวิธีการทำให้เขามีความมั่นคงในชีวิตเพื่อจะได้ทุ่มเทและมีกำลังใจในการสอนเด็กได้อย่างเต็มที่
ขณะที่นายอนันต์ ระงับทุกข์ ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยไม่ใช่แค่เรื่องของโรงเรียน แต่เป็นเรื่องของทุกคน โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีความสำคัญขึ้นมากเพราะโรงเรียนกำลังถ่ายโอนไปอยู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีเมื่อท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในนโยบายระดับชาติตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา ทั้งในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครู พัฒนาค่านิยมที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และพัฒนาการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำ! คัญในการ บูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกัน
“กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัยและศูนย์เด็กเล็กอย่างมาก เพราะผลการวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่ผ่านมายืนยันว่าเมื่อเด็กปฐมวัยได้เข้าศูนย์เด็กเล็ก เมื่อโตขึ้นไปเรียนระดับประถมหรือระดับที่สูงขึ้นจะมีพัฒนาการที่ดีกว่าเด็กที่ขาดการเตรียมพร้อมจากศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้เด็กทุกคนผ่านกระบวนการการศึกษาในศูนย์เด็กเล็ก เพราะศูนย์เด็กเล็กเป็นรากฐานหรือเสาเข็มของชีวิต” นายอนันต์กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามต้องมีการอบรมและเรียนรู้เรื่องจิตวิทยาพัฒนาการเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ดูแลเด็กด้วย